TY - SER AU - ชาติบุตร บุณยะจิตติ. TI - ทรงกู้วิกฤตภัยแห้ง 42 KW - ฝนหลวง KW - โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ KW - SCI-TECH N2 - โครงการปฏิบัตการทำฝนเทียมในประเทศไทย ก่อกำเนิดมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตั้งแต่ปี พ.ศ 2499 คราวที่เสด็จผ่านอำเภอสาหัสสาขัน จังหวัดกาฬสินธุ์ ขณะนั้นพระองค์ทรงสังเกตเห็นบนท้องฟ้ามีเมฆมาก พื้นดินแห้งแล้งฝนฟ้ากระจาย จึงมีพระราชดำริที่จะ(มีต่อ); ดึงก้อนเมฆเหล่านั้นให้ตกลงมาเป็นฝน นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงมีการศึกษาค้นวิธีต่างๆ เพื่อทำฝนเทียม โดยโปรดเกล้าให้ ม.ร.ว เทพฤทธิ์ เทวกุล ทำการศึกษาค้นคว้าการทำฝนเทียม จนกระทั้งใช้เวลา 12 ปี ในปี พ.ศ 2512 จึงมีการปฏิบัติการจริงครั้งแรก(มีต่อ); ที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา แต่ผลยังไมม่เป็นที่น่าพอใจ ต่อมาย้ายไปทดลองที่สนามบินบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2512 เป็นต้นมา ด้วยเห็นนว่าเป็นที่ๆเหมาะสม เพราะมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกัน ทั้งที่ราบภูเขาและทะเล(มีต่อ); ไม่ต้องเกรงอุทกภัย เนื่องจากผลการทดลอง เพราะสามารถระบายน้ำได้รวดเร็ว ในครั้งนี้ผลการทดลองประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ และการปฏิบัติทำฝนหลวง ครั้งล่าสุด คือในวันที่ 28 - 29 - 30 มกราคม 2542 โดยใช้พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ เป็นฐานปฏิบัติการ โดยมีวัตถุประสงค์(มีต่อ); เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ และขจัดปัญหาภัยแห้งในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งผลครั้งนี้เป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง ขั้นตอนในการทำฝนเทียมนั้นมี 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวแนวตั้ง การปฏิบัติฝนเทียม(มีต่อ); ขั้นตอนนี้จะมุ่งใส่สารเคมีไปกระตุ้นให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดการชักนำไอน้ำ หรือนำความชื้นเข้าสู่ก้อนเมฆ ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน เป็นระยะที่ทำต่อเนื่องจากตอนที่ 1 เป็นระยะที่สำคัญ เพราะต้องเตรียมพลังงานให้แก่ up draft (มีต่อ); มากขึ้นเพื่อสร้างความสมดุลของละอองเมฆ มิให้สลายตัว ขั้นตอนที่ 3 โจมตี เป็นขั้นตอนสุดท้าย จากกลุ่มเมฆมีความหนาแน่น มากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ก็จะไปเร่งบังคับให้ตกตรงพื้นที่เป้าหมายเป็นการเพิ่ม (มีต่อ); ปริมาณฝนตก จากฝนเทียมในวันนั้นมักเรียกชื่อติดปากกันว่า ฝนหลวงและในวาระโอกาสที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา เป็นปีที่การทำฝนหลวง เป็นปีที่ 42 อีกด้วย ER -