TY - SER AU - ปิยรัตน์ เขียนมีสุข. AU - ศิริณี พูนไชยศรี. TI - การแก้ไขปัญหา เพลี้ยไฟฝ้าย ทำลายกล้วยไม้เพื่อการส่งออกไปสหภาพยุโรป KW - กล้วยไม้ KW - ศัตรูพืช KW - เพลี้ยไฟ KW - SCI-TECH N2 - การส่งออก ดอกกล้วยไม้ ไปยังสหภาพยุโรป เริ่มประสบปัญหา โดยประเทศฝรั่งเศส ได้เข้มงวด ตรวจดอกกล้วยไม้ จากปรเทศไทย หากพบเพลี้ยไฟฝ้าย ซึ่งเป็นศัตรูสำคัญ ทางกักกัน พืช ของสหภาพยุโรป จะทำการยึดไว้ แล้วเผาทำลาย ปัญหาดังกล่าว เริ่มทวีความรุนแรง พร้อมๆกับประเทศอื่นๆ (มีต่อ); ในสหภาพยุโรป เริ่มเข้มงวด ในการตรวจ ดอกกล้วยไม้ จากประเทศไทย มากขึ้น เพลี้ยไฟฝ้าย เป็นแมลงขนาดเล็ก มีลำตัวยาวประมาณ 0.8-1.0 มิลลิเมตร รูปร่างเรียวยาว ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย มีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก จัดอยู่ในอันดับ Thysanoptera วงศ์ Thripidae (มีต่อ); จากการศึกษา ด้านชีววิทยา พบว่าการเจริญเติบโต ของเพลี้ยไฟชนิดนี้ ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ คือ มีวงจรชีวิตสั้นเพียง 14 วัน ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส และนานถึง 45 วัน ที่อุณหภูมิ 15 องศาเซลเซียส แต่ไม่สามารถ เจริญเติบโตได้ ในอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส ดังนั้น สภาพภูมิอากาศ ในประเทศไทย จึงเหมาะสมต่อ การแพร่ระบาด (มีต่อ); และขยายพันธุ์ของ เพลี้ยไฟฝ้าย และมักพบระบาดเสมอๆ ในฤดูร้อน การป้องกันกำจัด คือ 1. ก่อนการเก็บเกี่ยว ใช้สารฆ่าแมลง อิมิดาคลอพริด, อะเซทตามิพริด, อะบาเมคติน, ฟิโพรนิล และไซเปอร์เมทริน โดยใช้สารฆ่าแมลง สลับกลุ่มกัน โดยแต่ละกลุ่ม พ่นติดต่อกันไม่ควรเกิน 3ครั้ง เพื่อป้องกันการสร้าง (มีต่อ); ความต้านทาน ต่อสารฆ่าแมลง ของเพลี้ยไฟด้วย ช่วงพ่น 5-7วัน อัตราการพ่นสาร 200ลิตร/ไร่ 2. การป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟ หลังการเก็บเกี่ยว มีความสำคัญมาก ทั้งนี้จะต้องไม่ให้ เพลี้ยไฟที่มีชีวิต ติดไปกับดอกกล้วยไม้ ซึ่งมาตรการหนึ่ง ที่ทางสหภาพยุโรป ได้กำหนด คือ ดอกกล้วยไม้ ที่จะส่งออกนั้น จะต้องผ่านการรมด้วย เมทธิลโปรโมค์ เพื่อป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟ ER -