การศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะการผลิตของแกะพื้นเมืองและแกะลูกผสมที่เลี้ยงกักขังกับเลี้ยงปล่อย / ธวัชชัย ศุภดิษฐ์, สัญชัย จตุรสิทธา, สุรกิจ ยะราช

By: ธวัชชัย ศุภดิษฐ์Contributor(s): สัญชัย จตุรสิทธา | สุรกิจ ยะราชCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | สัตว์, การเลี้ยง | แกะ -- วิจัย In: พระจอมเกล้าลาดกระบัง ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 (เมษายน 2543) หน้า 7-12Summary: การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตราการเจริญเติบโต อัตราการแลกน้ำหนัก อัตราการกินอาหารแห้งต่อวันโดยทำการทดลองเป็นระยะเวลา 112วันกับแกะ 2พันธุ์ (แกะพื้นเมืองและแกะลูกผสม (พื้นเมืองxเมอริโน) ) ภายใต้ระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกัน 2ชนิด (เลี้ยงขังกรงและเลี้ยงปล่อยแปลง) โดยให้ได้รับอาหารข้น (มีต่อ)Summary: ที่มีโปรตีน 14เปอร์เซ็นต์ เสริมในอัตรา 1เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน จัดกลุ่มการทดลองแบบ 2x2 Factorial ในแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด แกะพื้นเมืองและแกะลูกผสม มีอัตราการเจริญเติบโตเท่ากับ 44.02และ58.48 กรัมต่อวัน มีอัตราการแลกน้ำหนักเท่ากับ25.02และ18.50 รวมทั้งมีอัตราการกินอาหารแห้งเท่ากับ (มีต่อ)Summary: 1.08และ1.07 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับโดยแกะลูกผสมมีอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการแลกน้ำหนักดีกว่าแกะพื้นเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการกินอาหารในรูปวัตถุแห้งต่อวันใกล้เคียงกัน โดยไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) แกะขุนที่เลี้ยงแบบขังกรงและเลี้ยงแบบปล่อยแปลง มีอัตราการเจริญเติบโต (มีต่อ)Summary: เท่ากับ 54.10 และ 48.39 กรัมต่อวัน มีอัตราการแลกน้ำหนักเท่ากับ17.74 และ25.80 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนอัตราการกินอาหารในรูปวัตถุแห้ง จะพบว่าแกะที่เลี้ยงในสภาพปล่อยแปลงจะมีปริมาณการกินอาหารในรูปวัตถุแห้งสูงกว่าแกะที่เลี้ยงแบบขังกรงเท่ากับ1.22 และ 0.94ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอัตราการเจริญเติบโต อัตราการแลกน้ำหนัก อัตราการกินอาหารแห้งต่อวันโดยทำการทดลองเป็นระยะเวลา 112วันกับแกะ 2พันธุ์ (แกะพื้นเมืองและแกะลูกผสม (พื้นเมืองxเมอริโน) ) ภายใต้ระบบการเลี้ยงที่แตกต่างกัน 2ชนิด (เลี้ยงขังกรงและเลี้ยงปล่อยแปลง) โดยให้ได้รับอาหารข้น (มีต่อ)

ที่มีโปรตีน 14เปอร์เซ็นต์ เสริมในอัตรา 1เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวต่อวัน จัดกลุ่มการทดลองแบบ 2x2 Factorial ในแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด แกะพื้นเมืองและแกะลูกผสม มีอัตราการเจริญเติบโตเท่ากับ 44.02และ58.48 กรัมต่อวัน มีอัตราการแลกน้ำหนักเท่ากับ25.02และ18.50 รวมทั้งมีอัตราการกินอาหารแห้งเท่ากับ (มีต่อ)

1.08และ1.07 กิโลกรัมต่อวัน ตามลำดับโดยแกะลูกผสมมีอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการแลกน้ำหนักดีกว่าแกะพื้นเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อัตราการกินอาหารในรูปวัตถุแห้งต่อวันใกล้เคียงกัน โดยไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) แกะขุนที่เลี้ยงแบบขังกรงและเลี้ยงแบบปล่อยแปลง มีอัตราการเจริญเติบโต (มีต่อ)

เท่ากับ 54.10 และ 48.39 กรัมต่อวัน มีอัตราการแลกน้ำหนักเท่ากับ17.74 และ25.80 ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนอัตราการกินอาหารในรูปวัตถุแห้ง จะพบว่าแกะที่เลี้ยงในสภาพปล่อยแปลงจะมีปริมาณการกินอาหารในรูปวัตถุแห้งสูงกว่าแกะที่เลี้ยงแบบขังกรงเท่ากับ1.22 และ 0.94ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)