จับตาโรงไฟฟ้าแม่เมาะหลังเดินเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ฯ ชุดสุดท้าย / รัชดาภรณ์ อันดี

By: รัชดาภรณ์ อันดีCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): โรงไฟฟ้าแม่เมาะ | SCI-TECH | ก๊าซพิษ | ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ -- มลพิษ In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 7 ฉบับที่ 4 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2543) หน้า 63 - 67Summary: โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นหน่วยงานหนึ่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตั้งที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นับเป็นโรงไฟฟ้าแห่งเดียวที่ใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินลิกไนต์ เพื่อทำการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยกำลังการผลิต 2,625 เมกะวัตต์ ส่งจ่ายให้ประชาชนทางภาคเหนือ 50% ของกำลังการผลิต ภาคกลาง 30% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20% จากการนำถ่านหินลิกไนต์เข้ามาในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (มีต่อ)Summary: ในปี 2535 ได้เกิดเหตุการณ์มลภาวะทางอากาศที่เรียกกันว่า ฝนเหลือง ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศสูง ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบๆ โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้รับความเสียหาย ความรุนแรงของก๊าซทำให้ชาวบ้านล้มป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจอีกเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อแก้ปัญหาภาวะมลพิษของ กฟผ. ได้เพิ่มมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาเข้มงวดยิ่งขึ้น (มีต่อ)Summary: แต่ชาวบานที่อาศัยรอบโรงไฟฟ้าหลายรายกลับไม่มีความมั่นใจว่าการเดินเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะช่วยระงับปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง เนื่องจากชาวบ้านได้รับผลกระทบจากปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศที่สูงอยู่บ่อยครั้ง ถึงแม้ว่า กฟผ. จะพยายามหามาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกด้านแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ เนื่องจากมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นหลายระลอก (มีต่อ)Summary: จนชาวบ้านบางรายได้รับพิษที่สะสมต้องล้มป่วยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังไม่มีหลักประกันที่ดีพอจนวางใจได้ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์มลพิษทางอากาศอีกในอนาคต จากกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้าหลายแห่งของ กฟผ. ในหลายพื้นี่เช่น กรณีโรงไฟฟ้าหินกรูด และโรงไฟฟ้าบ่อนอก จ.ประจวบฯ เนื่องจากคนในท้องถิ่นหวั่นเกดเหตุการณ์ซ้ำรอยกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ หาก กฟผ.ไม่มีความชัดเจนในการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้ว การฝ่าด่านพลังมหาชนคงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และจะต้องออกแรงมากทีเดียว
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นหน่วยงานหนึ่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตั้งที่ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นับเป็นโรงไฟฟ้าแห่งเดียวที่ใช้เชื้อเพลิงจากถ่านหินลิกไนต์ เพื่อทำการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยกำลังการผลิต 2,625 เมกะวัตต์ ส่งจ่ายให้ประชาชนทางภาคเหนือ 50% ของกำลังการผลิต ภาคกลาง 30% และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20% จากการนำถ่านหินลิกไนต์เข้ามาในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ (มีต่อ)

ในปี 2535 ได้เกิดเหตุการณ์มลภาวะทางอากาศที่เรียกกันว่า ฝนเหลือง ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศสูง ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงของชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบๆ โรงไฟฟ้าแม่เมาะได้รับความเสียหาย ความรุนแรงของก๊าซทำให้ชาวบ้านล้มป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจอีกเป็นจำนวนมาก จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อแก้ปัญหาภาวะมลพิษของ กฟผ. ได้เพิ่มมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาเข้มงวดยิ่งขึ้น (มีต่อ)

แต่ชาวบานที่อาศัยรอบโรงไฟฟ้าหลายรายกลับไม่มีความมั่นใจว่าการเดินเครื่องกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์จะช่วยระงับปัญหาที่เกิดขึ้นได้จริง เนื่องจากชาวบ้านได้รับผลกระทบจากปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศที่สูงอยู่บ่อยครั้ง ถึงแม้ว่า กฟผ. จะพยายามหามาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกด้านแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ เนื่องจากมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นหลายระลอก (มีต่อ)

จนชาวบ้านบางรายได้รับพิษที่สะสมต้องล้มป่วยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังไม่มีหลักประกันที่ดีพอจนวางใจได้ว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์มลพิษทางอากาศอีกในอนาคต จากกระแสต่อต้านโรงไฟฟ้าหลายแห่งของ กฟผ. ในหลายพื้นี่เช่น กรณีโรงไฟฟ้าหินกรูด และโรงไฟฟ้าบ่อนอก จ.ประจวบฯ เนื่องจากคนในท้องถิ่นหวั่นเกดเหตุการณ์ซ้ำรอยกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ หาก กฟผ.ไม่มีความชัดเจนในการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแล้ว การฝ่าด่านพลังมหาชนคงเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และจะต้องออกแรงมากทีเดียว