ไคติน-ไคโตซาน

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พลาสติกในการแพทย์ In: พลาสติก ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2544) หน้า 24 - 25Summary: ไคติน-ไคโตซาน เป็นโพลิเมอร์ธรรมชาติที่มีมากเป็นอันดับสองรองจากเซลลูโลส ไคติน-ไคโตซานจะพบมากในส่วนประกอบของเปลือกแข็งในสัตว์จำพวกแมลงและสัตว์ทะเลที่มีเปลือกแข็ง เช่น กุ้ง ปลาหมึก และปู ไคติน-ไคโตซานสามารถสกัดได้จากเปลือกกุ้งและกระดองปูหรือปลาหมึก ซึ่งเป็นกากเหลือใช้จากอุตสาหกรรมห้องเย็นภายในประเทศ กระบวนการสกัดไม่ยุ่งยากซับซ้อน สารเคมีที่ใช้ก็ไม่เป็นอันตรายมาก โดยปกติแล้ว ไคติน-ไคโตซานมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน (มีต่อ)Summary: แต่การนำไคตินไปใช้ประโยชน์มีน้อยมาก เนื่องจากข้อจำกัดในตัวคือ ไม่สามารถละลายในสารละลายต่างๆ เนื่องจากความเป็นผลึกของโครงสร้าง ถึงแม้ว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้ทดลองหาระบบสารละลายที่เหมาะสมต่อการละลายได้ก็ตาม แต่ความสนใจที่จะนำไคตินไปใช้ประโยชน์ยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับไคโตซานที่สามารถละลายได้ดี แม้ว่าจะเป็นสารละลายกรดเจือจาง ดังนั้น จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไคโตซานเป็นจำนวนมาก (มีต่อ)Summary: จากการสกัดไคติน-ไคโตซาน ที่เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติและสามารถเข้าได้ดีกับร่างกายมนุษย์ จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า สามารถย่อยสลายได้ภายในสัตว์ เนื่องจากมีเอนไซม์หลายชนิดสามารถย่อยสลายได้ นอกจากนี้ตัวไคติน-ไคโตซานยังสามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพบางชนิดด้วย จากข้อดีต่างๆนี้เอง ไคติน-ไคโตซานจึงถูกนำมาใช้งานทางการแพทย์
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ไคติน-ไคโตซาน เป็นโพลิเมอร์ธรรมชาติที่มีมากเป็นอันดับสองรองจากเซลลูโลส ไคติน-ไคโตซานจะพบมากในส่วนประกอบของเปลือกแข็งในสัตว์จำพวกแมลงและสัตว์ทะเลที่มีเปลือกแข็ง เช่น กุ้ง ปลาหมึก และปู ไคติน-ไคโตซานสามารถสกัดได้จากเปลือกกุ้งและกระดองปูหรือปลาหมึก ซึ่งเป็นกากเหลือใช้จากอุตสาหกรรมห้องเย็นภายในประเทศ กระบวนการสกัดไม่ยุ่งยากซับซ้อน สารเคมีที่ใช้ก็ไม่เป็นอันตรายมาก โดยปกติแล้ว ไคติน-ไคโตซานมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกัน (มีต่อ)

แต่การนำไคตินไปใช้ประโยชน์มีน้อยมาก เนื่องจากข้อจำกัดในตัวคือ ไม่สามารถละลายในสารละลายต่างๆ เนื่องจากความเป็นผลึกของโครงสร้าง ถึงแม้ว่าจะมีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้ทดลองหาระบบสารละลายที่เหมาะสมต่อการละลายได้ก็ตาม แต่ความสนใจที่จะนำไคตินไปใช้ประโยชน์ยังมีน้อยมากเมื่อเทียบกับไคโตซานที่สามารถละลายได้ดี แม้ว่าจะเป็นสารละลายกรดเจือจาง ดังนั้น จึงได้มีการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไคโตซานเป็นจำนวนมาก (มีต่อ)

จากการสกัดไคติน-ไคโตซาน ที่เป็นสารที่ได้จากธรรมชาติและสามารถเข้าได้ดีกับร่างกายมนุษย์ จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่า สามารถย่อยสลายได้ภายในสัตว์ เนื่องจากมีเอนไซม์หลายชนิดสามารถย่อยสลายได้ นอกจากนี้ตัวไคติน-ไคโตซานยังสามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพบางชนิดด้วย จากข้อดีต่างๆนี้เอง ไคติน-ไคโตซานจึงถูกนำมาใช้งานทางการแพทย์