การเปรียบเทียบผลผลิตของข้าวที่ได้จากการปลูกโดยวิธีปักดำและหว่านน้ำตม / บุญหงษ์ จงคิด

By: บุญหงษ์ จงคิดCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | การทำนา | ข้าว -- วิจัย In: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2542) หน้า 31-39Summary: การศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว3 พันธุ์คือสุพรรณบุรี2 (SPR2) หอมคลองหลวง1 (KLD1) และคลองหลวง 87028-1-1-1 (KLG87028-6-1-1-1) โดยวิธีปักดำและหว่านน้ำตม โดยมีการจัดสิ่งทดลองแบบ Factorial in Complete Randomized Desingn 2x3 จำนวน 4 ซ้ำ ได้ทำการทดลองที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม 2540 (มีต่อ)Summary: ทำการปลูกข้าวโดยใช้ต้นกล้าอายุ 20 วันปักดำ3 ต้นต่อกอ ในระยะ25x25 ซม. และหว่านน้ำตมโดยใช้เมล็ดพันธุ์ 20 กก.ต่อไร่ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต (16-20-0)อัตรา 30 กก.ต่อไร่เมื่อข้าวในทั้ง 2วิธีปลูกอายุได้20 วันและใส่ปุ๋ยครั้งที่2และ3 โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย (46%N) เมื่อต้นข้าวอายุไดั50 วันและหลังจากต้นข้าวออกรวงแล้ว 7วัน ตามลำดับด้วยอัตรา 10 กก.ต่อไร่ผลการทดลองพบว่า การเจริญเติบโต (มีต่อ)Summary: ทางด้านความสูง การแตกกอและจำนวนรวงต่อกอของข้าวทั้ง 3 พันธุ์ มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยที่พันธุ์ KLG 87028-6-1-1-1 มีความสูงมากที่สุด แต่พันธุ์SPR2 กลับมีแนวโน้มการแตกกอและให้จำนวนรวงต่อกอสูงสุด จึงส่งผลให้พันธุ์ SPR2 มีผลผลิต่อไร่สูงสุดแต่สำหรับวิธีการทำนานั้นให้ความแตกต่างทางสถิติในเรื่องความสูง โดยวิธีปักดำจะให้ความสูงมากกว่าวิธีหว่านน้ำตม (มีต่อ)Summary: ส่วนการแตกกอจำนวนรวงต่อกอและผลผลิตต่อไร่นั้นวิธีการทำนาให้ความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จำนวนเมล็ดต่อรวงและน้ำหนักเมล็ดต่อรวงพบว่าพันธุ์ข้าวและวิธีการทำนามีอิทธิพลร่วมกัน (Interaction)และมีอิทธิพลทำให้จำนวนเมล็ดและน้ำหนักเมล็ดรวงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (มีต่อ)Summary: น้ำหนัก 100 เมล็ด kพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยที่พันธุ์หอมคลองหลวง1 ให้น้ำหนัก 100 เมล็ดมากที่สุดและวิธีทำนาก็ให้ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยวิธีปักดำจะให้น้ำหนัก 100 เมล็ดมากกว่าวิธีหว่านน้ำตม
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การศึกษาการเจริญเติบโตและผลผลิตของข้าว3 พันธุ์คือสุพรรณบุรี2 (SPR2) หอมคลองหลวง1 (KLD1) และคลองหลวง 87028-1-1-1 (KLG87028-6-1-1-1) โดยวิธีปักดำและหว่านน้ำตม โดยมีการจัดสิ่งทดลองแบบ Factorial in Complete Randomized Desingn 2x3 จำนวน 4 ซ้ำ ได้ทำการทดลองที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม 2540 (มีต่อ)

ทำการปลูกข้าวโดยใช้ต้นกล้าอายุ 20 วันปักดำ3 ต้นต่อกอ ในระยะ25x25 ซม. และหว่านน้ำตมโดยใช้เมล็ดพันธุ์ 20 กก.ต่อไร่ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมฟอสเฟต (16-20-0)อัตรา 30 กก.ต่อไร่เมื่อข้าวในทั้ง 2วิธีปลูกอายุได้20 วันและใส่ปุ๋ยครั้งที่2และ3 โดยใช้ปุ๋ยยูเรีย (46%N) เมื่อต้นข้าวอายุไดั50 วันและหลังจากต้นข้าวออกรวงแล้ว 7วัน ตามลำดับด้วยอัตรา 10 กก.ต่อไร่ผลการทดลองพบว่า การเจริญเติบโต (มีต่อ)

ทางด้านความสูง การแตกกอและจำนวนรวงต่อกอของข้าวทั้ง 3 พันธุ์ มีความแตกต่างกันทางสถิติอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) โดยที่พันธุ์ KLG 87028-6-1-1-1 มีความสูงมากที่สุด แต่พันธุ์SPR2 กลับมีแนวโน้มการแตกกอและให้จำนวนรวงต่อกอสูงสุด จึงส่งผลให้พันธุ์ SPR2 มีผลผลิต่อไร่สูงสุดแต่สำหรับวิธีการทำนานั้นให้ความแตกต่างทางสถิติในเรื่องความสูง โดยวิธีปักดำจะให้ความสูงมากกว่าวิธีหว่านน้ำตม (มีต่อ)

ส่วนการแตกกอจำนวนรวงต่อกอและผลผลิตต่อไร่นั้นวิธีการทำนาให้ความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) จำนวนเมล็ดต่อรวงและน้ำหนักเมล็ดต่อรวงพบว่าพันธุ์ข้าวและวิธีการทำนามีอิทธิพลร่วมกัน (Interaction)และมีอิทธิพลทำให้จำนวนเมล็ดและน้ำหนักเมล็ดรวงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (มีต่อ)

น้ำหนัก 100 เมล็ด kพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยที่พันธุ์หอมคลองหลวง1 ให้น้ำหนัก 100 เมล็ดมากที่สุดและวิธีทำนาก็ให้ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยวิธีปักดำจะให้น้ำหนัก 100 เมล็ดมากกว่าวิธีหว่านน้ำตม