ทดสอบประสิทธิภาพสารฆ่าแมลงในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้ายโดยวิธีการจุ่มดอกกล้วยไม้ / ปิยรัตน์ เขียนมีสุข และคนอื่นๆ

By: ปิยรัตน์ เขียนมีสุขCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | กล้วยไม้ -- ศัตรูพืช | เพลี้ยไฟฝ้าย In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 22 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มีนาคม 2543) หน้า 17-26Summary: การทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงโดยวิธีการจุ่มเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้ายในระยะต่างๆ บนดอกกล้วยไม้ ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน 2541-มิถุนายน 2542 ณ ห้องปฏิบัติการกองวัตถุมีพิษการเกษตร และกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ imidacloprid 10% SL, acetamiprid 20% SP, abamectin 1.8% EC, fipronil 5% SC อัตรา 20 มล., 5กรัม, 20มล. และ 20มล./น้ำ 20ลิตร ตามลำดับ (มีต่อ)Summary: เปรียบเทียบกับ pyriproxyfen 10% EC อัตรา20 และ 40มล./น้ำ 20ลิตร และ untreated การทดสอบในระยะไข่ด้วยวิธีการนำกลีบดอกกล้วยไม้ที่มีไข่เพลี้ยไฟอายุ 3วัน จุ่มลงในสารละลายของสารฆ่าแมลงส่วน untreated จุ่มในน้ำกลั่นทุกกรรมวิธีใช้เวลาจุ่มนาน 5วินาที เปรียบเทียบจำนวนประชากรเพลี้ยไฟที่ฟักออกจากไข่ เพลี้ยไฟตายหลังฟัก นำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าเพลี้ยไฟฟักออกเป็นตัวสูง 100% ในวิธี untreated แตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการอื่นๆ (มีต่อ)Summary: และพบเพลี้ยไฟฟักออกเป็นตัวต่ำสุด 13.33% ในสารฆ่าแมลง abamectin และแตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการอื่นๆ เปอร์เซ็นต์การตายของตัวอ่อนหลังฟักพบตาย 100% ภายใน 48ชั่วโมง ในสารฆ่าแมลง imidacloprid, acetamiprid, abamectin และ fipronil แตกต่างกันทางสถิติกับ pyriproxfen ทั้ง 2อัตราที่ทำการทดสอบและ untreated ไม่พบการตายของตัวอ่อนหลังฟัก จากการทดสอบในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟฝ้าย (มีต่อ)Summary: ด้วยวิธีการนำกลีบดอกกล้วยไม้จุ่มลงในสารละลายของสารฆ่าแมลงส่วน untreated จุ่มในน้ำกลั่นทุกกรรมวิธีใช้เวลาจุ่มนาน 5วินาที หลังจากนั้นปล่อยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟบนกลีบดอกที่ผ่านการจุ่มแล้ว เปรียบเทียบการตายของตัวอ่อนและตัวเต็มวัย พบว่าทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยตาย 100% ในสารฆ่าแมลง abamectin, imidacloprid, acetamiprid และ fipronil ซึ่งแตกต่างกับ pyriproxyfen และ untreated ไม่พบการตายของเพลี้ยไฟ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงโดยวิธีการจุ่มเพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้ายในระยะต่างๆ บนดอกกล้วยไม้ ดำเนินการระหว่างเดือนมิถุนายน 2541-มิถุนายน 2542 ณ ห้องปฏิบัติการกองวัตถุมีพิษการเกษตร และกองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร วางแผนการทดลองแบบ CRD มี 3 ซ้ำ 7 กรรมวิธี ได้แก่ imidacloprid 10% SL, acetamiprid 20% SP, abamectin 1.8% EC, fipronil 5% SC อัตรา 20 มล., 5กรัม, 20มล. และ 20มล./น้ำ 20ลิตร ตามลำดับ (มีต่อ)

เปรียบเทียบกับ pyriproxyfen 10% EC อัตรา20 และ 40มล./น้ำ 20ลิตร และ untreated การทดสอบในระยะไข่ด้วยวิธีการนำกลีบดอกกล้วยไม้ที่มีไข่เพลี้ยไฟอายุ 3วัน จุ่มลงในสารละลายของสารฆ่าแมลงส่วน untreated จุ่มในน้ำกลั่นทุกกรรมวิธีใช้เวลาจุ่มนาน 5วินาที เปรียบเทียบจำนวนประชากรเพลี้ยไฟที่ฟักออกจากไข่ เพลี้ยไฟตายหลังฟัก นำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติ พบว่าเพลี้ยไฟฟักออกเป็นตัวสูง 100% ในวิธี untreated แตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการอื่นๆ (มีต่อ)

และพบเพลี้ยไฟฟักออกเป็นตัวต่ำสุด 13.33% ในสารฆ่าแมลง abamectin และแตกต่างกันทางสถิติกับวิธีการอื่นๆ เปอร์เซ็นต์การตายของตัวอ่อนหลังฟักพบตาย 100% ภายใน 48ชั่วโมง ในสารฆ่าแมลง imidacloprid, acetamiprid, abamectin และ fipronil แตกต่างกันทางสถิติกับ pyriproxfen ทั้ง 2อัตราที่ทำการทดสอบและ untreated ไม่พบการตายของตัวอ่อนหลังฟัก จากการทดสอบในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟฝ้าย (มีต่อ)

ด้วยวิธีการนำกลีบดอกกล้วยไม้จุ่มลงในสารละลายของสารฆ่าแมลงส่วน untreated จุ่มในน้ำกลั่นทุกกรรมวิธีใช้เวลาจุ่มนาน 5วินาที หลังจากนั้นปล่อยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟบนกลีบดอกที่ผ่านการจุ่มแล้ว เปรียบเทียบการตายของตัวอ่อนและตัวเต็มวัย พบว่าทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยตาย 100% ในสารฆ่าแมลง abamectin, imidacloprid, acetamiprid และ fipronil ซึ่งแตกต่างกับ pyriproxyfen และ untreated ไม่พบการตายของเพลี้ยไฟ