กองทุน SEMs แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ / สามารถ ยามันสมีดี, อ้อย พันธเดช, จุฑาทิพย์ ปาละ

By: สามารถ ยามันสมีดีContributor(s): อ้อย พันธเดช | จุฑาทิพย์ ปาละCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ธุรกิจ SME | ภาวะเศรษฐกิจ -- ปัญหา | ภาวะเศรษฐกิจ -- ไทย | SCI-TECH In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (เมษายน 2542) หน้า 17-19Summary: ประมาณช่วงปลายไตรมาส 3 ของปี 2541 Small & Medium Sized Enterprises หรือ SMEs ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมืองของพรรคการเมืองหลายพรรค ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร และบรรดานักธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่เป็นนักวิชาการได้ให้การสนับสนุนธุรกิจ SMEs ธุรกิจ SMEs เป็นธุรกิจที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน เป็นธุรกิจแบบอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน บริหารงาน แบบระบบครอบครัว ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานที่ทำจากมือ (Hand made) อาทิเช่น เซรามิก ผ้าทอมือ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม เครื่องหนัง ฯลฯ (มีต่อ)Summary: ทำให้ปริมาณในการผลิตค่อนข้างจำกัด คุณภาพในชิ้นงานที่ ออกมาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ความสามารถในการแข่งขัน ด้วย ข้อจำกัดในความเป็นธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก บวกกับ ขาดแรงสนับสนุน เป็นผลทำให้อุตสาหกรรม SMEs ไม่ สามารถก้าวขึ้นสู่ตลาดระดับสากลได้ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม พยายามที่จะผลักดันให้ อุตสาหกรรม SMEs เติบโตต่อไปได้ เพราะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ ในขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่สามารถ สร้างรายได้ให้กับประเทศได้ เพราะพิษภัยทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังได้อนุมัติเงิน 1,000 ล้านบาท (มีต่อ)Summary: ในการจัดตั้งศูนย์ SMEs โดยยึดตามแนวทฤษฎีของญี่ปุ่น ศูนย์ SMEs มีลักษณะเป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร และศูนย์ฝึกอบรม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต จากนั้นจะกระจายไปตามภูมิภาค ทั้ง 4 แห่งของประเทศ คือ ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยสุรนารี และมหาวิทยาลัย ขอนแก่น ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่ และภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา (มีต่อ)Summary: นายสุวัจน์ กล่าวว่า ในการพัฒนาธุรกิจ SMEs นั้นจำเป็นต้องมี เงินสนับสนุน 50,000 ล้านบาท จึงจะเพียงพอต่อจำนวน อุตสาหกรรม และระบบพัฒนาโครงสร้าง ซึ่งกระทรวงการคลัง ได้อนุมัติให้จำนวน 35,000 ล้านบาท ล่าสุดธนาคารกรุงไทย ได้ปล่อยวงเงินสินเชื่ออีก 10,000 ล้านบาท ให้กับอุตสาหกรรม ขนาดย่อม โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องนำเสนอโครงการผ่านมายัง ธนาคารกรุงไทย และต้องเป็นไปตามกรอบที่ทางธนาคารตั้งไว้ ซึ่งขณะนี้ก็มีผู้ประกอบการหลายรายแสดงความจำนง ในการกู้เงินจากสินเชื่อดังกล่าว ในช่วงปลายปี 2541 ตลาดหลักทรัพย์ พยายามที่จะเปิดให้บริษัทขนาดกลาง และขนาดเล็กเข้ามาระดมทุน (มีต่อ)Summary: ในธุรกิจ SMEs แต่การเปิดกระดาน SMEs ก็ได้เลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ทุนจดทะเบียน ความตกต่ำของเศรษฐกิจภายในประเทศ มาตรฐานทางการบัญชียังไม่เป็นสากล บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนไม่เป็นที่รู้จัก ฯลฯ ทำให้การเปิดกระดาน SMEs ต้องเลื่อนออกไปเรื่อยๆ ซึ่งท้ายสุด นายสิงห์ ตังทัตสวัสดิ์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ได้เปิดเผยว่า หากยังไม่พร้อมตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเลื่อนการ เปิดกระดาน SMEs ออกไปแบบเดือนต่อเดือน (มีต่อ)Summary: ในช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลให้การสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจ SMEs 3 ด้าน คือ 1.ส่งเสริมผ่านหน่วยงานของรัฐและเอกชน 2.การจัดสรรเงินทุนเพื่อส่งเสริมธุรกิจ SMEs 3.ส่งเสริมการ ประนอมหนี้ โดยให้เจ้าหนี้ซื้อ-ขาย เปลี่ยนมือธุรกิจ SMEs ที่สถาบันการเงิน เจ้าหนี้ใช้กระบวนการแปลงหนี้เป็นทุน นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริม ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น โดยให้ความคล่องตัว ในด้านภาคการผลิตการส่งออก และการเกษตร ในช่วงต้นปี 2542 ได้มีการรับหลักการร่าง พ.ร.บ. วิสาหกิจส่งเสริมธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งความสำคัญของ พ.ร.บ. นี้ (มีต่อ)Summary: จะสามารถรองรับการส่งเสริมธุรกิจ SMEs ได้ และในส่วนของ หลักการ ร่าง พ.ร.บ. SMEs นั้น จะจัดให้มีกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนและมาตรการจูงใจที่เหมาะสม สำหรับธุรกิจ SMEs ตลอดจนกลไกการทำงานของหน่วยงานปฏิบัติการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ประสานเกื้อกูลกันและเกิดการ ทำงานที่ต่อเนื่องสอดคล้องกันในระยะยาว
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ประมาณช่วงปลายไตรมาส 3 ของปี 2541 Small & Medium Sized Enterprises หรือ SMEs ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมืองของพรรคการเมืองหลายพรรค ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร และบรรดานักธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่เป็นนักวิชาการได้ให้การสนับสนุนธุรกิจ SMEs ธุรกิจ SMEs เป็นธุรกิจที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้าน เป็นธุรกิจแบบอุตสาหกรรมภายในครัวเรือน บริหารงาน แบบระบบครอบครัว ส่วนใหญ่มักจะเป็นงานที่ทำจากมือ (Hand made) อาทิเช่น เซรามิก ผ้าทอมือ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม เครื่องหนัง ฯลฯ (มีต่อ)

