ฝนหลวง สายธารธาราจากฟากฟ้าสู่ดิน / ไพโรจน์ บุญผูก

By: ไพโรจน์ บุญผูกCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ฝนเทียม | โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 127 (เมษายน 2543) หน้า 8 - 9Summary: จุดประกายข้อสังเกตเกี่ยวกับเมฆฝนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบังเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เมื่อครั้งพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร ณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในระหว่างที่เครื่องบินพระที่นั่งบินผ่านเหนือบริเวณเทือกเขาภูพาน แนวเขตติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ กับจังหวัดสกลนคร ทรงพบว่าบริเวณพื้นที่ ที่เครื่องบินผ่านมานั้นเกิดสภาพความแห้งแล้งทั่วพื้นที่ทั้งๆ ที่ท้องฟ้ามีเมฆมาก จุดนี้เองทำให้เป็นแรงดลบันดาลพระราชหฤทัยและทรงวิเคราะห์ได้ว่า ภาวะแห้งแล้งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น (มีต่อ)Summary: เพราะจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผืนป่าอันเป็นแหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติกลับถูกบุกรุกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากขึ้น ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลและพระปรีชาสามารถกอปรด้วยพระอัจฉริยภาพอันสูงยิ่ง จึงพระราชทานพระดำริแก่ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2498 ว่าทรงจะคิดหาวิธีการที่จะทำให้เกิด "ฝนตกนอกเหนือจากธรรมชาติที่จะได้รับจากธรรมชาติ" โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้กับธรรมชาติที่มีอยู่ ให้เกิดมีศักยภาพการเป็นฝนให้ได้ (มีต่อ)Summary: เพื่อทำการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรของชาติครบสมบูรณ์ตามวัฏจักรของน้ำ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2499 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง แก่หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ องคมนตรี มล.เดช สนิทวงศ์ได้ทูลปรึกษากับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักพันธ์ อธิบดีกรมการค้า ขณะนั้นและได้ทรงมอบให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรวิศวกรรม พิจารณาหาลู่ทางดำเนินงานพร้อมกับให้ทำการศึกษาวิชาการทำฝนของต่างประเทศ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชดำริมาประกอบด้วย (มีต่อ)Summary: โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์มาใช้ในการศึกษาทดลองค้นคว้าสมทบกับทางรัฐบาลด้วยเสมอมา นับเป็นพระราชอุตสาหะ ที่ทรงเอาพระทัยใส่ตลอดมาถึง 12ปี ในการทำฝนหลวง บัดนี้ฝนหลวงของประเทศไทยได้ก้าวหน้าไปไกลจนเป็นที่ยอมรับในบรรดานักวิทยาศาสตร์ฝนเทียมนานาชาติ จนทำให้ประเทศไทยได้รับการเลือกให้เป็นศูนย์กลางกิจกรรมทำฝนเทียมในเขตร้อนภูมิภาคอาเซียน ฝนหลวงได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือบ้านเมืองมากมาย ฝนหลวงจึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่พระราชทานพระราชานุเคราะห์แก่ปวงชนชาวไทยยิ่งแล้ว ฝนหลวงจึงเป็นดั่งน้ำทิพย์ชะโลมของชาวไทยโดยแท้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

จุดประกายข้อสังเกตเกี่ยวกับเมฆฝนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบังเกิดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 เมื่อครั้งพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎร ณ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในระหว่างที่เครื่องบินพระที่นั่งบินผ่านเหนือบริเวณเทือกเขาภูพาน แนวเขตติดต่อกับจังหวัดกาฬสินธุ์ กับจังหวัดสกลนคร ทรงพบว่าบริเวณพื้นที่ ที่เครื่องบินผ่านมานั้นเกิดสภาพความแห้งแล้งทั่วพื้นที่ทั้งๆ ที่ท้องฟ้ามีเมฆมาก จุดนี้เองทำให้เป็นแรงดลบันดาลพระราชหฤทัยและทรงวิเคราะห์ได้ว่า ภาวะแห้งแล้งนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น (มีต่อ)

เพราะจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น ความต้องการใช้น้ำเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผืนป่าอันเป็นแหล่งเก็บกักน้ำตามธรรมชาติกลับถูกบุกรุกปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมมากขึ้น ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลและพระปรีชาสามารถกอปรด้วยพระอัจฉริยภาพอันสูงยิ่ง จึงพระราชทานพระดำริแก่ หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นครั้งแรกในปีพ.ศ.2498 ว่าทรงจะคิดหาวิธีการที่จะทำให้เกิด "ฝนตกนอกเหนือจากธรรมชาติที่จะได้รับจากธรรมชาติ" โดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้กับธรรมชาติที่มีอยู่ ให้เกิดมีศักยภาพการเป็นฝนให้ได้ (มีต่อ)

เพื่อทำการพัฒนาระบบการจัดการทรัพยากรของชาติครบสมบูรณ์ตามวัฏจักรของน้ำ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.2499 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง แก่หม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ องคมนตรี มล.เดช สนิทวงศ์ได้ทูลปรึกษากับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักพันธ์ อธิบดีกรมการค้า ขณะนั้นและได้ทรงมอบให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรวิศวกรรม พิจารณาหาลู่ทางดำเนินงานพร้อมกับให้ทำการศึกษาวิชาการทำฝนของต่างประเทศ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชดำริมาประกอบด้วย (มีต่อ)

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์มาใช้ในการศึกษาทดลองค้นคว้าสมทบกับทางรัฐบาลด้วยเสมอมา นับเป็นพระราชอุตสาหะ ที่ทรงเอาพระทัยใส่ตลอดมาถึง 12ปี ในการทำฝนหลวง บัดนี้ฝนหลวงของประเทศไทยได้ก้าวหน้าไปไกลจนเป็นที่ยอมรับในบรรดานักวิทยาศาสตร์ฝนเทียมนานาชาติ จนทำให้ประเทศไทยได้รับการเลือกให้เป็นศูนย์กลางกิจกรรมทำฝนเทียมในเขตร้อนภูมิภาคอาเซียน ฝนหลวงได้เข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือบ้านเมืองมากมาย ฝนหลวงจึงเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่พระราชทานพระราชานุเคราะห์แก่ปวงชนชาวไทยยิ่งแล้ว ฝนหลวงจึงเป็นดั่งน้ำทิพย์ชะโลมของชาวไทยโดยแท้