กวาวเครือ

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | กวาวเครือ | สมุนไพร In: เส้นทางสีเขียว ฉบับที่ 4 (มิถุนายน-กันยายน 2542) หน้า 35Summary: กวาวเครือเป็นพืชสมุนไพร ไม้เถาเนื้อแข็งในตระกูลถั่วพบตามป่าเบญจพรรณ มีมากในภาคเหนือ ต้นเป็นเครือพ้นต้นไม้อื่นหรือเลื้อยตามพื้นดิน กวาวเครือมี 4ประเภท คือกวาวเครือขาว กวาวเครือแดง กวาวเครือดำ และกวาวเครือมอ แต่ในทางวิทยาการสมัยใหม่มีการจำแนกพันธุ์ไว้ 2ชนิด คือกวาวเครือขาว ซึ่งนิยมใช้มากที่สุดกับกวาวเครือแดง ทั้งนี้โดยกวาวเครือขาวนั้นเป็นไม้เถาขึ้นกับต้นไม้ ถ้าไม่มีต้นจะเลื้อยบนดิน (มีต่อ)Summary: ใบหนึ่งมี 3ใบ ถ้าขุดจากต้นจะมีรากเลื้อยไปในดินต้นหนึ่งมีหลายราก แต่ละรากจะมี 1หัว ถ้าเอามีดบาดยางจะมีสีขาวและมีน้ำมาก กินแทนน้ำได้ ขณะที่กวาวเครือแดงนั้นจะขึ้นจากดินได้ โดยไม่ต้องอาศัยพันต้นไม้อื่นหากมีอายุนานนับ 100ปี เถาวัลย์จะกลายเป็นลำต้นส่งกิ่งก้านเลื้อยไปไกล ออกดอกเป็นพวงสวยงามในฤดูหนาว ส่วนอีก 2พันธุ์ ที่ไม่นิยมคือ กวาวเครือดำ ลำต้นและเถาเหมือนกวาวเครือแดงแต่เล็กกว่า ยาวสีเทาอ่อนนุ่ม มีฤทธิ์ทางยาแรงมาก (มีต่อ)Summary: และกวาวเครือมอ ทุกส่วนไม่ว่าต้น เถา ใบ หัวจะเหมือนกวาวเครือดำแต่เนื้อในหัวและยางสีมอๆ ค่อนข้างจะหายาก มีหัวเท่ามันเทศ กวาวเครือสามารถนำมาผลิตยาบำรุงกำลัง บำรุงเนื้อหนังให้ผิวหนังที่เหี่ยวย่นกลับเต่งตึง ลบรอยตีนกา เสริมหน้าอก กระตุ้นเต้านมขยายตัว นอกจากนี้ช่วยให้เส้นผมงอกกลับดำ เพิ่อมปริมาณเส้นผม บำรุงตา แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก ช่วยให้ความจำดีขึ้น ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งนี้โดยกวาวเครือขาวให้สรรพคุณกับเพศหญิง กวาวเครือแดงให้สรรพคุณกับเพศชาย (มีต่อ)Summary: พบมากในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี ตาก อุทัยธานี ชัยภูมิ มหาสารคาม โดยสารสำคัญในกวาวเครือขาวเป็นที่ต้องการอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเชื่อว่าหากไม่จัดการป้องกันอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคงไม่มีเหลือให้เห็นอย่างแน่นอน นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะประกาศเพิ่มเติมให้เป็นพืชสงวนลำดับที่8 และ9 เรื่องกำหนดชนิดและชื่อพันธุ์ของพืชให้เป็นพืชสงวนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518 (ฉบับที่1)
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

กวาวเครือเป็นพืชสมุนไพร ไม้เถาเนื้อแข็งในตระกูลถั่วพบตามป่าเบญจพรรณ มีมากในภาคเหนือ ต้นเป็นเครือพ้นต้นไม้อื่นหรือเลื้อยตามพื้นดิน กวาวเครือมี 4ประเภท คือกวาวเครือขาว กวาวเครือแดง กวาวเครือดำ และกวาวเครือมอ แต่ในทางวิทยาการสมัยใหม่มีการจำแนกพันธุ์ไว้ 2ชนิด คือกวาวเครือขาว ซึ่งนิยมใช้มากที่สุดกับกวาวเครือแดง ทั้งนี้โดยกวาวเครือขาวนั้นเป็นไม้เถาขึ้นกับต้นไม้ ถ้าไม่มีต้นจะเลื้อยบนดิน (มีต่อ)

ใบหนึ่งมี 3ใบ ถ้าขุดจากต้นจะมีรากเลื้อยไปในดินต้นหนึ่งมีหลายราก แต่ละรากจะมี 1หัว ถ้าเอามีดบาดยางจะมีสีขาวและมีน้ำมาก กินแทนน้ำได้ ขณะที่กวาวเครือแดงนั้นจะขึ้นจากดินได้ โดยไม่ต้องอาศัยพันต้นไม้อื่นหากมีอายุนานนับ 100ปี เถาวัลย์จะกลายเป็นลำต้นส่งกิ่งก้านเลื้อยไปไกล ออกดอกเป็นพวงสวยงามในฤดูหนาว ส่วนอีก 2พันธุ์ ที่ไม่นิยมคือ กวาวเครือดำ ลำต้นและเถาเหมือนกวาวเครือแดงแต่เล็กกว่า ยาวสีเทาอ่อนนุ่ม มีฤทธิ์ทางยาแรงมาก (มีต่อ)

และกวาวเครือมอ ทุกส่วนไม่ว่าต้น เถา ใบ หัวจะเหมือนกวาวเครือดำแต่เนื้อในหัวและยางสีมอๆ ค่อนข้างจะหายาก มีหัวเท่ามันเทศ กวาวเครือสามารถนำมาผลิตยาบำรุงกำลัง บำรุงเนื้อหนังให้ผิวหนังที่เหี่ยวย่นกลับเต่งตึง ลบรอยตีนกา เสริมหน้าอก กระตุ้นเต้านมขยายตัว นอกจากนี้ช่วยให้เส้นผมงอกกลับดำ เพิ่อมปริมาณเส้นผม บำรุงตา แก้โรคตาฟาง ต้อกระจก ช่วยให้ความจำดีขึ้น ช่วยเสริมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งนี้โดยกวาวเครือขาวให้สรรพคุณกับเพศหญิง กวาวเครือแดงให้สรรพคุณกับเพศชาย (มีต่อ)

พบมากในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี ตาก อุทัยธานี ชัยภูมิ มหาสารคาม โดยสารสำคัญในกวาวเครือขาวเป็นที่ต้องการอย่างสูงในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเชื่อว่าหากไม่จัดการป้องกันอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคงไม่มีเหลือให้เห็นอย่างแน่นอน นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะประกาศเพิ่มเติมให้เป็นพืชสงวนลำดับที่8 และ9 เรื่องกำหนดชนิดและชื่อพันธุ์ของพืชให้เป็นพืชสงวนตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ.2518 (ฉบับที่1)