ชาติบุตร บุณยะจิตติ.

"ฝนหลวง" แหล่งน้ำพระทัยสู่พสกนิกรชาวสยาม... / ชาติบุตร บุณยะจิตติ

ฝนหลวง เป็นความสำเร็จที่เกิดจากพระอัจฉริยภาพ และความสนพระราชหฤทัยอย่างจริงจังขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวิเคราะห์กรรมวิธีทำการผลิตฝนหลวงออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่1 ก่อกวน ขั้นตอนที่2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนที่3 โจมตี ฝนหลวงมีหน้าที่สำคัญในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน หลายประการดังนี้ 1.ด้านการเกษตร เมื่อเกิดสภาวะวิกฤติในช่วงที่ฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลายาวนาน ส่งผลให้แหล่งผลิตทางการเกษตรมีน้ำใช้เพื่อเพิ่มผลผลิต และเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน (มีต่อ) โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤติขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงที่เขื่อนสิริกิตติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ 2.เพื่อการอุปโภค บริโภค ช่วยให้มีน้ำเพียงพอกับความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีปัญหาขาดแคลนน้ำกิน น้ำใช้ เนื่องจากคุณสมบัติของดินในภูมิภาคนี้เป็นดินร่วนปนทราย ไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงไม่สามารถเก็บน้ำได้ดีเท่าที่ควร 3.ช่วยในการแก้ปัญหาคุณภาพน้ำ 4.เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ 5.ป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม 6.ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิตติ์ ในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาพระราชทานแนวความคิด (มีต่อ) ในการวิจัยพัฒนาฝนหลวงเพื่อการเกษตาหลายประการคือ ประการแรกสร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน ซึ่งได้มีการทดลองและทำการผลิตจรวดเชิงอุตสาหกรรม ประการที่สองคือ การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงกระจายออกเข้าสู่ฐานก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมเหนือยอดเขาสามารถรวมตัวกันหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงมาสู่บริเวณภูเขาเหนือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา ประการที่3 การทำฝนในเมฆที่เย็นจัด (Super Cooled Cloud) โดยใช้สารเคมีที่ทำให้เกิดฝนในกลุ่มที่เย็นจัด (พื้นที่ที่อยู่สูงเกิน 18,000 ฟุต) เพื่อเป็นตัวเกิดหรือเร่งเร้ากระตุ้นกลไกของการเกิดผลึกน้ำแข็งในกลุ่มก้อนเมฆขึ้น


SCI-TECH.
ฝนหลวง.
ฝนเทียม.
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.