วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ฟัน -- การดูแลและสุขวิทยา | ฟันผุ | ทันตวัสดุ In: พลาสติก ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2544) หน้า 25Summary: การดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากและฟันให้มีอนามัยดีโดยการแปรงฟันที่ถูกต้อง ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ใช้ไหมขัดฟัน ไม่รับประทานอาหารจุบจิบ การใช้น้ำยาทำความสะอาดฟัน เป็นต้น เป็นการป้องกันฟันผุที่ทุกคนควรปฏิบัติเป็นกิจวัตร ส่วนการป้องกันฟันผุบริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันกราม ซึ่งมีพื้นผิวลักษณะขรุขระเป็นหลุมร่องที่มีขนาดเล้กและลึก จะทำได้ยากและมักเกิดฟันผุได้ง่าย เนื่องจากการแปรงฟันไม่สามารถเข้าไปทำความสะอาดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารที่ตกค้างได้อย่างทั่วถึง (มีต่อ)Summary: จึงมีการใช้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน (pit and fissure sealant) ซึ่งมีลักษณะเป็น "เรซิน" ใช้ทาปิดหลุมร่องฟันดังกล่าว หลังจากทำให้เรซิ่นนั้นแข็งตัวเป็นฟิล์มบางเคลือบร่องฟันนั้น การป้องกันฟันผุโดยการเคลือบหลุมร่องฟันนี้ ควรทำในเด็กก่อนที่จะเกิดฟันผุ คือตั้งแต่ 3ขวบขึ้นไป ทั้งนี้ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อน วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน ที่ใช้ในปัจจุบันจะนำเข้าจากต่างประเทศ (มีต่อ)Summary: ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) จึงได้ให้การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตวัสดุนี้ขึ้นเองภายในประเทศ ซึ่งจากการศึกษาวัสดุที่ผลิตขึ้นในโครงการวิจัยนี้มีสมบัติต่างๆ เป็นที่น่าพอใจ การปรับปรุงวัสดุเคลือบหลุมร่องจนเป็นที่พอใจในขณะนี้ได้รับความช่วยเหลือจากคณาจารย์ทันตแพทย์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทันตแพทย์อื่นๆ อีกหลายท่าน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การดูแลรักษาสุขภาพของช่องปากและฟันให้มีอนามัยดีโดยการแปรงฟันที่ถูกต้อง ด้วยยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ใช้ไหมขัดฟัน ไม่รับประทานอาหารจุบจิบ การใช้น้ำยาทำความสะอาดฟัน เป็นต้น เป็นการป้องกันฟันผุที่ทุกคนควรปฏิบัติเป็นกิจวัตร ส่วนการป้องกันฟันผุบริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันกราม ซึ่งมีพื้นผิวลักษณะขรุขระเป็นหลุมร่องที่มีขนาดเล้กและลึก จะทำได้ยากและมักเกิดฟันผุได้ง่าย เนื่องจากการแปรงฟันไม่สามารถเข้าไปทำความสะอาดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารที่ตกค้างได้อย่างทั่วถึง (มีต่อ)

จึงมีการใช้วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน (pit and fissure sealant) ซึ่งมีลักษณะเป็น "เรซิน" ใช้ทาปิดหลุมร่องฟันดังกล่าว หลังจากทำให้เรซิ่นนั้นแข็งตัวเป็นฟิล์มบางเคลือบร่องฟันนั้น การป้องกันฟันผุโดยการเคลือบหลุมร่องฟันนี้ ควรทำในเด็กก่อนที่จะเกิดฟันผุ คือตั้งแต่ 3ขวบขึ้นไป ทั้งนี้ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อน วัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน ที่ใช้ในปัจจุบันจะนำเข้าจากต่างประเทศ (มีต่อ)

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) จึงได้ให้การสนับสนุนงานวิจัยเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตวัสดุนี้ขึ้นเองภายในประเทศ ซึ่งจากการศึกษาวัสดุที่ผลิตขึ้นในโครงการวิจัยนี้มีสมบัติต่างๆ เป็นที่น่าพอใจ การปรับปรุงวัสดุเคลือบหลุมร่องจนเป็นที่พอใจในขณะนี้ได้รับความช่วยเหลือจากคณาจารย์ทันตแพทย์ คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และทันตแพทย์อื่นๆ อีกหลายท่าน