ศาลปกครองเวทีที่เท่าเทียมระหว่างรัฐและเอกชน

Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ศาลปกครอง In: ข่าวช่าง ปีที่ 28 ฉบับที่ 336 (พฤษภาคม 2543) หน้า 46 - 49Summary: ศาลปกครองเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่พิจารณา และพิพากษาคดีปกครองหรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ รวมถึงรัฐวิสาหกิจและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ กับเอกชน รวมทั้งพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ส่วนเหตุผลหรือความจำเป็นที่ต้องมีศาลประเภทนี้ขึ้นมา โดยแยกต่างหากจากศาลยุติธรรมก็เนื่องมาจากคดีปกครองนั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างเอกชนด้วยกันเอง (มีต่อ)Summary: คดีในศาลปกครองนั้นจะเป็นคดีที่เอกชนเป็นคู่กรณีกับรัฐ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้มีบทบัญญัติอย่างชัดเจนให้ยกร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งสามารถประกาศใช้ได้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2542 ต้องใช้เวลา 125ปี จึงเกิดกฎหมายศาลปกครองขึ้น อำนาจและหน้าที่ของศาลปกครองโดยวิธีการไต่สวน พิจารณาและลงโทษของศาลปกครอง เป็นเอกลักษณ์ของศาลปกครอง แบ่งออกเป็นศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองสูงสุด บทลงโทษของศาลปกครองไม่มีหน้าที่ลงโทษจำเลย (มีต่อ)Summary: บทลงโทษสูงสุดที่ศาลสามารถทำได้คือ "การเพิกถอน" ศาลปกครองนั้นจะขาดแคลนงบประมาณแต่ทางศาลปกครองก็จะยืนยันในความยุติธรรมของศาลปกครองที่จะมีให้กับประชาชนทุกคน อาจจะมีความยากลำบากบ้างในการเข้ามาติดต่อ ปัญหาอีกด้านหนึ่งที่ประสบอยู่ในขณะนี้คือ การฝึกอบรมผู้ที่ถูกคัดเลือกให้เข้ามาเป็นตุลาการศาลปกครอง ด้วยความเหมาะสมและมีความรู้เป็นอย่างดี เพราะผู้ที่เข้ามาคัดเลือกนั้นมาจากหลากหลายความรู้ทั้งระดับกลางและสูง ขณะนี้ได้คัดเลือกบุคลากรไว้จำนวนหนึ่งแล้ว
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ศาลปกครองเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่พิจารณา และพิพากษาคดีปกครองหรือข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ รวมถึงรัฐวิสาหกิจและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ กับเอกชน รวมทั้งพิจารณาพิพากษาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ส่วนเหตุผลหรือความจำเป็นที่ต้องมีศาลประเภทนี้ขึ้นมา โดยแยกต่างหากจากศาลยุติธรรมก็เนื่องมาจากคดีปกครองนั้นมีลักษณะที่แตกต่างจากคดีแพ่งและคดีอาญา เป็นการโต้แย้งสิทธิระหว่างเอกชนด้วยกันเอง (มีต่อ)

คดีในศาลปกครองนั้นจะเป็นคดีที่เอกชนเป็นคู่กรณีกับรัฐ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้มีบทบัญญัติอย่างชัดเจนให้ยกร่าง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ซึ่งสามารถประกาศใช้ได้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2542 ต้องใช้เวลา 125ปี จึงเกิดกฎหมายศาลปกครองขึ้น อำนาจและหน้าที่ของศาลปกครองโดยวิธีการไต่สวน พิจารณาและลงโทษของศาลปกครอง เป็นเอกลักษณ์ของศาลปกครอง แบ่งออกเป็นศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองสูงสุด บทลงโทษของศาลปกครองไม่มีหน้าที่ลงโทษจำเลย (มีต่อ)

บทลงโทษสูงสุดที่ศาลสามารถทำได้คือ "การเพิกถอน" ศาลปกครองนั้นจะขาดแคลนงบประมาณแต่ทางศาลปกครองก็จะยืนยันในความยุติธรรมของศาลปกครองที่จะมีให้กับประชาชนทุกคน อาจจะมีความยากลำบากบ้างในการเข้ามาติดต่อ ปัญหาอีกด้านหนึ่งที่ประสบอยู่ในขณะนี้คือ การฝึกอบรมผู้ที่ถูกคัดเลือกให้เข้ามาเป็นตุลาการศาลปกครอง ด้วยความเหมาะสมและมีความรู้เป็นอย่างดี เพราะผู้ที่เข้ามาคัดเลือกนั้นมาจากหลากหลายความรู้ทั้งระดับกลางและสูง ขณะนี้ได้คัดเลือกบุคลากรไว้จำนวนหนึ่งแล้ว