ณัฐกฤต พิทักษ์.

ชีวประวัติของหนอนเจาะลำต้นกล้วย Odoiporus longicollis Olivier และการป้องกันกำจัดโดยใช้ไส้เดือนฝอย / ณัฐกฤต พิทักษ์, เกรียงไกร จำเริญมา, อรนุช กองกาญจนะ

หนอนด้วงเจาะลำต้นกล้วย Odoiporus longicollis Olivier เป็นแมลงศัตรูกล้วยที่สำคัญชนิดหนึ่ง เข้าทำลายต้นกล้วยโดยตัวหนอนเจาะเข้าไปในลำต้นและอาศัยกัดกินอยู่ข้างใน ทำให้ต้นกล้วยเสียหายหักล้มได้ ทำการศึกษาวงจรชีวิตของหนอนด้วงเจาะลำต้นกล้วยและการป้องกันกำจัดระหว่างเดือนกรกฎาคม 2541-กันยาน 2542 ที่แปลงกล้วยของเกษตรกรจังหวัดเลยและห้องปฎิบัติการของกองกีฏและสัตววิทยา พบว่าตัวเต็มวัยเพศเมียของหนอนด้วงเจาะลำต้นกล้วยวางไข่ที่กาบใบกล้วย ระยะไปเฉลี่ย 4.5วัน เมื่อพักออกเป็นตัวหนอน หนอนจะเจาะเข้าไปอาศัยกัดกินอยู่ภายในลำต้นกล้วย (มีต่อ) หนอนลอกคราบ4ครั้ง มี5วัย ระยะหนอนเฉลี่ย 25.9 วัน ระยะดักแด้เฉลี่ย 13.2 วัน และระยะตัวเต็มวัยอยู่ได้นาน (longevity)เฉลี่ย 49.1 วัน จากการศึกษาประชากรของหนอนด้วงเจาะลำต้นกล้วยในสภาพไรพบหนอนและตัวเต็มวัยมากที่สุดเดือนมิถุนายน และตัวเต็มวัยเข้ากับเด็กมากที่สุดเดือนกรกฏาคม มี 30อายุขัยใน 1ปี การทดลองใช้ไส้เดือนฝอย Steinernema carpocapsae Weiser ในการป้องกันกำจัดหนอนด้วงเจาะลำต้นกล้วยพบว่าไส้เดือนฝอย ทำให้ตัวเต็มวัยตายเฉลี่ย 53.7 เปอร์เซ็นต์


SCI-TECH.
กล้วย--วิจัย.
ศัตรูพืช--การควบคุม.
แมลงศัตรูพืช--การควบคุม.
กีฏวิทยา.