10 ปีแห่งการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนลุ่มแม่น้ำมูล / นิติกานต์ สุกิน

By: นิติกานต์ สุกินCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | แม่น้ำมูล In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 123 (ธันวาคม 2542) หน้า16 - 21Summary: โครงการธรรมชาติยาตราเพื่อแม่น้ำมูลเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนถึง 12 ธันวาคม เพื่อรณรงค์เผยแพร่ รวบรวมสภาพปัญหา ปลุกจิตสำนึก ระดมพลังคนในท้องถิ่นและเสนอทางเลือกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มแม่น้ำมูล โดยบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาทางสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดีของความเป็นแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำมูล นอกจากนี้จัดทำขึ้นเพื่อเสนอแนะทางออกของปัญหาที่คนลุ่มน้ำมูลต้องเผชิญกันอยู่ หาทางช่วยเหลือคนที่กำลังเดือดร้อน (มีต่อ)Summary: จากปัญหาที่เขื่อนปากมูลและเขื่อนสิรินธรถึง 2,400 ครอบครัว ซึ่งขณะนี้รัฐขาดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของคนอีสาน ที่เป็นดินแดนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้ เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องมองทางเลือกซึ่งที่เห็นคือ รักษาแม่น้ำลำคลองให้เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่ยิ่งใหญ่ หลายแห่งในลุ่มน้ำมูลอาจเคลื่อนย้ายคนที่ไร้ที่อยู่ไปหาที่อยู่ใหม่ในลุ่มน้ำสงคราม เพราะมีสภาพภูมิประเทศใกล้เคียงกันคือ มีป่าบุ่ง ป่าทาม และพันธ์ปลามาก แต่กำลังจะสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร (มีต่อ)Summary: เพราะเขตลุ่มน้ำสงครามไม่เคยขาดแคลนน้ำ หากจะเวนคืนที่ดินตรงนั้นก็เอามาให้ 2,400 ครอบครัว ไปตั้งถิ่นฐานทำประมงน้ำจืดแบบเดิม เพราะคือชีวิตที่ผ่านมาของพวกเขา นี่คือการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม อีกทางเลือกหนึ่งคือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย กำหนดให้เป็นเขตท่องเที่ยวระดับโลก หากเปิดทางเลือกที่ดีแล้ว การท่องเที่ยวแบบนี้จะเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นถ้ามีการจัดการที่ดี
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โครงการธรรมชาติยาตราเพื่อแม่น้ำมูลเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนถึง 12 ธันวาคม เพื่อรณรงค์เผยแพร่ รวบรวมสภาพปัญหา ปลุกจิตสำนึก ระดมพลังคนในท้องถิ่นและเสนอทางเลือกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มแม่น้ำมูล โดยบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาทางสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ โบราณคดีของความเป็นแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำมูล นอกจากนี้จัดทำขึ้นเพื่อเสนอแนะทางออกของปัญหาที่คนลุ่มน้ำมูลต้องเผชิญกันอยู่ หาทางช่วยเหลือคนที่กำลังเดือดร้อน (มีต่อ)

จากปัญหาที่เขื่อนปากมูลและเขื่อนสิรินธรถึง 2,400 ครอบครัว ซึ่งขณะนี้รัฐขาดความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติของคนอีสาน ที่เป็นดินแดนที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมได้ เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องมองทางเลือกซึ่งที่เห็นคือ รักษาแม่น้ำลำคลองให้เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่ยิ่งใหญ่ หลายแห่งในลุ่มน้ำมูลอาจเคลื่อนย้ายคนที่ไร้ที่อยู่ไปหาที่อยู่ใหม่ในลุ่มน้ำสงคราม เพราะมีสภาพภูมิประเทศใกล้เคียงกันคือ มีป่าบุ่ง ป่าทาม และพันธ์ปลามาก แต่กำลังจะสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไร (มีต่อ)

เพราะเขตลุ่มน้ำสงครามไม่เคยขาดแคลนน้ำ หากจะเวนคืนที่ดินตรงนั้นก็เอามาให้ 2,400 ครอบครัว ไปตั้งถิ่นฐานทำประมงน้ำจืดแบบเดิม เพราะคือชีวิตที่ผ่านมาของพวกเขา นี่คือการแก้ไขที่เป็นรูปธรรม อีกทางเลือกหนึ่งคือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย กำหนดให้เป็นเขตท่องเที่ยวระดับโลก หากเปิดทางเลือกที่ดีแล้ว การท่องเที่ยวแบบนี้จะเป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นถ้ามีการจัดการที่ดี