แนวทางแก้ปัญหาขยะของ กทม.

ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้น มนุษย์ได้ทำกิจกรรมมากมายที่ก่อให้เกิดวัสดุที่เหลือใช้ และไม่เป็นที่ต้องการของมนุษย์ นั่นคือ "ขยะ" หรือ "มูลฝอย" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันสภาพสังคมไทยได้พัฒนาการกินอยู่ที่ดีขึ้น การบริโภคสินค้าสูงขึ้น การผลิตก็สูงขึ้น ก่อให้เกิดขยะปริมาณมาก ปัญหาขยะจึงเป็นปัญหาใหญ่ของเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ ซึ่งจากข้อมูลจากสำนักรักษาความสะอาด รายงานว่าในปี พ.ศ. 2540 กรุงเทพมหานครมีขยะประมาณ 8,500-9,000 ตันต่อวัน (มีต่อ) มาตรการลดปริมาณขยะของ กทม. ได้เริ่มรณรงค์ลดปริมาณขยะ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 8 ปี แล้ว โดยขณะนี้ได้ใช้มาตรการชะลอการเพิ่มปริมาณมูลฝอย 3 วิธีคือ 1.ลดการเกิดขยะมูลฝอย 2.การนำกลับไปผลิตใหม่ 3.การคัดแยกมูลฝอย สำหรับการเตรียมการเพื่อรองรับแผนระยะยาวในอนาคตที่มากกว่า 10 ปี หรือ 20-30 ปีข้างหน้านั้น กรุงเทพมหานคร ได้เตรียมระบบที่สามารถรองรับการกำจัดขยะได้ระยะยาว เช่น 1.โครงการก่อสร้างศูนย์ป้องกันและแก้ไขปัญหามูลฝอย และส่งเสริมสิ่งแวดล้อม 2.โครงการก่อสร้างศูนย์ป้องกันและการแก้ไขปัญหาขยะและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม (มีต่อ) ในการลดปริมาณขยะในชุมชนอย่างกรุงเทพฯ คงต้องเริ่มจากการสร้างนิสัยชาว กทม. ในการเลือกซื้อสินค้าผลิตภัณฑ์ที่เกิดขยะน้อยที่สุด หรือถ้าขยะที่เกิดขึ้นยังสามารถนำมาใช้ได้อย่าง กระดาษ กล่อง ควรนำมาใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ก่อนที่จะนำไปทิ้ง ไม่ว่าแนวทางปฏิบัติจะออกมาในรูปแบบใด ชาวกรุงเทพฯก็คงต้องร่วมกันรับผิดชอบ ช่วยกันแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน และส่วนที่ตนมีส่วนร่วม และคงต้องติดตามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาขยะของทางกรุงเทพมหานครต่อไป


SCI-TECH.
ขยะ.
อนามัยสิ่งแวดล้อม--การวางแผน.
นโยบายสิ่งแวดล้อม.