TY - SER AU - สุเทพ สหายา. TI - การทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลง ป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟหม่อน ในสภาพไร่ KW - เพลี้ยไฟหม่อน KW - วิจัย KW - แมลง KW - การควบคุม KW - แมลงศัตรูพืช KW - SCI-TECH N2 - เพลี้ยไฟหม่อน Pseudodendrothrip ornatissimus Schmutz เป็นแมลง ศัตรูพืช ที่สำคัญของหม่อน ในประเทศไทย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ของเพลี้ยไฟหม่อน จะดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบ ขณะเดียวกัน จะปล่อยสารพิษา เข้าสู่ใบหม่อน ทำให้ใบมีคุณภาพต่ำ ไม่เหมาะสม ในการนำไปเลี้ยงไหม หรืออุตสาหกรรม ผลิตชาหม่อน (มีต่อ); ได้ทำการทดสอบ ประสิทธิภาพ ของสารฆ่าแมลงบางชนิด ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟหม่อน โดยดำเนินการ ทดลองที่ ศูนย์วิจัยหม่อนไหม อุดรธานี ในปี 2540 วางแผน การทดสอบแบบ RCB 3ซ้ำ มี 7กรรมวิธี คือ carbosuifan [Posse 20% EC], fipronil (Ascend 5%8 SC] (มีต่อ); imidacloprid [Admire 5% EC), dichlorvos [terra 50% EC), สารสกัดจากสะเดา [0.1% azadirachtin] และ monocrotophos [Azodrin 60% WSE] ในอัตรา 30,10,10,20,100 และ 20 ม.ล. ต่อน้ำ 20 ลิตร ตามลำดับ และไม่ใช้ สารฆ่าแมลง หลังจากพ่นสาร 7วัน พบว่า fipronil , carbosulfan (มีต่อ); และสารสกัดจากสะเดา มีจำนวน เพลี้ยไฟ เฉลี่ยไม่แตกต่าง จากสาร monocrotophos ซึ่งเป็นสาร มาตรฐาน เปรียบเทียบ ส่วนสาร imidacloprid และ dichlorvos มีจำนวนเพลี้ยไฟเฉลี่ย ไม่แตกต่าง จากกรรมวิธี ไม่พ่นสาร เมื่อประเมินผล ประสิทธิภาพ ในการป้องกันกำจัด (มีต่อ); พบว่า monocrotophos ให้ประสิทธิภาพสูงสุดคือ 86.99% รองลงมาได้แก่ fipronil 72.10% และสารสกัดจากสะเดา 65.23% ส่วน carbosulfan,imidacloprid และ dichllorvos ให้ประสิทธิภาพ ในการป้องกัน กำจัดต่ำกว่า 50% ER -