TY - SER AU - ชำนาญ พิทักษ์. TI - หนอนกอเจาะลำต้นอ้อย KW - SCI-TECH KW - อ้อย KW - ศัตรูพืช N2 - หนอนกอเจาะลำต้นอ้อย ที่พบในประเทศไทยมี 5ชนิด คือ หนอนกอลายจุดเล็ก, หนอนกอสีชมพู, หนอนกอสีขาว หนอนกอลายใหม่ หนอนกอลายจุดใหญ่ ปรากฎว่าหนอนกอลายจุดใหญ่เป็นแมลงศัตรูสำคัญในระยะอ้อยเป็นลำมากกว่าชนิดอื่นๆ เข้าทำลายอ้อยระหว่างอายุ 5-12 เดือน พบในอ้อยปลูกมากกว่าอ้อยตอ การเข้าทำลายของหนอนกอลายจุดใหญ่จะอยู่เป็นกลุ่มกลุ่มละ 30-370 ตัว/ต้น ซึ่งจะมีการทำลายเป็น 2ลักษณะ คือ พบหนอนอยู่ในลำต้นอ้อยมาก 30-370 ตัว/ต้น และพบหนอนเพียง 4-6 ตัว/ต้น (มีต่อ); ลักษณะภายนอกที่เห็นจะมีรูพรุนที่ลำต้น ปัจจัยที่สำคัญในการควบคุมประชากรของหนอนกอลายจุดใหญ่คือ ปริมาณน้ำฝน ส่วนแตนเบียนหนอน เชื้อแบคทีเรียและแมลงหางหนีบนั้นเป็นส่วนที่ช่วยเสริมในการควบคุมประชากรของหนอนกอลายจุดใหญ่ ในปี 2542 หนอนกอลายจุดใหญ่ได้ระบาด 3จังหวัด คือ สุพรรณบุรี อุดรธานีและบุรีรัมย์ โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์มีพื้นที่การระบาดปริมาณ 10,000ไร่ และอ้อยที่ปลูกเป็นอ้อยพันธุ์มากอส ซึ่งเป็นพันธุ์ที่หนอนชอบ การป้องกันกำจัดหนอนกอลายจุดใหญ่ คือ (มีต่อ); 1.การป้องกันกำจัดโดยวิธีกล โดยการตัดอ้อยที่ถูกหนอนทำลายทิ้งและกำจัดหนอนที่อยู่ในลำต้น 2.การใช้แตนเบียนไข่และแตนเบียนหนอน ซึ่งในธรรมชาติมีอยู่แล้ว 3.การใช้พันธุ์ที่มีแนวโน้มการต้านทาน 4.การใช้สารฆ่าแมลง ฉะนั้นเกษตรกรควรหมั่นตรวจดูแปลงอยู่เสมอ ถ้าพบการเข้าทำลายของหนอนกอลายจุดใหญ่ ที่เริ่มระบาดให้ทำลายเสีย เพื่อตัดวงจรการระบาด แต่ถ้าพบการระบาดมากไม่สามารถที่จะตัดทำลายได้ทันให้ใช้แตนเบียนเข้าไปช่วย (มีต่อ); ประการสุดท้าย ถ้าไม่สามารถหยุดการระบาดได้จำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลง ให้ใช้เครื่องพ่นสารที่มีแรงดันน้ำสูงเพื่อฉีดเข้าไปในแปลงทดลองได้ เพราะว่าอ้อยอยู่ในระยะเป็นลำ ไม่สามารถเข้าไปพ่นในแปลงอ้อยได้ แต่ถ้ามีฝนตกมากหนอนกอลายจุดใหญ่จะตายโดยถูกเชื้อแบคทีเรียเข้าทำลาย ER -