AFTA 2000 อุตสาหกรรมไทย ใครได้หรือเสีย? / กมล ดวงนิล

By: กมล ดวงนิลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ไทย -- อุตสาหกรรม In: พลาสติก ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2543) หน้า 46 - 56Summary: วิกฤติการทางเศรษฐกิจทำลายความรุ่งโรจน์ของอาเซียน ทำให้ผู้นำอาเซียนต้องใช้มาตรการเข้มข้น เพื่อดึงดูดการลงทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ และเพื่อผ่อนคลายวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น โดยได้เร่งลดภาษีตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA (Asian Free Trade Area ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งสิ้น 9ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม โดยมีลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ.2540 (มีต่อ)Summary: อาเซียนมีประชากรกว่า 500ล้านคน ทำให้อาเซียนเป็นตลาดใหญ่ตลาดหนึ่งในเวทีการค้าโลกในปัจจุบัน) ให้เร็วขึ้นจากปี 2546 เป็นปี 2545 และให้ประเทศสมาชิกต้องลดภาษีสินค้าอย่างน้อยร้อยละ 85 ของสินค้าในบัญชีภายในปี 2543 เพิ่มเป็นร้อยละ 90 ในปี 2544 และต้องลดภาษีสินค้าทั้งหมดลงในปี 2545 การลดภาษี AFTA ไทยได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ โดยเมื่อเปรียบเทียบกันในภูมิภาคแล้ว ศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมของไทยอยู่ในระดับสูง (มีต่อ)Summary: ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมไทยที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ยางพารา เภสัชภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์หนัง สิ่งทอ เซรามิก อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ไม้ และหวาย แคโทดที่ทำจากทองแดง สำหรับอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในทางลบคือ อุตสาหกรรมที่ปัจจุบันมีการปกป้องในเกณฑ์สูง และมีศักยภาพทางการผลิตต่ำกว่าประเทศสมาชิก ได้แก่ น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ แก้ว และเครื่องแก้ว
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

วิกฤติการทางเศรษฐกิจทำลายความรุ่งโรจน์ของอาเซียน ทำให้ผู้นำอาเซียนต้องใช้มาตรการเข้มข้น เพื่อดึงดูดการลงทุนระยะสั้นจากต่างประเทศ และเพื่อผ่อนคลายวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้น โดยได้เร่งลดภาษีตามข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA (Asian Free Trade Area ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งสิ้น 9ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม โดยมีลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ.2540 (มีต่อ)

อาเซียนมีประชากรกว่า 500ล้านคน ทำให้อาเซียนเป็นตลาดใหญ่ตลาดหนึ่งในเวทีการค้าโลกในปัจจุบัน) ให้เร็วขึ้นจากปี 2546 เป็นปี 2545 และให้ประเทศสมาชิกต้องลดภาษีสินค้าอย่างน้อยร้อยละ 85 ของสินค้าในบัญชีภายในปี 2543 เพิ่มเป็นร้อยละ 90 ในปี 2544 และต้องลดภาษีสินค้าทั้งหมดลงในปี 2545 การลดภาษี AFTA ไทยได้ประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์ โดยเมื่อเปรียบเทียบกันในภูมิภาคแล้ว ศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมของไทยอยู่ในระดับสูง (มีต่อ)

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมไทยที่จะได้รับประโยชน์ ได้แก่ ปูนซีเมนต์ ยางพารา เภสัชภัณฑ์ พลาสติก ผลิตภัณฑ์หนัง สิ่งทอ เซรามิก อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ไม้ และหวาย แคโทดที่ทำจากทองแดง สำหรับอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบในทางลบคือ อุตสาหกรรมที่ปัจจุบันมีการปกป้องในเกณฑ์สูง และมีศักยภาพทางการผลิตต่ำกว่าประเทศสมาชิก ได้แก่ น้ำมันพืช เคมีภัณฑ์ แก้ว และเครื่องแก้ว