การศึกษาอัตราการใช้ไวรัส NPV ช่วงเวลาการพ่นและอัตราใช้น้ำในการควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้ายบนองุ่น = Study on dosage,applcation time and applcaion rate of nuclear polyhedrosis virus (NPV) to control the cotton bollworm, Helicoverpa armigera hubner on grape / อุทัย เกตุนุติ

By: อุทัย เกตุนุติCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleOther title: Study on dosage,applcation time and applcaion rate of nuclear polyhedrosis virus (NPV) to control the cotton bollworm, Helicoverpa armigera hubner on grape [Portion of title]Subject(s): องุ่น -- สารฆ่าแมลง | แมลงศัตรูพืช -- การควบคุม | องุ่น -- ไวรัส Na NPV | SCI-TECH In: กีฏและสัตววิทยา ปีที่ 20 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2541) หน้า 236 - 246Summary: องุ่น เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศชนิดหนึ่ง นิยมบริโภคสด ตลาดมีความต้องการสูงจึงมีการนำเข้าจากต่างประเทศองุ่นทำรายได้สูงให้แก่กสิกรผู้ปลูก เนื่องจากสามารถบังคับให้ออกดอกและติดผลได้ตามต้องการโดยทั่วไปองุ่นสามารถให้ผลผลิต 2 ครั้งต่อปี (มีต่อ)Summary: แต่สามารถให้ผลผลิต 5 ครั้งต่อ 2 ปี แหล่งที่ปลูกองุ่นส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณราบลุ่ม 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม หนอนเจาะสมอฝ้าย Helicoverpa armigera Hubner จัดเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของการปลูกองุ่น (มีต่อ)Summary: หนอนชนิดนี้จะทำลายช่อดอกและผลอ่อน โดยจะเข้าทำลายในระยะที่องุ่นมีช่อดอกเริ่มบานไปจนกระทั่งติดผลอ่อนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซ.ม. อุปสรรคสำคัญในการป้องกันกำจัดหนอนสมอฝ้ายของกสิกร คือ กสิกรไม่สามารถพ่นสารฆ่าแมลงชนิดที่เป็นน้ำมัน (Ec) (มีต่อ)Summary: ในระยะที่ดอกองุ่นเริ่มบานและระยะที่องุ่นเริ่มติดผล เนื่องจากสารฆ่าแมลงจากทำให้ช่อดอกร่วง หรือการติดผลเสียไปกสิกรจะพ่นสารฆ่าแมลงได้ต่อเมื่อองุ่นติดผลเท่าถั่วลิสง ซึ่งในระยะนี้หนอนเจาะสมอฝ้ายจะมีขนาดตัวโต (มีต่อ)Summary: การพ่นสารฆ่าแมลงมักจะไม่ได้ผล กสิกรจึงไช้วิธีการพ่นสารฆ่าแมลงควบคู่กับการใช้แรงงานเดินจับหนอนออกจากช่อองุ่น ไวรัสชนิด nculear polyhedrosos virus ของหนอนเจาะสมอฝ้าย Helicoverpa armigera (HaNPV) (มีต่อ)Summary: มีความเฉพาะเจาะจงในการทำลายเฉพาะหนอนเจาะสมอฝ้าย มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อม ไวรัสชนิดนี้พบว่าอยู่ตามธรรมชาติในประเทศไทยการนำไวรัส HaNPV มาใช้ควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้ายนั้น (มีต่อ)Summary: จากการทดลองพบว่า การใช้อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร ให้ผลควบคุมความเสียหายของช่อองุ่นดีที่สุด แต่เป็นอัตราที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับการพ่นที่อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร สามารถควบคุมหนอนได้ไม่แตกต่างกัน (มีต่อ)Summary: ฉะนั้นจึงควรใช้ในอัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร โดยในการพ่นควรพ่นเมื่อช่อดอกดอกบาน 20 % พ่น2-3 ครั้ง ห่างกัน 4 วัน การใช้ไวรัส HaNPV นั้นสามารถนำไปใช้ทดแทนสารฆ่าแมลงที่กสิกรใช้อยู่ในแปลงองุ่นได้ (มีต่อ)Summary: โดยกสิกรที่พ่นสารฆ่าแมลงจะต้องจ้างแรงงานคนงานออกเดินเก็บหนอนในช่อองุ่นติดต่อกัน2-3วัน ร่วมกับการพ่นสารฆ่าแมลง2-3ครั้ง แต่การพ่นไวรัส NaNPV กสิกรไม่ต้องใช้แรงงานเดินเก็บหนอนในแปลงอีก
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

