อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง.

โรงบำบัดน้ำเสียการแก้ไขปัญหาน้ำเสียหรือการช่วงชิงผลประโยชน์หมื่นล้าน / อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง

ความขัดแย้งกรณีโครงการจัดการน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษจังหวัดสมุทรปราการได้ปะทุขึ้น เนื่องจากชาวบ้านตำบลคลองด่าน อำเภอบางปู ได้รวมตัวกันคัดค้านโครงการซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยให้เหตุผลว่าพวกเขาไม่เคยได้รับการเปิดเผยข้อมูลของโครงการนี้อย่างชัดเจนมาก่อน เป็นที่น่าสนใจว่ามแม้ปัจจุบันปัญหาน้ำเสียหรือมลพิษทางน้ำยังคงเป็นปัญหาสำคัญสำหรับสมุทรปราการอยู่ (มีต่อ) แต่เหตุใดโครงการบำบัดหรือเยียวยาสิ่งแวดล้อมของรัฐในลักษณะนี้จึงต้องเผชิญกับกระแสคัดค้านอย่างยืดเยื้อของประชาชนทั้งในตำบลคลองด่านและบริเวณใกล้เคียง ปัญหาน่าจะเริ่มจากการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ไม่ยอมทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือจัดทำประชาพิจารณ์ก่อนการดำเนินการก่อสร้างทั้งๆ ที่โครงการนี้เป็นโครงการบำบัดน้ำเสียที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้งบประมาณสูงถึง 23,000ล้านบาท (มีต่อ) ซึงทำให้เกิดข้อถกเถียงเพิ่มขึ้นมาอีกประเด็นว่า มีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องทำโครงการใหญ่โตมโหฬารขนาดนี้ ในประเทศชาติกำลังมีปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องความไม่โปร่งใสในการซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียในราคาสูงลิ่ว ซึ่งส่วนหนึ่งยังเป็นที่จมทะเล เทคโนโลยีที่เลือกมาใช้ก็ไม่เหมาะสมและล้าหลัง รวมทั้งการวางท่อปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วถึงวันละ 525,000ลูกบาศก์เมตร ลงสู่บริเวณที่ชาวบ้านทำประมงชายฝั่ง (มีต่อ) ล้วนเป็นช่องโหว่ของโครงการที่รัฐบาลเองตอบชาวบ้านได้ไม่ชัดเจนนัก ประเด็นความขัดแย้งดังกล่าวมาแล้วได้ทำให้โครงการบำบัดน้ำเสียสมุทรปราการกลายเป็นตัวอย่างคลาสสิกของการแก้ปัญหาน้ำเสียที่ล้มเหลวของภาครัฐ ดังนั้นหากเข้าใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่สมุทรปราการ ก็จะเข้าใจได้ว่าทางออกในการแก้ปัญหาน้ำเสียที่หลายหน่วยงานต่างๆ กำลังผลักดันกันอยู่เต็มที่ควรเดินไปในทิศทางใด งบประมาณของประเทศชาติจำจะตกอยู่กับประชาชนมากกว่าผู้รับเหมาและเจ้าของเทคโนโลยีต่างชาติ


SCI-TECH.
น้ำเสีย--การบำบัด.