บทบาทห้องสมุดมหาวิทยาลัยในยุคปฏิรูปการศึกษา / บงกช ศิริวัฒนมงคล

By: บงกช ศิริวัฒนมงคลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): การปฏิรูปการศึกษา | ห้องสมุดกับการศึกษา | ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา In: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ มข ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2544) หน้า 1-9Summary: บทบาทในขั้นต้นของห้องสมุดในระบบโครงสร้างทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ได้มีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับต่างๆ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต (มีต่อ)Summary: โดยการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ 1.เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน 2.ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3.การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง การจัดการเรียนได้เปลี่ยนไปจากเดิม ห้องสมุดซึ่งเป็นแหล่งสนับสนุนการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบจึงต้องปรับบทบาทให้ทันกับสภาวะการณ์ของความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ (มีต่อ)Summary: ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทการให้บริการที่มีความหลากหลาย และมีบทบาทเชิงรุกเข้าสู่แวดวงวิชาการมากยิ่งขึ้น บทบาทของห้องสมุดยุคใหม่มีหลากหลายอาทิเช่น 1.ด้านบริหาร 2.ด้านเทคนิค และ3.ด้านบริการ ซึ่งบทบาททั้ง 3 ด้านนี้ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดในลักษณะที่เป็นทีมงานไม่เฉพาะแต่สร้างทีมงานในหน่วยของห้องสมุดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานร่วมกับส่วนอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย (มีต่อ)Summary: เนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องปรับทั้งองค์กรรวม หากห้องสมุดมุ่งที่จะพัฒนาโดยไม่ทราบถึงความต้องการของส่วนอื่นๆ ก็คงเป็นเพียงการพัฒนาไปในด้านเดียว นอกจากนี้ยังต้องติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาพเศรษฐกิจสังคม เพื่อนำมาพัฒนาบริการของห้องสมุดให้เหมาะสมต่อไป
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

บทบาทในขั้นต้นของห้องสมุดในระบบโครงสร้างทางวิชาการของมหาวิทยาลัย ได้มีการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับต่างๆ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต (มีต่อ)

โดยการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้ 1.เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน 2.ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3.การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง การจัดการเรียนได้เปลี่ยนไปจากเดิม ห้องสมุดซึ่งเป็นแหล่งสนับสนุนการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบจึงต้องปรับบทบาทให้ทันกับสภาวะการณ์ของความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ (มีต่อ)

ได้ปรับเปลี่ยนบทบาทการให้บริการที่มีความหลากหลาย และมีบทบาทเชิงรุกเข้าสู่แวดวงวิชาการมากยิ่งขึ้น บทบาทของห้องสมุดยุคใหม่มีหลากหลายอาทิเช่น 1.ด้านบริหาร 2.ด้านเทคนิค และ3.ด้านบริการ ซึ่งบทบาททั้ง 3 ด้านนี้ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดในลักษณะที่เป็นทีมงานไม่เฉพาะแต่สร้างทีมงานในหน่วยของห้องสมุดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการทำงานร่วมกับส่วนอื่นๆ ในมหาวิทยาลัย (มีต่อ)

เนื่องจากการปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องปรับทั้งองค์กรรวม หากห้องสมุดมุ่งที่จะพัฒนาโดยไม่ทราบถึงความต้องการของส่วนอื่นๆ ก็คงเป็นเพียงการพัฒนาไปในด้านเดียว นอกจากนี้ยังต้องติดตามความเคลื่อนไหวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาพเศรษฐกิจสังคม เพื่อนำมาพัฒนาบริการของห้องสมุดให้เหมาะสมต่อไป