ทำให้ปริมาณในการผลิตค่อนข้างจำกัด คุณภาพในชิ้นงานที่ ออกมาไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร ความสามารถในการแข่งขัน ด้วย ข้อจำกัดในความเป็นธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก บวกกับ ขาดแรงสนับสนุน เป็นผลทำให้อุตสาหกรรม SMEs ไม่ สามารถก้าวขึ้นสู่ตลาดระดับสากลได้ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม พยายามที่จะผลักดันให้ อุตสาหกรรม SMEs เติบโตต่อไปได้ เพราะสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ ในขณะที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ไม่สามารถ สร้างรายได้ให้กับประเทศได้ เพราะพิษภัยทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังได้อนุมัติเงิน 1,000 ล้านบาท (มีต่อ)

ในการจัดตั้งศูนย์ SMEs โดยยึดตามแนวทฤษฎีของญี่ปุ่น ศูนย์ SMEs มีลักษณะเป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร และศูนย์ฝึกอบรม โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมมือกับ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ วิทยาเขตรังสิต จากนั้นจะกระจายไปตามภูมิภาค ทั้ง 4 แห่งของประเทศ คือ ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยสุรนารี และมหาวิทยาลัย ขอนแก่น ภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต หาดใหญ่ และภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา (มีต่อ)

นายสุวัจน์ กล่าวว่า ในการพัฒนาธุรกิจ SMEs นั้นจำเป็นต้องมี เงินสนับสนุน 50,000 ล้านบาท จึงจะเพียงพอต่อจำนวน อุตสาหกรรม และระบบพัฒนาโครงสร้าง ซึ่งกระทรวงการคลัง ได้อนุมัติให้จำนวน 35,000 ล้านบาท ล่าสุดธนาคารกรุงไทย ได้ปล่อยวงเงินสินเชื่ออีก 10,000 ล้านบาท ให้กับอุตสาหกรรม ขนาดย่อม โดยผู้ประกอบธุรกิจต้องนำเสนอโครงการผ่านมายัง ธนาคารกรุงไทย และต้องเป็นไปตามกรอบที่ทางธนาคารตั้งไว้ ซึ่งขณะนี้ก็มีผู้ประกอบการหลายรายแสดงความจำนง ในการกู้เงินจากสินเชื่อดังกล่าว ในช่วงปลายปี 2541 ตลาดหลักทรัพย์ พยายามที่จะเปิดให้บริษัทขนาดกลาง และขนาดเล็กเข้ามาระดมทุน (มีต่อ)

ในธุรกิจ SMEs แต่การเปิดกระดาน SMEs ก็ได้เลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ทุนจดทะเบียน ความตกต่ำของเศรษฐกิจภายในประเทศ มาตรฐานทางการบัญชียังไม่เป็นสากล บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนไม่เป็นที่รู้จัก ฯลฯ ทำให้การเปิดกระดาน SMEs ต้องเลื่อนออกไปเรื่อยๆ ซึ่งท้ายสุด นายสิงห์ ตังทัตสวัสดิ์ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ได้เปิดเผยว่า หากยังไม่พร้อมตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเลื่อนการ เปิดกระดาน SMEs ออกไปแบบเดือนต่อเดือน (มีต่อ)

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา รัฐบาลให้การสนับสนุนส่งเสริมธุรกิจ SMEs 3 ด้าน คือ 1.ส่งเสริมผ่านหน่วยงานของรัฐและเอกชน 2.การจัดสรรเงินทุนเพื่อส่งเสริมธุรกิจ SMEs 3.ส่งเสริมการ ประนอมหนี้ โดยให้เจ้าหนี้ซื้อ-ขาย เปลี่ยนมือธุรกิจ SMEs ที่สถาบันการเงิน เจ้าหนี้ใช้กระบวนการแปลงหนี้เป็นทุน นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการส่งเสริม ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น โดยให้ความคล่องตัว ในด้านภาคการผลิตการส่งออก และการเกษตร ในช่วงต้นปี 2542 ได้มีการรับหลักการร่าง พ.ร.บ. วิสาหกิจส่งเสริมธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งความสำคัญของ พ.ร.บ. นี้ (มีต่อ)

จะสามารถรองรับการส่งเสริมธุรกิจ SMEs ได้ และในส่วนของ หลักการ ร่าง พ.ร.บ. SMEs นั้น จะจัดให้มีกระบวนการส่งเสริมสนับสนุนและมาตรการจูงใจที่เหมาะสม สำหรับธุรกิจ SMEs ตลอดจนกลไกการทำงานของหน่วยงานปฏิบัติการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนให้ประสานเกื้อกูลกันและเกิดการ ทำงานที่ต่อเนื่องสอดคล้องกันในระยะยาว