การใช้อาร์ทีเมียบำบัดน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงกุ้งเพื่อใช้ผลิตเกลือสมุทร / มงคล ศิริธนานุกูลวงศ์

By: มงคล ศิริธนานุกูลวงศ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | น้ำเสีย -- การบำบัด In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 10 (ตุลาคม 2542) หน้า 64 - 66Summary: การแก้ปัญหาน้ำเสียที่ปล่อยออกมาจากบ่อเลี้ยงกุ้ง ให้กลายสภาพเป็นน้ำสะอาด และสามารถนำไปผลิตเป็นเกลือสมุทรจำหน่ายเป็นรายได้เสริมโดยการใช้สัตว์น้ำเค็มชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "อาร์ทีเมีย" เป็นตัวบำบัด อาร์ทีเมียหรือไรน้ำ สีน้ำตาล หรือไรน้ำเค็ม (Brine Shrimp) เป็นสัตว์น้ำเค็มชนิดหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในจำนวนครัสเตเซีย (Crustacea) ประโยชน์ที่ได้จากอาร์ทีเมีย นอกจากเป็นอาหารของสัตว์น้ำนานาชนิดแล้ว การทำงานในวงจรชีวิตของอาร์มีเมียยังช่วยบำบัดน้ำเสียที่ปล่อยออกจากบ่อเลี้ยงกุ้ง (มีต่อ)Summary: ให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ สะอาดและมีออกซิเจนเพิ่ม ลดการทำลายระบบนิเวศของน้ำและป่าชายเลนให้น้อยลง กระบวนการใช้อาร์ทีเมียบำบัดน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงกุ้ง เพื่อใช้ผลิตเกลือสมุทร ผู้เลี้ยงกุ้งเพียงแต่จัดทำบ่อพักน้ำไว้สำหรับรองรับน้ำเสียที่ปล่อยออกมาจากบ่อเลี้ยงกุ้ง เพื่อให้สารเคมีบางส่วนตกตะกอน และเป็นการเพิ่มความเค็มของน้ำด้วย จากนั้น จึงปล่อยน้ำเสียนี้ลงในบ่อเพาะพันธุ์อาร์ทีเมีย เพื่อบำบัดน้ำให้สะอาด อาร์ทีเมียจะกรองสารต่างๆ โดยการกิน จนกระทั่งได้น้ำที่มีความสะอาดเพียงพอ จึงปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วลงในบ่อตากน้ำ ซึ่งควรมีอวนตาถี่ (อวนเขียว) สำหรับกรองไม่ให้อาร์ทีเมียไหลติดออกไปกับน้ำ เมื่อน้ำลงสู่บ่อตาก ความเข้มข้นของน้ำจะสูงเพิ่มขึ้น ตามระยะเวลาในการตากน้ำ (ประมาณ 25 วัน) จนกระทั่งความเค็มได้ระดับที่ดีเกลือ (น้ำที่มีความเค็มสูงมากใกล้จะตกผลึกเป็นเกลือ) จะเกิดการตกผลึก (ปลง) เป็นเม็ดเกลือ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การแก้ปัญหาน้ำเสียที่ปล่อยออกมาจากบ่อเลี้ยงกุ้ง ให้กลายสภาพเป็นน้ำสะอาด และสามารถนำไปผลิตเป็นเกลือสมุทรจำหน่ายเป็นรายได้เสริมโดยการใช้สัตว์น้ำเค็มชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า "อาร์ทีเมีย" เป็นตัวบำบัด อาร์ทีเมียหรือไรน้ำ สีน้ำตาล หรือไรน้ำเค็ม (Brine Shrimp) เป็นสัตว์น้ำเค็มชนิดหนึ่งซึ่งจัดอยู่ในจำนวนครัสเตเซีย (Crustacea) ประโยชน์ที่ได้จากอาร์ทีเมีย นอกจากเป็นอาหารของสัตว์น้ำนานาชนิดแล้ว การทำงานในวงจรชีวิตของอาร์มีเมียยังช่วยบำบัดน้ำเสียที่ปล่อยออกจากบ่อเลี้ยงกุ้ง (มีต่อ)

ให้กลับคืนสู่ธรรมชาติ สะอาดและมีออกซิเจนเพิ่ม ลดการทำลายระบบนิเวศของน้ำและป่าชายเลนให้น้อยลง กระบวนการใช้อาร์ทีเมียบำบัดน้ำเสียจากบ่อเลี้ยงกุ้ง เพื่อใช้ผลิตเกลือสมุทร ผู้เลี้ยงกุ้งเพียงแต่จัดทำบ่อพักน้ำไว้สำหรับรองรับน้ำเสียที่ปล่อยออกมาจากบ่อเลี้ยงกุ้ง เพื่อให้สารเคมีบางส่วนตกตะกอน และเป็นการเพิ่มความเค็มของน้ำด้วย จากนั้น จึงปล่อยน้ำเสียนี้ลงในบ่อเพาะพันธุ์อาร์ทีเมีย เพื่อบำบัดน้ำให้สะอาด อาร์ทีเมียจะกรองสารต่างๆ โดยการกิน จนกระทั่งได้น้ำที่มีความสะอาดเพียงพอ จึงปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วลงในบ่อตากน้ำ ซึ่งควรมีอวนตาถี่ (อวนเขียว) สำหรับกรองไม่ให้อาร์ทีเมียไหลติดออกไปกับน้ำ เมื่อน้ำลงสู่บ่อตาก ความเข้มข้นของน้ำจะสูงเพิ่มขึ้น ตามระยะเวลาในการตากน้ำ (ประมาณ 25 วัน) จนกระทั่งความเค็มได้ระดับที่ดีเกลือ (น้ำที่มีความเค็มสูงมากใกล้จะตกผลึกเป็นเกลือ) จะเกิดการตกผลึก (ปลง) เป็นเม็ดเกลือ