แบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนได้เวลาใช้ไม้อย่างมั่นใจหรือยัง / อิทธิฤทธิ์ ประคำทอง

By: อิทธิฤทธิ์ ประคำทองCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การจัดการป่าไม้ | ไทย -- นโยบายป่าไม้ In: โลกสีเขียว ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 (พฤศจิกายน - ธันวาคม 2542) หน้า 10-11Summary: ในการที่ต่างประเทศจะซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ของประเทศไทย นอกจากเขาจะต้องมาหาตรารับประกันสินค้าว่าไม้ที่นำมาผลิตนั้นผ่านระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (Sustainable Forest Management Systems) หรือไม่ ความสนใจอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติเกี่ยวกับมาตรฐานใหม่นี้ มีที่มาจากการตกลงร่วมกันของบรรดาผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลกในปี 2535 เรียกว่า Agenda โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้นั้นกำหนดว่า ต้องรักษาพื้นที่ป่าธรรมชาติ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ เร่งรัดการ เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศโลกและรักษาสิ่งแวดล้อมโลก ตลอดจนเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้บนพื้นฐานของความยั่งยืนที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต (มีต่อ)Summary: หลังจากนั้นรัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศ ได้นำข้อตกลงดังกล่าวไปดำเนินการในระดับชาติ รัฐบาลประเทศเหล่านั้นมีนโยบายสนับสนุนให้สั่งซื้อสินค้าที่ทำจากผลิตผลป่าไม้ ซึ่งได้รับมาตรฐานระบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนเท่านั้น ส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนทัศนคติในการเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตจากไม้ แม้ว่าราคาของสินค้าเหล่านั้น จะสูงกว่าผลิตภัณฑ์ไม้ที่ไม่มีการรับรองก็ตาม อย่างไรก็ดี มีการกำหนดการรับรองด้านการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนขึ้นมาหลายระบบ โดยระบบที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป คือ FSC (Forest Stewardship Council) ซึ่งยังไม่มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับไม้หรือเจ้าของสวนป่าในประเทศไทย ได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC (มีต่อ)Summary: หากเปรียบเทียบเกี่ยวกับประเทสเพื่อนบ้านจะเห็นได้ชัดว่าประเทศไทย เคลื่อนไหวในเรื่องนี้ช้ากว่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และลาว ซึ่งมีผู้ที่ได้รับมาตรฐานระบบนี้ไปแล้ว นอกจากระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนของ FSC แล้ว สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สทอ.) ยังได้เตรียมออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน "มอก. 14060" เพื่อเตรียมความพร้อมกรณีที่ต่างประเทศอาจจะนำระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน มาเป็นข้อกีดกัดทางการค้าในอนาคต รวมทั้งมีแนวโน้มว่าองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) อาจจะประกาศ กำหนดมาตรฐานระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ทำนองเดียวกับที่ได้ประกาศมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO 9000) และมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO14000) เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศมาแล้ว
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ในการที่ต่างประเทศจะซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้ของประเทศไทย นอกจากเขาจะต้องมาหาตรารับประกันสินค้าว่าไม้ที่นำมาผลิตนั้นผ่านระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (Sustainable Forest Management Systems) หรือไม่ ความสนใจอย่างกว้างขวางในระดับนานาชาติเกี่ยวกับมาตรฐานใหม่นี้ มีที่มาจากการตกลงร่วมกันของบรรดาผู้นำประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมโลกในปี 2535 เรียกว่า Agenda โดยส่วนที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้นั้นกำหนดว่า ต้องรักษาพื้นที่ป่าธรรมชาติ รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ เร่งรัดการ เพิ่มพื้นที่ป่าไม้ เพื่อช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากบรรยากาศโลกและรักษาสิ่งแวดล้อมโลก ตลอดจนเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรป่าไม้บนพื้นฐานของความยั่งยืนที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งความต้องการทั้งในปัจจุบันและอนาคต (มีต่อ)

หลังจากนั้นรัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศ ได้นำข้อตกลงดังกล่าวไปดำเนินการในระดับชาติ รัฐบาลประเทศเหล่านั้นมีนโยบายสนับสนุนให้สั่งซื้อสินค้าที่ทำจากผลิตผลป่าไม้ ซึ่งได้รับมาตรฐานระบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนเท่านั้น ส่งผลให้ผู้บริโภคเปลี่ยนทัศนคติในการเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตจากไม้ แม้ว่าราคาของสินค้าเหล่านั้น จะสูงกว่าผลิตภัณฑ์ไม้ที่ไม่มีการรับรองก็ตาม อย่างไรก็ดี มีการกำหนดการรับรองด้านการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนขึ้นมาหลายระบบ โดยระบบที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป คือ FSC (Forest Stewardship Council) ซึ่งยังไม่มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับไม้หรือเจ้าของสวนป่าในประเทศไทย ได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC (มีต่อ)

หากเปรียบเทียบเกี่ยวกับประเทสเพื่อนบ้านจะเห็นได้ชัดว่าประเทศไทย เคลื่อนไหวในเรื่องนี้ช้ากว่า อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม และลาว ซึ่งมีผู้ที่ได้รับมาตรฐานระบบนี้ไปแล้ว นอกจากระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนของ FSC แล้ว สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สทอ.) ยังได้เตรียมออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน "มอก. 14060" เพื่อเตรียมความพร้อมกรณีที่ต่างประเทศอาจจะนำระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน มาเป็นข้อกีดกัดทางการค้าในอนาคต รวมทั้งมีแนวโน้มว่าองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) อาจจะประกาศ กำหนดมาตรฐานระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืนเป็นมาตรฐานระหว่างประเทศ ทำนองเดียวกับที่ได้ประกาศมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ (ISO 9000) และมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO14000) เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศมาแล้ว