มาหยาพัง เพราะมรสุมหรือ "เดอะบีช" / อารมณ์ เคนหล้า

By: อารมณ์ เคนหล้าCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | อ่าวมาหยา In: โลกสีเขียว ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2543) หน้า 13 - 14Summary: การตัดสินใจบนฐานแห่งตนเองของกรมป่าไม้ในครั้งที่อนุญาตให้บริษัท ทเวนตี้ เซ็นจูรี ฟ็อกซ์ เข้ามาถ่ายทำภาพยนต์เรื่อง "เดอะบีช" ที่ชายหาดอ่าวมาหยา อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี ก่อให้เกิดกระแสการคัดค้านอย่างรุนแรงจากกลุ่มอนุรักษ์ต่างๆ ในท้องถิ่น ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้อธิบดีกรมป่าไม้จำต้องขึ้นศาล เพราะถูกองค์กรทางกฎหมายยื่นฟ้องว่าเป็นการใช้อำนาจที่ผิดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่คำทักท้วงของหลายๆ ฝ่ายก็ไม่เป็นผล (มีต่อ)Summary: ปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ ยืนยันหนักแน่นโดยตลอดว่า ตนมีอำนาจตาม พ.ร.บ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ตามมาตรา19 ที่จะให้การสนับสนุนด้านการศึกษา การท่องเที่ยวและการอำนวยประโยชน์การบริการในอุทยานแห่งชาติ โดยให้เจ้าหน้าที่กำกับดูแล ดังนั้นเท่ากับกรมป่าไม้มีอำนาจที่จะอนุญาตและในท่ามกลางกระแสคัดค้านและข้อขัดแย้งทางกฎหมาย กรมป่าไม้ก็ใช้ความเห็นของคณะกรรมการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากการถ่ายทำ (มีต่อ)Summary: ที่มี ดร.สุรพล สุดารา เป็นประธานมาสนับสนุนการตัดสินใจของตนเองที่ว่า การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของอ่าวมาหยาเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์นั้นมีผลกระทบอยู่บ้างแต่สามารถควบคุมและฟื้นฟูให้กลับสภาพเดิมได้ หากทางบริษัททำการปรับสภาพและฟื้นฟูหาดมาหยาตามที่กรมป่าไม้ได้วางกรอบไว้หลังจากการถ่ายทำเสร็จสิ้นลง ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าการตัดสินใจของกรมป่าไม้ในกรณีการใช้อ่าวมาหยา จึงเกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อมั่นสำคัญ 2ประการ (มีต่อ)Summary: คือ เพราะคิดว่าตนเองเป็นผู้ปกครองมาหยาจึงมีอำนาจที่จะกระทำได้ ส่วนประการหลังเพราะหลงเชื่อว่าหลังการถ่ายทำเสร็จแล้ว ตนเองมีศักยภาพและมาตรการฟื้นฟูที่ดีพอจะทำให้อ่าวมาหยากลับมาบริสุทธิ์ได้ดุจเดิม ซึ่งทั้ง 2ประการ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมไทยตราบจนวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเหตุการณ์ได้ล่วงผ่านมา ประเด็นเรื่องการฟื้นฟูยิ่งเป็นที่เคลือบแคลงสงสัย เพราะเวลานี้หากมีใครสักคนไปถามผู้ที่คุ้นเคยกับมาหยาแล้ว รับรองได้ว่าคำตอบที่จะได้รับก็คือ มาหยาไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม เพราะการฟื้นฟูดูจะเป็นได้แค่เพียงภาพลวงเท่านั้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การตัดสินใจบนฐานแห่งตนเองของกรมป่าไม้ในครั้งที่อนุญาตให้บริษัท ทเวนตี้ เซ็นจูรี ฟ็อกซ์ เข้ามาถ่ายทำภาพยนต์เรื่อง "เดอะบีช" ที่ชายหาดอ่าวมาหยา อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี ก่อให้เกิดกระแสการคัดค้านอย่างรุนแรงจากกลุ่มอนุรักษ์ต่างๆ ในท้องถิ่น ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้อธิบดีกรมป่าไม้จำต้องขึ้นศาล เพราะถูกองค์กรทางกฎหมายยื่นฟ้องว่าเป็นการใช้อำนาจที่ผิดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย แต่คำทักท้วงของหลายๆ ฝ่ายก็ไม่เป็นผล (มีต่อ)

ปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ ยืนยันหนักแน่นโดยตลอดว่า ตนมีอำนาจตาม พ.ร.บ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 ตามมาตรา19 ที่จะให้การสนับสนุนด้านการศึกษา การท่องเที่ยวและการอำนวยประโยชน์การบริการในอุทยานแห่งชาติ โดยให้เจ้าหน้าที่กำกับดูแล ดังนั้นเท่ากับกรมป่าไม้มีอำนาจที่จะอนุญาตและในท่ามกลางกระแสคัดค้านและข้อขัดแย้งทางกฎหมาย กรมป่าไม้ก็ใช้ความเห็นของคณะกรรมการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากการถ่ายทำ (มีต่อ)

ที่มี ดร.สุรพล สุดารา เป็นประธานมาสนับสนุนการตัดสินใจของตนเองที่ว่า การเปลี่ยนแปลงธรรมชาติของอ่าวมาหยาเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์นั้นมีผลกระทบอยู่บ้างแต่สามารถควบคุมและฟื้นฟูให้กลับสภาพเดิมได้ หากทางบริษัททำการปรับสภาพและฟื้นฟูหาดมาหยาตามที่กรมป่าไม้ได้วางกรอบไว้หลังจากการถ่ายทำเสร็จสิ้นลง ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่าการตัดสินใจของกรมป่าไม้ในกรณีการใช้อ่าวมาหยา จึงเกิดขึ้นภายใต้ความเชื่อมั่นสำคัญ 2ประการ (มีต่อ)

คือ เพราะคิดว่าตนเองเป็นผู้ปกครองมาหยาจึงมีอำนาจที่จะกระทำได้ ส่วนประการหลังเพราะหลงเชื่อว่าหลังการถ่ายทำเสร็จแล้ว ตนเองมีศักยภาพและมาตรการฟื้นฟูที่ดีพอจะทำให้อ่าวมาหยากลับมาบริสุทธิ์ได้ดุจเดิม ซึ่งทั้ง 2ประการ ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมไทยตราบจนวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเหตุการณ์ได้ล่วงผ่านมา ประเด็นเรื่องการฟื้นฟูยิ่งเป็นที่เคลือบแคลงสงสัย เพราะเวลานี้หากมีใครสักคนไปถามผู้ที่คุ้นเคยกับมาหยาแล้ว รับรองได้ว่าคำตอบที่จะได้รับก็คือ มาหยาไม่มีวันกลับมาเหมือนเดิม เพราะการฟื้นฟูดูจะเป็นได้แค่เพียงภาพลวงเท่านั้น