การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / จรรยา เงินมูล

By: จรรยา เงินมูลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี In: โลกพลังงาน ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 (มกราคม - มีนาคม 2543) หน้า 41-44Summary: การพัฒนาเศรษฐกิจไทยไม่ก้าวหน้าไปสู่ภาพแห่งความสำเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเซียด้วยกัน เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ดังนั้นปัญหาหลักและถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดนั้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจไทยยังขาดการเตรียมบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อรองรับการถ่ายโอนเทคโนโลยีและสร้างเทคโนโลยีด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการจัดการอย่างสิ้นเชิงในภาคอุตสาหกรรมของไทย ดังนั้น การเตรียมบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย จึงนับเป็นทางออกและวิธีการที่จะแก้ไขกับปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ อย่างต่อเนื่องและยิ่งขึ้น (มีต่อ)Summary: อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ต้องอาศัยการจัดการ การกำหนด และชี้ขาดโดยกระบวนการทางความคิด สติปัญญาและความสามารถของตน ดังนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยจึงต้องการแนวทางที่พัฒนาแล้วก่อให้เกิดความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อที่เศรษฐกิจไทยจะได้เข้มแข็ง สามารถยืนได้ด้วยตนเอง สู้กับภัยเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ อีกทั้งสามารถก้าวเดินไปในทศวรรษที่ 21 ได้อย่างแข็งแกร่ง นั่นเอง การที่ไทยจะต้องรีบทบทวน แก้ไขและดำเนินการในด้านการจัดเตรียมบุคลากรของชาติทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก (มีต่อ)Summary: ก็น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสามารถพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจของไทยให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นไทยจึงควรรีบดำเนินการ ในส่วนของการที่จะต้องรีบเปิดโอกาสให้คนไทยและสร้างโอกาสให้คนในประเทศ ได้แสดงออกซึ่งศักยภาพและความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของตนเองอย่างแท้จริง ชัดเจน สัมฤทธิ์ผลได้โดยประจักษ์ โดยทั้งนี้ ก็ต้องมีปัจจัยต่าง ๆ ส่งเสริมและสนับสนุนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัยงบประมาณที่เพียงพอ และสวัสดิการต่าง ๆ ที่จะสร้างแรงดึงดูดใจแก่คนไทยด้วย เพื่อทำให้ไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดจากความคิดและมันสมองของคนไทยในประเทศเองเพื่อนำไทยให้เจริญรุ่งเรืองได้ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจไทยต่อไปในอนาคต
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

การพัฒนาเศรษฐกิจไทยไม่ก้าวหน้าไปสู่ภาพแห่งความสำเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เหมือนกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเซียด้วยกัน เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สิงคโปร์ ดังนั้นปัญหาหลักและถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งยวดนั้น คือ การพัฒนาเศรษฐกิจไทยยังขาดการเตรียมบุคลากรในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อรองรับการถ่ายโอนเทคโนโลยีและสร้างเทคโนโลยีด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการจัดการอย่างสิ้นเชิงในภาคอุตสาหกรรมของไทย ดังนั้น การเตรียมบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย จึงนับเป็นทางออกและวิธีการที่จะแก้ไขกับปัญหาในการพัฒนาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ อย่างต่อเนื่องและยิ่งขึ้น (มีต่อ)

อันเนื่องมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ต้องอาศัยการจัดการ การกำหนด และชี้ขาดโดยกระบวนการทางความคิด สติปัญญาและความสามารถของตน ดังนั้น การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยจึงต้องการแนวทางที่พัฒนาแล้วก่อให้เกิดความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อที่เศรษฐกิจไทยจะได้เข้มแข็ง สามารถยืนได้ด้วยตนเอง สู้กับภัยเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ อีกทั้งสามารถก้าวเดินไปในทศวรรษที่ 21 ได้อย่างแข็งแกร่ง นั่นเอง การที่ไทยจะต้องรีบทบทวน แก้ไขและดำเนินการในด้านการจัดเตรียมบุคลากรของชาติทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก (มีต่อ)

ก็น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสามารถพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจของไทยให้ดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้นไทยจึงควรรีบดำเนินการ ในส่วนของการที่จะต้องรีบเปิดโอกาสให้คนไทยและสร้างโอกาสให้คนในประเทศ ได้แสดงออกซึ่งศักยภาพและความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของตนเองอย่างแท้จริง ชัดเจน สัมฤทธิ์ผลได้โดยประจักษ์ โดยทั้งนี้ ก็ต้องมีปัจจัยต่าง ๆ ส่งเสริมและสนับสนุนด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัยงบประมาณที่เพียงพอ และสวัสดิการต่าง ๆ ที่จะสร้างแรงดึงดูดใจแก่คนไทยด้วย เพื่อทำให้ไทยสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เกิดจากความคิดและมันสมองของคนไทยในประเทศเองเพื่อนำไทยให้เจริญรุ่งเรืองได้ ซึ่งถือเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจไทยต่อไปในอนาคต