การสร้างไอทีที่ยั่งยืน / ครรชิต มาลัยวงศ์

By: ครรชิต มาลัยวงศ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เทคโนโลยีสารสนเทศ In: ส่งเสริมเทคโนโลยี ปีที่ 28 ฉบับที่ 156 (เมษายน-พฤษภาคม 2544) หน้า 144 - 147Summary: การสร้างองค์ความรู้ด้านไอทีเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทุกวันนี้การพัฒนางานไอทีในประเทศของเรานั้น หนักไปทางด้านการซื้อหาระบบมาใช้ทั้งทางด้านเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ กับทางด้านซอฟแวร์ แทบจะไม่มีหน่วยงานใดเลยที่คิดประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้งานเอง การที่จะจัดทำคอมพิวเตอร์แบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีองค์ความรู้มากพอ องค์ความรู้นี้จะเกิดขึ้นได้โดยการทำวิจัยค้นคว้าอย่างจริงจังและต่อเนื่อง (มีต่อ)Summary: ปัจจุบันนี้การทำวิจัยและการประชุมวิชาการด้านไอทีของคนไทยนั้นมีค่อนข้างน้อย เหตุผลก็คืออาจารย์หลายคนได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ค่อนข้างมาก จนกระทั่งไม่มีเวลาที่จะทำวิจัย งานวิจัยด้านพื้นฐานนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่โดยที่งานเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นกว้างขวางมากมายหลายสาขา หากจะวิจัยไปหมดทุกด้านก็จะทำให้เสียเวลาและแรงงานไปโดยไม่คุ้มค่า (มีต่อ)Summary: ดังนั้น ควรให้นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านช่วยกันคิดว่าสมควรวิจัยพื้นฐานในด้านใดบ้าง เรื่องที่น่าส่งเสริมอีกอย่างคือ ส่งเสริมให้มีสมาคมวิชาการด้านต่างๆ มากขึ้น ปัจจุบันมีสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายในสมาคมมีชมรมวิชาการต่างๆ หลายชมรม แต่สมาคมนี้มีวัตถุประสงค์กว้างเกินไป และไม่สามารถส่งเสริมวิชาการแต่ละสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาคมวิชาการที่แตกย่อยลงไปจะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกทั่วประทศรู้จักและช่วยเหลือกันและกันได้ดียิ่งขึ้น (มีต่อ)Summary: สามารถอภิปรายปรึกษาประเด็นทางด้านวิชาการเฉพาะทางได้อย่างลึกและแน่นอน แนวทางปฏิบัติที่ทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาและใช้ไอทีได้อย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าในให้แก่คนทุกระดับในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับไอที และจะต้องเปลี่ยนทัศนคติในการมีและการใช้ไอทีให้ถูกต้อง และต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง 1.คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จะต้องให้คามนใจต่อพัฒนาการของไอที และการประยุกต์ใช้ไอทีในภาคต่างๆ (มีต่อ)Summary: 2.รัฐจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่สมาคมวิชาชีพด้านไอทีด้วยการสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมความรู้ 3.รัฐจะต้องศึกษากฎหมายด้านไอทีของประเทศต่างๆ และพิจารณาหาทางตราพระราชบัญญัติที่จำเป็นออกมาให้พอเพียงและทันต่อความก้าวหน้าด้านไอที 4.อาจารย์ นักวิชาการและนักวิจัยในสถาบันต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน ต้องร่วมมือกันในทางวิชาการมากขึ้น ต้องลดละความเย่อหยิ่งอิจฉาริษยา และมองข้ามความขัดแย้งระหว่างสถาบันและระหว่างบุคคล (มีต่อ)Summary: 5.ต้องหามาตรการปรับทัศนคติของคนไทยโดยรวมให้หันมาสนใจในผลิตภัณฑ์ไอทีของไทยให้มากขึ้น ทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ 6.ต้องปรับทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานด้านไอทีให้เข้าใจว่าไม่จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และซอฟแวร์ทุกอย่างตามกระแสความเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์เสมอไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การสร้างองค์ความรู้ด้านไอทีเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทุกวันนี้การพัฒนางานไอทีในประเทศของเรานั้น หนักไปทางด้านการซื้อหาระบบมาใช้ทั้งทางด้านเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ กับทางด้านซอฟแวร์ แทบจะไม่มีหน่วยงานใดเลยที่คิดประดิษฐ์อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อใช้งานเอง การที่จะจัดทำคอมพิวเตอร์แบบนี้จำเป็นที่จะต้องมีองค์ความรู้มากพอ องค์ความรู้นี้จะเกิดขึ้นได้โดยการทำวิจัยค้นคว้าอย่างจริงจังและต่อเนื่อง (มีต่อ)

