โครงการวิจัยภาระไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง / สมศักดิ์ จันทร์น้อย

By: สมศักดิ์ จันทร์น้อยCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): การไฟฟ้านครหลวง -- วิจัย | ไฟฟ้า -- วิจัย | โครงการวิจัยภาระไฟฟ้า | SCI-TECH In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 6 ฉบับที่ 4 (เมษายน 2542) หน้า 29 - 32Summary: ภาระกิจของการไฟฟ้านครหลวงเป็นงานให้บริการอย่างหนึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบงานต่างๆ ให้ทันสมัยเจริญก้าวหน้าไปในแนวทางเดียวกับการไฟฟ้าในประเทศที่พัฒนาแล้ว งานวิจัยภาระไฟฟ้าเป็นระบบงานหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นงานที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนากิจการไฟฟ้า ดังนั้นการไฟฟ้านครหลวงจึงได้จัดทำโครงการวิจัยภาระไฟฟ้า โดยจะนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งเป็นระบบการอ่านและจัดเก็บข้อมูลของเครื่องวัดฯ ที่มีการควบคุมและติดต่อข้อมูลระยะไกลผ่านเครือข่ายสื่อสารแบบอัตโนมัติ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้พัฒนาภารกิจของการไฟฟ้านครหลวงให้ไปสู่การดำเนินระบบงานวิจัย ภาระไฟฟ้าที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และธนาคารโลก ได้ให้การสนับสนุนการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ดำเนินโครงการวิจัยภาระไฟฟ้า เนื่องจากข้อมูลที่จะได้รับจากโครงการฯ จะเป็นข้อมูลสำคัญ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยให้เงินสนับสนุนในด้านซื้ออุปกรณ์เครื่องมือของโครงการและว่าจ้างที่ปรึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อคอยช่วยเหลือ โครงการวิจัยภาระไฟฟ้าจะทำการอ่านค่าพลังงานแอคตีฟ และพลังงานรีแอคตีฟจากเครื่องวัดฯ ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่าง ในลักษณะต่อเนื่องกัน 24 ช.ม. เพื่อนำมาคำนวณวิเคราะห์เป็นค่าสถิติของผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท โครงการฯ จะให้ประโยชน์ด้านการกำหนดกลยุทธ์การอนุรักษ์พลังงานในผู้ใช้ไฟฟ้าทุกๆ ประเภท เพื่อให้การอนุรักษ์พลังงานทางด้านไฟฟ้าเป็นไปอย่างถูกวิธี และเพื่อควบคุมการใช้ไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนการอนุรักษ์พลังงานที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเชิงนโยบายทางด้านไฟฟ้าอย่างกว้างขวาง ดังนี้ (มีต่อ)Summary: 1. ทำให้การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้ามีความแม่นยำยิ่งขึ้น 2. จัดทำอัตราค่าไฟฟ้าที่สะท้อนถึงการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างแท้จริง 3. กำหนดเป็นมาตรการต่างๆ เพื่อให้เกิดการใช้ไฟฟ้าตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ 4. ศึกษาผลกระทบของการใช้ไฟฟ้าจากมาตรการต่างๆ โดยเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการนำมาตรการต่างๆ มาใช้ 5. เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุมหรือโรงงานควบคุมในเขตรับผิดชอบ กฝน. 6. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการสามารถขอข้อมูลลักษณะการใช้ไฟฟ้าของตนเอง เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการใช้ไฟฟ้า
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ภาระกิจของการไฟฟ้านครหลวงเป็นงานให้บริการอย่างหนึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบงานต่างๆ ให้ทันสมัยเจริญก้าวหน้าไปในแนวทางเดียวกับการไฟฟ้าในประเทศที่พัฒนาแล้ว งานวิจัยภาระไฟฟ้าเป็นระบบงานหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นงานที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนากิจการไฟฟ้า ดังนั้นการไฟฟ้านครหลวงจึงได้จัดทำโครงการวิจัยภาระไฟฟ้า โดยจะนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งเป็นระบบการอ่านและจัดเก็บข้อมูลของเครื่องวัดฯ ที่มีการควบคุมและติดต่อข้อมูลระยะไกลผ่านเครือข่ายสื่อสารแบบอัตโนมัติ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้พัฒนาภารกิจของการไฟฟ้านครหลวงให้ไปสู่การดำเนินระบบงานวิจัย ภาระไฟฟ้าที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) และธนาคารโลก ได้ให้การสนับสนุนการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ดำเนินโครงการวิจัยภาระไฟฟ้า เนื่องจากข้อมูลที่จะได้รับจากโครงการฯ จะเป็นข้อมูลสำคัญ อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยให้เงินสนับสนุนในด้านซื้ออุปกรณ์เครื่องมือของโครงการและว่าจ้างที่ปรึกษาภายในประเทศและต่างประเทศ เพื่อคอยช่วยเหลือ โครงการวิจัยภาระไฟฟ้าจะทำการอ่านค่าพลังงานแอคตีฟ และพลังงานรีแอคตีฟจากเครื่องวัดฯ ของผู้ใช้ไฟฟ้าที่ถูกเลือกเป็นตัวอย่าง ในลักษณะต่อเนื่องกัน 24 ช.ม. เพื่อนำมาคำนวณวิเคราะห์เป็นค่าสถิติของผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภท โครงการฯ จะให้ประโยชน์ด้านการกำหนดกลยุทธ์การอนุรักษ์พลังงานในผู้ใช้ไฟฟ้าทุกๆ ประเภท เพื่อให้การอนุรักษ์พลังงานทางด้านไฟฟ้าเป็นไปอย่างถูกวิธี และเพื่อควบคุมการใช้ไฟฟ้าให้เป็นไปตามแผนการอนุรักษ์พลังงานที่ได้กำหนดไว้ นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเชิงนโยบายทางด้านไฟฟ้าอย่างกว้างขวาง ดังนี้ (มีต่อ)

1. ทำให้การพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้ามีความแม่นยำยิ่งขึ้น 2. จัดทำอัตราค่าไฟฟ้าที่สะท้อนถึงการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างแท้จริง 3. กำหนดเป็นมาตรการต่างๆ เพื่อให้เกิดการใช้ไฟฟ้าตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้ 4. ศึกษาผลกระทบของการใช้ไฟฟ้าจากมาตรการต่างๆ โดยเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นทั้งก่อนและหลังการนำมาตรการต่างๆ มาใช้ 5. เพื่อเป็นแนวทางในการอนุรักษ์พลังงานของอาคารควบคุมหรือโรงงานควบคุมในเขตรับผิดชอบ กฝน. 6. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการสามารถขอข้อมูลลักษณะการใช้ไฟฟ้าของตนเอง เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงการใช้ไฟฟ้า