"Post-in-first" / อนุชิต ชินาจริยวงศ์

By: อนุชิต ชินาจริยวงศ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): สตรอเบอรี่ -- ศัตรูพืช | แมลงศัตรูพืช -- การควบคุม | ศัตรูพืช -- การป้องกัน | SCI-TECH In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม 2541) หน้า 288-292Summary: ไรสองจุด (Tetranychus urticae) เป็นศัตรูสำคัญของสตรอเบอรี่ การควบคุมที่ปฏิบัติกันอยู่มักใช้วิธีการควบคุมด้วยสารเคมี ด้วยวิธีการพ่นยาที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกวิธี ทำให้ไม่สามารถไปควบคุมไรสองจุดได้ เนื่องจากไรสองจุดมีพฤติกรรมทำลายอยู่บริเวณใต้ใบสตรอเบอรี่ บางครั้งไรสองจุดกลับสร้างความต้านทานต่อสารเคมีที่ใช้ เกษตรกรออสเตรเลียนที่ปลูกสตรอเบอรี่ในรัฐควีนส์แลนด์ พบว่าไรตัวห้ำ Phytoseiulus persimilis สามารถควบคุมการระบาดของไรสองจุดได้ วิธีการคือ ปล่อยไรตัวห้ำ ด้วยเทคนิคที่เหมาะสมไปควบคุมไรสองจุดให้อยู่ในระดับการทำลาย ที่จะไม่เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันก็มีแนวทางการจัดการไรตัวห้ำ เพื่อปกป้องมันจากสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นๆ ของสตอรเบอรี่ Pest-in-first (PIE) เป็นวิธีการที่พืชได้รับการทำระบาดเทียม (ในที่นี้ คือไรสองจุด) ก่อน จากนั้นจึงนำตัวห้ำเข้ามาในแปลงปลูกในเวลาถัดมาเพื่อจะรอเวลาให้มีจำนวนตัวเหยื่อมากเพียงพอที่ตัวห้ำจะทำลายได้ ไรสองจุดเป็นไรที่มีขนาดเล็กมาก ไม่มีปีก เคลื่อนไหวในระยะใกล้ๆ การเคลื่อนย้ายไกลๆ ออกไปต้องอาศัยแรงลม ไรตัวห้ำไม่มีปีก เคลื่อนไหวได้ดี แคล่วคล่อง เคลื่อนย้ายได้ในระยะไกลพอสมควร ไรตัวห้ำเป็นไรที่มีประสิทธิภาพสามารถกำจัดไรสองจุดจากแปลงสตอรเบอรี่ ภายในระยะเวลา 2 เดือน ในฤดูหนาวในพื้นที่ที่อุณหภูมิต่ำ จะใช้เทคนิค PIE ได้ดีที่สุด ไรสองจุดจะเจริญเติบโตได้ดีที่ความชื้นต่ำและอุณหภูมิช่วง 15-38 องศาเซลเซียส ไรตัวห้ำชอบอุณหภูมิช่วงนี้เช่นกัน แต่ชอบระดับความชื้นที่สูงกว่า หากความชื้นสัมพัทธ์ภายในแปลงปลูกต่ำลงเป็นเวลาหลายๆ วัน ควรมีการเสริมความชื้นบริเวณรอบๆ เช่น การให้น้ำแบบหัวจ่ายทำให้สภาพแวดล้อมโดยรอบเหมาะกับไรตัวห้ำ (มีต่อ)Summary: นอกจากนี้การเขตกรรมที่ดีจะทำให้สตอรเบอรี่แข็งแรงยิ่งขึ้น ทำให้สามารถต้านทานการทำลายจากไรสองจุดได้อีกทางหนึ่ง การใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี ในระบบการจัดการศัตรูพืชนั้น จะต้องเข้าใจถึงนิเวศวิทยาของพืช ศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ เช่น การเจริญเติบโตของพืช ระยะเวลาที่ศัตรูพืชระบาด สภาพแวดล้อมและเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลดปล่อยศัตรูธรรมชาติ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไร 2 ชนิด ชีววิทยา อัตราการเจริญเติบโตของไรแบบอย่างการแพร่กระจาย นอกจากนี้ยังต้องอาศัยเทคนิคการปลดปล่อยศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ และการติดตามเฝ้าดู ถ้าเกษตรกรรู้จักชีววิทยาเหล่านี้ดีก็จะทำให้การควบคุมศัตรูประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ไรสองจุด (Tetranychus urticae) เป็นศัตรูสำคัญของสตรอเบอรี่ การควบคุมที่ปฏิบัติกันอยู่มักใช้วิธีการควบคุมด้วยสารเคมี ด้วยวิธีการพ่นยาที่ไม่เหมาะสมและไม่ถูกวิธี ทำให้ไม่สามารถไปควบคุมไรสองจุดได้ เนื่องจากไรสองจุดมีพฤติกรรมทำลายอยู่บริเวณใต้ใบสตรอเบอรี่ บางครั้งไรสองจุดกลับสร้างความต้านทานต่อสารเคมีที่ใช้ เกษตรกรออสเตรเลียนที่ปลูกสตรอเบอรี่ในรัฐควีนส์แลนด์ พบว่าไรตัวห้ำ Phytoseiulus persimilis สามารถควบคุมการระบาดของไรสองจุดได้ วิธีการคือ ปล่อยไรตัวห้ำ ด้วยเทคนิคที่เหมาะสมไปควบคุมไรสองจุดให้อยู่ในระดับการทำลาย ที่จะไม่เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันก็มีแนวทางการจัดการไรตัวห้ำ เพื่อปกป้องมันจากสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมแมลงศัตรูพืชชนิดอื่นๆ ของสตอรเบอรี่ Pest-in-first (PIE) เป็นวิธีการที่พืชได้รับการทำระบาดเทียม (ในที่นี้ คือไรสองจุด) ก่อน จากนั้นจึงนำตัวห้ำเข้ามาในแปลงปลูกในเวลาถัดมาเพื่อจะรอเวลาให้มีจำนวนตัวเหยื่อมากเพียงพอที่ตัวห้ำจะทำลายได้ ไรสองจุดเป็นไรที่มีขนาดเล็กมาก ไม่มีปีก เคลื่อนไหวในระยะใกล้ๆ การเคลื่อนย้ายไกลๆ ออกไปต้องอาศัยแรงลม ไรตัวห้ำไม่มีปีก เคลื่อนไหวได้ดี แคล่วคล่อง เคลื่อนย้ายได้ในระยะไกลพอสมควร ไรตัวห้ำเป็นไรที่มีประสิทธิภาพสามารถกำจัดไรสองจุดจากแปลงสตอรเบอรี่ ภายในระยะเวลา 2 เดือน ในฤดูหนาวในพื้นที่ที่อุณหภูมิต่ำ จะใช้เทคนิค PIE ได้ดีที่สุด ไรสองจุดจะเจริญเติบโตได้ดีที่ความชื้นต่ำและอุณหภูมิช่วง 15-38 องศาเซลเซียส ไรตัวห้ำชอบอุณหภูมิช่วงนี้เช่นกัน แต่ชอบระดับความชื้นที่สูงกว่า หากความชื้นสัมพัทธ์ภายในแปลงปลูกต่ำลงเป็นเวลาหลายๆ วัน ควรมีการเสริมความชื้นบริเวณรอบๆ เช่น การให้น้ำแบบหัวจ่ายทำให้สภาพแวดล้อมโดยรอบเหมาะกับไรตัวห้ำ (มีต่อ)

นอกจากนี้การเขตกรรมที่ดีจะทำให้สตอรเบอรี่แข็งแรงยิ่งขึ้น ทำให้สามารถต้านทานการทำลายจากไรสองจุดได้อีกทางหนึ่ง การใช้ศัตรูธรรมชาติในการควบคุมศัตรูพืชด้วยชีววิธี ในระบบการจัดการศัตรูพืชนั้น จะต้องเข้าใจถึงนิเวศวิทยาของพืช ศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ เช่น การเจริญเติบโตของพืช ระยะเวลาที่ศัตรูพืชระบาด สภาพแวดล้อมและเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลดปล่อยศัตรูธรรมชาติ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไร 2 ชนิด ชีววิทยา อัตราการเจริญเติบโตของไรแบบอย่างการแพร่กระจาย นอกจากนี้ยังต้องอาศัยเทคนิคการปลดปล่อยศัตรูพืชและศัตรูธรรมชาติ และการติดตามเฝ้าดู ถ้าเกษตรกรรู้จักชีววิทยาเหล่านี้ดีก็จะทำให้การควบคุมศัตรูประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