การประเมินผลด้านสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมไฟฟ้า / สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย

By: สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | อุตสาหกรรมไฟฟ้า -- มลพิษ In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 9 (กันยายน 2542) หน้า 72 - 75Summary: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้คาดการณ์เกี่ยวกับปริมาณความต้องการไฟฟ้าในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ5 ต่อปี ในระยะสั้น และร้อยละ 6.6 ต่อปีในระยะยาว ในช่วงปีพ.ศ.2539 ปริมาณความต้องการใช้พลังงานโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้ายังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8.8 ในช่วงปลายปีพ.ศ.2540 ถึงช่วง 6เดือนแรกของปีพ.ศ.2541 ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหดตัวมากอย่างต่อเนื่อง (มีต่อ)Summary: การผลิตของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ชะลอตัวลงเนื่องมาจากการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจลดลง ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลงมาก ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตมีแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าครอบคลุมระยะเวลา 13ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2541 จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2554 จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนและต่างประเทศ (มีต่อ)Summary: และปลดโรงไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งาน รวมกำลังผลิตสุทธิเท่ากับ 21,496.4เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้กำลังขยายผลิตรวมทั้งหมดเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2554 เป็น 39,672 เมกะวัตต์ ในการเลือกใช้แหล่งพลังงานต้นกำลังในการผลิตไฟฟ้า (พ.ศ.2542 - 2554) ต้องพิจารณาถึงศักยภาพของแหล่งพลังงานต้นกำลัง ราคาต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ความมั่นคงในการจัดหาและปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของแหล่งพลังงานต้นกำลัง นอกจากนี้การเลือกใช้พลังงานต้นกำลัง (มีต่อ)Summary: ยังขึ้นอยู่กับชนิดของโรงไฟฟ้าที่ต้องการในระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา ชนิดของแหล่งพลังงานต้นกำลังในประเทศที่ กฟผ.ได้พิจารณาทางเลือกเพื่อนำมาเป็นแหล่งพลังงานต้นกำลังในการผลิตไฟฟ้าได้แก่ พลังน้ำ ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์ และน้ำมัน ส่วนแหล่งพลังงานต้นกำลังที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว ถ่านหิน นิวเคลียร์ ออริมัลชั่น และการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีพลังงานทดแทน (มีต่อ)Summary: ได้แก่ แสงอาทิตย์ พลังงานลม และความร้อนใต้ภิภพ อุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้ามีการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงเป็นอันดับสองรองจากการคมนาคมขนส่ง และส่งผลให้มลภาวะต่างๆ ถูกปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีผลกระทบไปยังระดับภูมิภาคและระดับโลก เป็นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเกิดฝนกรด การเกิดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น ปัจจุบันการที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศไทยจะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสนอต่อ (มีต่อ)Summary: สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนก็ตาม ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมการผลิตกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในขณะผลิต โดยเฉพาะจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจะมีผลกระทบมาก และจัดเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบหลักและเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป นอกจากนี้ในระหว่างใช้ยังก่อให้เกิดมลสารทางอากาศและมีการสูญเสียความร้อนเกิดขึ้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้คาดการณ์เกี่ยวกับปริมาณความต้องการไฟฟ้าในประเทศไทยมีแนวโน้มสูงขึ้นร้อยละ5 ต่อปี ในระยะสั้น และร้อยละ 6.6 ต่อปีในระยะยาว ในช่วงปีพ.ศ.2539 ปริมาณความต้องการใช้พลังงานโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้ายังอยู่ในระดับสูง ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8.8 ในช่วงปลายปีพ.ศ.2540 ถึงช่วง 6เดือนแรกของปีพ.ศ.2541 ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจทำให้เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหดตัวมากอย่างต่อเนื่อง (มีต่อ)

การผลิตของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ชะลอตัวลงเนื่องมาจากการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจลดลง ส่งผลให้ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมมีแนวโน้มลดลงมาก ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตมีแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าครอบคลุมระยะเวลา 13ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2541 จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ.2554 จะมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนและต่างประเทศ (มีต่อ)

และปลดโรงไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งาน รวมกำลังผลิตสุทธิเท่ากับ 21,496.4เมกะวัตต์ ซึ่งจะทำให้กำลังขยายผลิตรวมทั้งหมดเมื่อสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ.2554 เป็น 39,672 เมกะวัตต์ ในการเลือกใช้แหล่งพลังงานต้นกำลังในการผลิตไฟฟ้า (พ.ศ.2542 - 2554) ต้องพิจารณาถึงศักยภาพของแหล่งพลังงานต้นกำลัง ราคาต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ความมั่นคงในการจัดหาและปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของแหล่งพลังงานต้นกำลัง นอกจากนี้การเลือกใช้พลังงานต้นกำลัง (มีต่อ)

ยังขึ้นอยู่กับชนิดของโรงไฟฟ้าที่ต้องการในระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะการใช้ไฟฟ้าในแต่ละช่วงเวลา ชนิดของแหล่งพลังงานต้นกำลังในประเทศที่ กฟผ.ได้พิจารณาทางเลือกเพื่อนำมาเป็นแหล่งพลังงานต้นกำลังในการผลิตไฟฟ้าได้แก่ พลังน้ำ ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์ และน้ำมัน ส่วนแหล่งพลังงานต้นกำลังที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว ถ่านหิน นิวเคลียร์ ออริมัลชั่น และการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ยังมีพลังงานทดแทน (มีต่อ)

ได้แก่ แสงอาทิตย์ พลังงานลม และความร้อนใต้ภิภพ อุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้ามีการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงเป็นอันดับสองรองจากการคมนาคมขนส่ง และส่งผลให้มลภาวะต่างๆ ถูกปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีผลกระทบไปยังระดับภูมิภาคและระดับโลก เป็นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ การเกิดฝนกรด การเกิดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น ปัจจุบันการที่จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศไทยจะต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสนอต่อ (มีต่อ)

สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนก็ตาม ลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมการผลิตกระแสไฟฟ้าส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในขณะผลิต โดยเฉพาะจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติจะมีผลกระทบมาก และจัดเป็นประเด็นสำคัญ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบหลักและเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป นอกจากนี้ในระหว่างใช้ยังก่อให้เกิดมลสารทางอากาศและมีการสูญเสียความร้อนเกิดขึ้น