อีกก้าวของการพัฒนาคลองแสนแสบ / นุชรินทร์ ศศิพิบูลย์

By: นุชรินทร์ ศศิพิบูลย์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | คลองแสนแสบ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 119 (สิงหาคม 2542) หน้า 35-38Summary: ก่อนปี 2537 สภาพคลองแสนแสบเต็มไปด้วยผักโป่งหรือผักตบชวา ชาวบ้านริมคลองใช้ประโยชน์จากน้ำได้เพียงการสูบเข้านาเท่านั้น แต่ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก่อนวันที่ 20 กันยายน ของปีนั้นผักตบชวาถูกเก็บขึ้นจนหมด สองข้างริมคลองที่เต็มไปด้วยวัชพืช ถูกกำจัดถากถาง จนลำคลองโล่งงดงามดูสบายตาได้เห็นน้ำใสๆ จากคลองแสนแสบ และเมื่อขบวนเสด็จของพระองค์เสด็จผ่านลำคลองสายนี้ ตลอดความยาว 72 กิโลเมตร นับจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศจนถึง (มีต่อ)Summary: ประตูน้ำท่าไข่ จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมมีพระราชดำริว่า คลองแสนแสบเป็นคลองสำคัญในประวัติศาสตร์ที่สมควรจะได้รับการดูแลรักษาต่อไป หลังจากนั้นชาวบ้านริมคลองแสนแสบในเขตมีนบุรี หรือคลองสามวา ก็เริ่มมีความหวังเมื่อมีโครงการเลี้ยงปลาหน้ามัสยิดของกรมประมงเริ่มต้นขึ้น ปลาตะเพียน ปลาชะโด และปลาใหญ่ ปลาน้อยก็เพิ่มมากขึ้น "โครงการเลี้ยงปลาในกระชัง" ก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับครอบครัวและชาวบ้านริมคลองดำรงอยู่ได้ ชาวบ้านหลายสิบหลังคาเรือน (มีต่อ)Summary: เริ่มเลี้ยงปลาในกระชังเป็นอาชีพ หลายหลังคาเรือนเริ่มทำการเกษตร ปลูกพืชผัก ผลไม้ ชาวบ้านบางรายปลูกผักสวนครัวด้วยการขุดท้องร่องจากนาผืนเก่า ยกคันนาเป็นที่ที่สวนผันน้ำจากคลองแสนแสบเข้าท้องร่อง แล้วลงกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม มะม่วง แซมด้วยผักสวนครัว เช่น กระชาย ขมิ้น พริก โหระพา กระเพา และในท้องร่องก็ลงปลาช่อนกับปลานิลด้วย ทำให้มีแม่ค้า พ่อค้า หรือออร์เดอร์จากโรงงานมาขอซื้อถึงที่ ทำให้มีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 200บาท จากผลผลิตด้านการเกษตร (มีต่อ)Summary: นอกจากนี้ยังได้เข้าประกวดสวนเกษตรในเมืองตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่กรุงเทพฯ จัดขึ้น และสวนเกษตรของคลองแสนแสบแห่งนี้สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง มาครองได้ สวนเกษตรแห่งนี้จึงเป็นแหล่งอวดผลงานความก้าวหน้าของการพัฒนาคลองแสนแสบ ตามหลักการความร่วมมือ สามประสานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและชาวบ้าน ที่ชาวคลองแสนแสบภูมิใจ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ก่อนปี 2537 สภาพคลองแสนแสบเต็มไปด้วยผักโป่งหรือผักตบชวา ชาวบ้านริมคลองใช้ประโยชน์จากน้ำได้เพียงการสูบเข้านาเท่านั้น แต่ด้วยพระบารมีของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ก่อนวันที่ 20 กันยายน ของปีนั้นผักตบชวาถูกเก็บขึ้นจนหมด สองข้างริมคลองที่เต็มไปด้วยวัชพืช ถูกกำจัดถากถาง จนลำคลองโล่งงดงามดูสบายตาได้เห็นน้ำใสๆ จากคลองแสนแสบ และเมื่อขบวนเสด็จของพระองค์เสด็จผ่านลำคลองสายนี้ ตลอดความยาว 72 กิโลเมตร นับจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศจนถึง (มีต่อ)

ประตูน้ำท่าไข่ จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมมีพระราชดำริว่า คลองแสนแสบเป็นคลองสำคัญในประวัติศาสตร์ที่สมควรจะได้รับการดูแลรักษาต่อไป หลังจากนั้นชาวบ้านริมคลองแสนแสบในเขตมีนบุรี หรือคลองสามวา ก็เริ่มมีความหวังเมื่อมีโครงการเลี้ยงปลาหน้ามัสยิดของกรมประมงเริ่มต้นขึ้น ปลาตะเพียน ปลาชะโด และปลาใหญ่ ปลาน้อยก็เพิ่มมากขึ้น "โครงการเลี้ยงปลาในกระชัง" ก็เป็นอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้กับครอบครัวและชาวบ้านริมคลองดำรงอยู่ได้ ชาวบ้านหลายสิบหลังคาเรือน (มีต่อ)

เริ่มเลี้ยงปลาในกระชังเป็นอาชีพ หลายหลังคาเรือนเริ่มทำการเกษตร ปลูกพืชผัก ผลไม้ ชาวบ้านบางรายปลูกผักสวนครัวด้วยการขุดท้องร่องจากนาผืนเก่า ยกคันนาเป็นที่ที่สวนผันน้ำจากคลองแสนแสบเข้าท้องร่อง แล้วลงกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม มะม่วง แซมด้วยผักสวนครัว เช่น กระชาย ขมิ้น พริก โหระพา กระเพา และในท้องร่องก็ลงปลาช่อนกับปลานิลด้วย ทำให้มีแม่ค้า พ่อค้า หรือออร์เดอร์จากโรงงานมาขอซื้อถึงที่ ทำให้มีรายได้เฉลี่ยวันละประมาณ 200บาท จากผลผลิตด้านการเกษตร (มีต่อ)

นอกจากนี้ยังได้เข้าประกวดสวนเกษตรในเมืองตามโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่กรุงเทพฯ จัดขึ้น และสวนเกษตรของคลองแสนแสบแห่งนี้สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศอันดับหนึ่ง มาครองได้ สวนเกษตรแห่งนี้จึงเป็นแหล่งอวดผลงานความก้าวหน้าของการพัฒนาคลองแสนแสบ ตามหลักการความร่วมมือ สามประสานระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและชาวบ้าน ที่ชาวคลองแสนแสบภูมิใจ

Share