ปัจจุบันนี้การทำวิจัยและการประชุมวิชาการด้านไอทีของคนไทยนั้นมีค่อนข้างน้อย เหตุผลก็คืออาจารย์หลายคนได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ค่อนข้างมาก จนกระทั่งไม่มีเวลาที่จะทำวิจัย งานวิจัยด้านพื้นฐานนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก แต่โดยที่งานเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นกว้างขวางมากมายหลายสาขา หากจะวิจัยไปหมดทุกด้านก็จะทำให้เสียเวลาและแรงงานไปโดยไม่คุ้มค่า (มีต่อ)

ดังนั้น ควรให้นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านช่วยกันคิดว่าสมควรวิจัยพื้นฐานในด้านใดบ้าง เรื่องที่น่าส่งเสริมอีกอย่างคือ ส่งเสริมให้มีสมาคมวิชาการด้านต่างๆ มากขึ้น ปัจจุบันมีสมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายในสมาคมมีชมรมวิชาการต่างๆ หลายชมรม แต่สมาคมนี้มีวัตถุประสงค์กว้างเกินไป และไม่สามารถส่งเสริมวิชาการแต่ละสาขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาคมวิชาการที่แตกย่อยลงไปจะช่วยส่งเสริมให้สมาชิกทั่วประทศรู้จักและช่วยเหลือกันและกันได้ดียิ่งขึ้น (มีต่อ)

สามารถอภิปรายปรึกษาประเด็นทางด้านวิชาการเฉพาะทางได้อย่างลึกและแน่นอน แนวทางปฏิบัติที่ทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาและใช้ไอทีได้อย่างยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างความเข้าในให้แก่คนทุกระดับในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับไอที และจะต้องเปลี่ยนทัศนคติในการมีและการใช้ไอทีให้ถูกต้อง และต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง 1.คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ จะต้องให้คามนใจต่อพัฒนาการของไอที และการประยุกต์ใช้ไอทีในภาคต่างๆ (มีต่อ)

2.รัฐจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่สมาคมวิชาชีพด้านไอทีด้วยการสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมความรู้ 3.รัฐจะต้องศึกษากฎหมายด้านไอทีของประเทศต่างๆ และพิจารณาหาทางตราพระราชบัญญัติที่จำเป็นออกมาให้พอเพียงและทันต่อความก้าวหน้าด้านไอที 4.อาจารย์ นักวิชาการและนักวิจัยในสถาบันต่างๆ ทั้งรัฐและเอกชน ต้องร่วมมือกันในทางวิชาการมากขึ้น ต้องลดละความเย่อหยิ่งอิจฉาริษยา และมองข้ามความขัดแย้งระหว่างสถาบันและระหว่างบุคคล (มีต่อ)

5.ต้องหามาตรการปรับทัศนคติของคนไทยโดยรวมให้หันมาสนใจในผลิตภัณฑ์ไอทีของไทยให้มากขึ้น ทั้งส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ 6.ต้องปรับทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานด้านไอทีให้เข้าใจว่าไม่จำเป็นจะต้องปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และซอฟแวร์ทุกอย่างตามกระแสความเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์เสมอไป