TY - SER AU - สมปอง เตชะโต. AU - วิทยา พรหมมี. TI - การชักนำการกลายพันธุ์มังคุด : ผลของสิ่งก่อกลายพันธุ์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีและเนื้อเยื่อวิทยา KW - ชีวเคมี KW - มังคุด KW - เนื้อเยื่อพืช, การเพาะเลี้ยง KW - SCI-TECH N2 - นำแคลลัสที่ชักนำจากใบอ่อนสีม่วงแดงของมังคุดซึ่งเพาะเลี้ยงในหลอดทดลองมาฉายรังสีแกมมาและจุ่มแช่สารเคมีก่อกลายพันธุ์เอทชิลมีเธนซัลโฟเนต (EMS) ความเข้มข้นต่างๆ นำแคลลัสที่ผ่านการให้สิ่งก่อกลายพันธุ์ทั้งสองมาตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทางเนื้อเยื่อวิทยา และชีวเคมีเพื่อหาความเข้มข้นที่เหมาะสมต่อการชักนำการกลายพันธุ์ในมังคุด จากการศึกษาพบว่าแคลลัสที่ได้รับรังสีแกมมา 40 เกรย์ 2 ครั้ง มีจำนวนชั้น ของเซลอิฟิเดอมีสที่เกิดความเสียหายมากกว่าความเข้มข้นอื่นๆ ในขณะที่การใช้ EMS 0.50% เป็นเวลา 30 และ60 นาที ส่งผลให้เกิดความเสียหายชั้นของเซลล์อิฟิเดอมีสน้อยกว่า แต่เซลล์อิฟิเดอมีสชั้นแรกเกิดความเสียหายรุนแรงมากกว่า สำหรับแคลลัสที่ได้รับทั้งการฉายรังสีแกมมา 40 เกรย์2ครั้ง ร่วมกับการจุ่มแช่ EMS ความเข้มข้นและเวลาข้างต้น ส่งผลให้จำนวนชั้นของเซลล์อิฟิเดอมีสที่เสียหายมากกว่าการให้รังสีแกมมาและ EMS เพียงอย่างเดียว ระบบเอนไซม์เปอร์ออกซิเดทมีความเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้ตรวจสอบการกลายพันธุ์ของใบจากต้นมังคุดชั่วที1 และแคลลัสที่พัฒนาจากใบของต้นชั่ว1ทุกระดับความเข้ม ความแตกต่างของเอนไซม์เปอร์ออกซิเดส ระหว่างสิ่งก่อกลายพันธุ์ทั้งสองที่ตรวจพบมีทั้งรูปแบบ และความเข้มของไซโมกกรม แสดงว่า EMS ความเข้มข้น 0.5-1.0% และรังสีแกมมาความเข้ม 5-10เกรย์ สามารถชักนำการกลายพันธุ์จากแคลลัสมังคุดได้ ER -