TY - SER AU - พจมาลย์ สุรนิลพงศ์. AU - สมปอง เตชะโต. TI - ผลของไซโตไคนินต่อการเลี้ยงเซลล์ซัสเพนชัน การแยกโปรโตพลาสต์ของยาพารา KW - SCI-TECH KW - ยางพารา KW - วิจัย N2 - การศึกษาการเจริญเติบโตเซลล์ของเซลล์ซัสเพนชันยางพาราในอาหารสูตร MS เติมน้ำตาลซูโครส 3% 2,4-D เข้มข้น 0.5-1 มก./ล.และไซโตไคนิน 2 ชนิด คือ เบนซิลอะดินีน (BA) เข้มข้น 1.0 มก./ล. หรือไธไดอะซูรอน (TDZ) เข้มข้น 0.25 มก./ล. เป็นเวลา 30 วัน นำเซลล์ซัสเพนชันอายุต่างๆ หลังการย้ายเลี้ยงในอาหารทั้ง 2 ชุดนี้มาใช้แยกโปรโตพลาสต์ โดยใช้เอนไซม์เซลลูเลสโอโนซูกะอาร์เอส 1% และมาเซอโรไซม์อาร์ 10 เข้มข้น 1% เอนไซม์ทั้งสองละลายในแมนนิทอลเข้มข้น 0.4 โมลาร์ และเมส 3 มิลลิโมลาร์ พบว่าอาหารเต็ม TDZ ส่งเสริมการเพิ่มปริมาตรตะกอนเซลล์ได้ดีกว่า BA (มีต่อ); ทุกระยะเวลาที่เลี้ยง เซลล์ซัสเพนชันที่เลี้ยงในอาหารเติมTSZ มีระยะ log phase ในช่วง 16-24 วัน ส่วนอาหารเติม BA ไม่สามารถบอกระยะดังกล่าวได้ชัดเจน สำหรับการแยกโปรโตพลาสต์นั้น พบว่าซัสเพนชันที่เลี้ยงในอาหารเติม TDZ ให้จำนวนโปรโตพลาสต์สูงกว่าซัสเพนชันที่ดูแลในอาหารเติม BA ทุกระยะเวลาของการเลี้ยง โดยซัสเพนชันอายุ 10 วัน ให้จำนวนโปรโตพลาสต์สูงสุด 2.56 x 10 (ยกกำลัง 7) โปรโตพลาสต์/มล. เมื่อนำโปรโตพลาสต์ที่แยกได้จากซัสเพนชันเซลล์อายุ 7-10 วัน ฝังเลี้ยงในอาหาร MS ทำให้แข็งโดยเติมวุ้น ไฟต้าเจลปรับความดันออสโมติคด้วยแมนนิทอล 0.4 M และเติม TDZ เข้มข้น 0.1 มก./ล. ร่วมด้วย 2,4-D เข้มข้น 1.0 หรือ 2.0 มก./ล.สามารถชักนำการแบ่งเซลล์ให้ไมโคโลนี ที่ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ประมาณ 8-10 เซลล์ ER -