องุ่น เป็นผลไม้ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศชนิดหนึ่ง นิยมบริโภคสด ตลาดมีความต้องการสูงจึงมีการนำเข้าจากต่างประเทศองุ่นทำรายได้สูงให้แก่กสิกรผู้ปลูก เนื่องจากสามารถบังคับให้ออกดอกและติดผลได้ตามต้องการโดยทั่วไปองุ่นสามารถให้ผลผลิต 2 ครั้งต่อปี (มีต่อ)

แต่สามารถให้ผลผลิต 5 ครั้งต่อ 2 ปี แหล่งที่ปลูกองุ่นส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณราบลุ่ม 4 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ราชบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม หนอนเจาะสมอฝ้าย Helicoverpa armigera Hubner จัดเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญของการปลูกองุ่น (มีต่อ)

หนอนชนิดนี้จะทำลายช่อดอกและผลอ่อน โดยจะเข้าทำลายในระยะที่องุ่นมีช่อดอกเริ่มบานไปจนกระทั่งติดผลอ่อนมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซ.ม. อุปสรรคสำคัญในการป้องกันกำจัดหนอนสมอฝ้ายของกสิกร คือ กสิกรไม่สามารถพ่นสารฆ่าแมลงชนิดที่เป็นน้ำมัน (Ec) (มีต่อ)

ในระยะที่ดอกองุ่นเริ่มบานและระยะที่องุ่นเริ่มติดผล เนื่องจากสารฆ่าแมลงจากทำให้ช่อดอกร่วง หรือการติดผลเสียไปกสิกรจะพ่นสารฆ่าแมลงได้ต่อเมื่อองุ่นติดผลเท่าถั่วลิสง ซึ่งในระยะนี้หนอนเจาะสมอฝ้ายจะมีขนาดตัวโต (มีต่อ)

การพ่นสารฆ่าแมลงมักจะไม่ได้ผล กสิกรจึงไช้วิธีการพ่นสารฆ่าแมลงควบคู่กับการใช้แรงงานเดินจับหนอนออกจากช่อองุ่น ไวรัสชนิด nculear polyhedrosos virus ของหนอนเจาะสมอฝ้าย Helicoverpa armigera (HaNPV) (มีต่อ)

มีความเฉพาะเจาะจงในการทำลายเฉพาะหนอนเจาะสมอฝ้าย มีความปลอดภัยสูงต่อมนุษย์และสภาพแวดล้อม ไวรัสชนิดนี้พบว่าอยู่ตามธรรมชาติในประเทศไทยการนำไวรัส HaNPV มาใช้ควบคุมหนอนเจาะสมอฝ้ายนั้น (มีต่อ)

จากการทดลองพบว่า การใช้อัตรา 50 มล./น้ำ 20 ลิตร ให้ผลควบคุมความเสียหายของช่อองุ่นดีที่สุด แต่เป็นอัตราที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับการพ่นที่อัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร สามารถควบคุมหนอนได้ไม่แตกต่างกัน (มีต่อ)

ฉะนั้นจึงควรใช้ในอัตรา 30 มล./น้ำ 20 ลิตร โดยในการพ่นควรพ่นเมื่อช่อดอกดอกบาน 20 % พ่น2-3 ครั้ง ห่างกัน 4 วัน การใช้ไวรัส HaNPV นั้นสามารถนำไปใช้ทดแทนสารฆ่าแมลงที่กสิกรใช้อยู่ในแปลงองุ่นได้ (มีต่อ)

โดยกสิกรที่พ่นสารฆ่าแมลงจะต้องจ้างแรงงานคนงานออกเดินเก็บหนอนในช่อองุ่นติดต่อกัน2-3วัน ร่วมกับการพ่นสารฆ่าแมลง2-3ครั้ง แต่การพ่นไวรัส NaNPV กสิกรไม่ต้องใช้แรงงานเดินเก็บหนอนในแปลงอีก