แมลงคำหนามมะพร้าว / โกวิทย์ พงษ์แสวง

By: โกวิทย์ พงษ์แสวงCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | แมลงศัตรูพืช In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 22 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2543) หน้า 259 - 261Summary: แมลงคำหนามมะพร้าว เป็นด้วงปีกแข็งขนาดเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Plesispa rechei Chapuis ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 2-6 ฟอง ลักษณะไข่ยาวรี สีน้ำตาล ค่อนข้างแบน ขนาด 0.8x2.0 มม. แมลงคำหนามทำลายใบมะพร้าวได้ทั้งในระยะเป็นตัวหนอนและตัวเต็มวัย โดยทำลายใบอ่อนของมะพร้าวตั้งแต่ในแปลงเพาะจนถึงเริ่มปลูกและอายุ 1-3ปี เป็นส่วนมาก ส่วนมะพร้าวขนาดใหญ่ที่มีความสูงมากๆ จะพบว่ามีการทำลายน้อยกว่า (มีต่อ)Summary: สาเหตุของการเกิดระบาดของแมลงคำหนามนั้นเนื่องจากพื้นที่ปลูกมะพร้าวแหล่งนั้นมีความแห้งแล้งติดต่อกันยาวนาน ซึ่งสภาพอากาศเช่นนั้นจะมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณของแมลงชนิดนี้ได้อย่างดี การป้องกันกำจัดและดูแลรักษานั้น ฝนสามารถช่วยลดการระบาดของแมลงชนิดนี้ได้ ดังนั้นความจำเป็นในการใช้สารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดก็ลดลง โดยเฉพาะต้นมะพร้าวที่มีความสูงมากๆ การใช้สารฆ่าแมลงกระทำได้ยาก (มีต่อ)Summary: ในการฉีดพ่นมักจะเกิดอันตรายและไม่ได้ผลเต็มที่ จากการที่น้ำฝนสามารถช่วยลดการระบาดของแมลงคำหนามได้ทั้งตัวเต็มวัยและตัวหนอน จึงอาจจะใช้น้ำเปล่ามาฉีดพ่นบริเวณยอดมะพร้าวแทนการใช้สารฆ่าแมลงได้เช่นกัน เป็นการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้สารฆ่าแมลงช่วยให้ประหยัดและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

แมลงคำหนามมะพร้าว เป็นด้วงปีกแข็งขนาดเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Plesispa rechei Chapuis ตัวเต็มวัยวางไข่เป็นกลุ่มๆ ละ 2-6 ฟอง ลักษณะไข่ยาวรี สีน้ำตาล ค่อนข้างแบน ขนาด 0.8x2.0 มม. แมลงคำหนามทำลายใบมะพร้าวได้ทั้งในระยะเป็นตัวหนอนและตัวเต็มวัย โดยทำลายใบอ่อนของมะพร้าวตั้งแต่ในแปลงเพาะจนถึงเริ่มปลูกและอายุ 1-3ปี เป็นส่วนมาก ส่วนมะพร้าวขนาดใหญ่ที่มีความสูงมากๆ จะพบว่ามีการทำลายน้อยกว่า (มีต่อ)

สาเหตุของการเกิดระบาดของแมลงคำหนามนั้นเนื่องจากพื้นที่ปลูกมะพร้าวแหล่งนั้นมีความแห้งแล้งติดต่อกันยาวนาน ซึ่งสภาพอากาศเช่นนั้นจะมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณของแมลงชนิดนี้ได้อย่างดี การป้องกันกำจัดและดูแลรักษานั้น ฝนสามารถช่วยลดการระบาดของแมลงชนิดนี้ได้ ดังนั้นความจำเป็นในการใช้สารฆ่าแมลงป้องกันกำจัดก็ลดลง โดยเฉพาะต้นมะพร้าวที่มีความสูงมากๆ การใช้สารฆ่าแมลงกระทำได้ยาก (มีต่อ)

ในการฉีดพ่นมักจะเกิดอันตรายและไม่ได้ผลเต็มที่ จากการที่น้ำฝนสามารถช่วยลดการระบาดของแมลงคำหนามได้ทั้งตัวเต็มวัยและตัวหนอน จึงอาจจะใช้น้ำเปล่ามาฉีดพ่นบริเวณยอดมะพร้าวแทนการใช้สารฆ่าแมลงได้เช่นกัน เป็นการลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการใช้สารฆ่าแมลงช่วยให้ประหยัดและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม