200 ปี พระบรมราชสมภพ พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย / นิสากร ปานประสงค์

By: นิสากร ปานประสงค์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411 | SCI-TECH | นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น | บุคคลสำคัญ -- ไทย In: อัพเดท ปีที่ 19 ฉบับที่ 205 (ตุลาคม 2547) หน้า 34-39Summary: พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์มีความสนพระทัยในเทคโนโลยีการพิมพ์ เพราะเทคโนโลยีจะช่วยขยายขอบเขตความรู้ และพระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเป็นแห่งแรกที่วัดบวรนิเวศวิหาร สำหรับสาเหตุที่ทำให้พระองค์ได้เป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยก็เพราะพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงพาดผ่านทางใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานของไทยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยประกาศใช้ก่อนที่มีการตกลงการใช้เวลามาตรฐานกรีนิช พระองค์ทรงทำคุณประโยชน์ต่อชาติ รักษาบ้านเมืองให้พ้นจากมหาอำนาจตะวันตก และทรงปรับปรุงประเทศให้มีความทันสมัยโดยใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมในหลายด้าน พร้อมกับปกป้องวัฒนธรรมไทย ด้วยการสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงระบบการศึกษาในพระพุทธศาสนา และมีพระราชอุตสาหะที่จะลบล้างความเชื่อที่งมงายไร้เหตุผล และให้โอกาสทางการศึกษาแก่สังคมอย่างกว้างขวาง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์มีความสนพระทัยในเทคโนโลยีการพิมพ์ เพราะเทคโนโลยีจะช่วยขยายขอบเขตความรู้ และพระองค์ได้ทรงจัดตั้งโรงพิมพ์ขึ้นเป็นแห่งแรกที่วัดบวรนิเวศวิหาร สำหรับสาเหตุที่ทำให้พระองค์ได้เป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยก็เพราะพระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงพาดผ่านทางใต้ของประเทศไทย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานของไทยอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ โดยประกาศใช้ก่อนที่มีการตกลงการใช้เวลามาตรฐานกรีนิช พระองค์ทรงทำคุณประโยชน์ต่อชาติ รักษาบ้านเมืองให้พ้นจากมหาอำนาจตะวันตก และทรงปรับปรุงประเทศให้มีความทันสมัยโดยใช้วิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมในหลายด้าน พร้อมกับปกป้องวัฒนธรรมไทย ด้วยการสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงระบบการศึกษาในพระพุทธศาสนา และมีพระราชอุตสาหะที่จะลบล้างความเชื่อที่งมงายไร้เหตุผล และให้โอกาสทางการศึกษาแก่สังคมอย่างกว้างขวาง