พื้นผิว...ฑูตสันติภาพ (?) ของวัสดุการแพทย์ / อศิรา เฟื่องฟูชาติ

By: อศิรา เฟื่องฟูชาติCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พลาสติกในการแพทย์ In: พลาสติก ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2544) หน้า 75 - 77Summary: โพลิเมอร์สังเคราะห์ ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นวัสดุการแพทย์ใช้กันอย่างแพร่หลาย โพลิเมอร์ปรับแต่งให้อ่อนนุ่มและอุ้มน้ำได้ ในการใช้งานวัสดุการแพทย์เหล่านี้มักจะสัมผัสเนื้อเยื่อหรือของเหลวที่อยู่ในหรือผ่านเข้าไปในร่างกาย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงคือ ความเป็นพิษ และการเข้ากันได้(กับร่างกาย) ทางชีวภาพ เมื่อพิจารณาถึงความเป็นพิษของวัสดุการแพทย์แล้ว โพลิเมอร์ด้วยตัวมันเองจะไม่เป็นพิษ สิ่งที่มักทำให้วัสดุการแพทย์เป็นพิษคือ สารโมเลกุลขนาดเล็กที่เป็นองค์ประกอบหรือตกค้าง (มีต่อ)Summary: อย่างไรก็ตามร่างกายมนุษย์ยังถือว่าโพลิเมอร์/วัสดุการแพทย์เป็นสิ่งแปลกปลอม จึงมักต่อต้านวัสดุนั้นโดยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่างๆ เกิดขึ้นที่พื้นที่ผิวของวัสดุ ถึงแม้ว่าการใช้งานบางประเภทจะอยู่นอกร่างกาย เช่น ชุดฟอกเลือด ของเหลวในร่างกายเมื่อผ่านเข้าไปยังอุปกรณ์การแพทย์นั้นๆ อาจจะเกิดปฏิกิริยากับพื้นผิววัสดุได้ จะเห็นได้ว่าปราการด่านแรกของวัสดุที่เกิดปฏิกิริยากับร่างกายคือ พื้นผิว ดังนั้นนอกจากจะต้องเลือกใช้โพลิเมอร์ที่มีสมบัติเชิงกลและสมบัติเชิงเคมีที่เหมาะสมแล้ว ยังมีสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง (มีต่อ)Summary: คือ สมบัติเชิงพื้นผิว ซึ่งสมบัติดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกาย กล่าวคือ การเข้ากันได้ทางชีวภาพ และสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงตลอดเวลาในการวิเคราะห์ถึงความเข้ากันได้ทางชีวภาพของวัสดุคือ สมบัตินี้ไม่ใช่สมบัติประจำตัวของวัสดุแต่ละชนิด การตอบสนองของร่างกายกับวัสดุเหล่านั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน รูปร่าง ขนาด ตำแหน่งที่ว่าง และช่วงเวลาที่ใช้ กล่าวคือวัสดุที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพในการใช้งานหนึ่งๆ เท่านั้น และไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะเหมาะกับการนำไปใช้งานในอีกแบบหนึ่งได้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โพลิเมอร์สังเคราะห์ ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นวัสดุการแพทย์ใช้กันอย่างแพร่หลาย โพลิเมอร์ปรับแต่งให้อ่อนนุ่มและอุ้มน้ำได้ ในการใช้งานวัสดุการแพทย์เหล่านี้มักจะสัมผัสเนื้อเยื่อหรือของเหลวที่อยู่ในหรือผ่านเข้าไปในร่างกาย ดังนั้นสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงคือ ความเป็นพิษ และการเข้ากันได้(กับร่างกาย) ทางชีวภาพ เมื่อพิจารณาถึงความเป็นพิษของวัสดุการแพทย์แล้ว โพลิเมอร์ด้วยตัวมันเองจะไม่เป็นพิษ สิ่งที่มักทำให้วัสดุการแพทย์เป็นพิษคือ สารโมเลกุลขนาดเล็กที่เป็นองค์ประกอบหรือตกค้าง (มีต่อ)

อย่างไรก็ตามร่างกายมนุษย์ยังถือว่าโพลิเมอร์/วัสดุการแพทย์เป็นสิ่งแปลกปลอม จึงมักต่อต้านวัสดุนั้นโดยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่างๆ เกิดขึ้นที่พื้นที่ผิวของวัสดุ ถึงแม้ว่าการใช้งานบางประเภทจะอยู่นอกร่างกาย เช่น ชุดฟอกเลือด ของเหลวในร่างกายเมื่อผ่านเข้าไปยังอุปกรณ์การแพทย์นั้นๆ อาจจะเกิดปฏิกิริยากับพื้นผิววัสดุได้ จะเห็นได้ว่าปราการด่านแรกของวัสดุที่เกิดปฏิกิริยากับร่างกายคือ พื้นผิว ดังนั้นนอกจากจะต้องเลือกใช้โพลิเมอร์ที่มีสมบัติเชิงกลและสมบัติเชิงเคมีที่เหมาะสมแล้ว ยังมีสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง (มีต่อ)

คือ สมบัติเชิงพื้นผิว ซึ่งสมบัติดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดปฏิกิริยาการตอบสนองของร่างกาย กล่าวคือ การเข้ากันได้ทางชีวภาพ และสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงตลอดเวลาในการวิเคราะห์ถึงความเข้ากันได้ทางชีวภาพของวัสดุคือ สมบัตินี้ไม่ใช่สมบัติประจำตัวของวัสดุแต่ละชนิด การตอบสนองของร่างกายกับวัสดุเหล่านั้นขึ้นอยู่กับการใช้งาน รูปร่าง ขนาด ตำแหน่งที่ว่าง และช่วงเวลาที่ใช้ กล่าวคือวัสดุที่มีความเข้ากันได้ทางชีวภาพในการใช้งานหนึ่งๆ เท่านั้น และไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะเหมาะกับการนำไปใช้งานในอีกแบบหนึ่งได้