สถาบันยานยนต์ขานรับยกระดับช่างฝีมือยานยนต์ไทย / จุฑาทิพย์ ปาละ

By: จุฑาทิพย์ ปาละCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | อุตสาหกรรมยานยนต์ In: ไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 (กุมภาพันธ์ 2543) หน้า 46-49Summary: อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นอุตสาหกรรมหลักของไทย แต่เนื่องด้วยวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบให้กับอุตสาหกรรมชะลอการเติบโตตั้งแต่ปี 2540 ถึงกลางปี 2542 ในขณะที่ปลายปี 2542 ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มปรับตัวดีขึ้น ในช่วงนี้เองได้เกิดสถาบันยานยนต์ตามแผนแม่บทขึ้น สถาบันยานยนต์ (Thailand Automotive Institute : TAI) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 โดยความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ตามมาตรการสำคัญที่กำหนดใช้ในแผนแม่บทอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2540-2544) เพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (มีต่อ)Summary: เนื่องจากเห็นว่าอุตสาหกรรมสนับสนุนจำนวนมาก หากพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ครบวงจรแล้ว จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอื่นและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ภารกิจหลักห้าประการกับแนวทางดำเนินงาน ประการแรก ศึกษาวิจัยเพื่อสนับสนุนให้เกิดนโยบายที่เหมาะสมของรัฐ ประการที่สอง กำหนดการจัดทำมาตรฐาน รวมทั้งให้บริการตรวจสอบ ทดสอบและมีการรับรองผลิตภัณฑ์ ประการที่สาม ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์ (มีต่อ)Summary: ประการที่สี่ ประยุกต์งานวิจัยพัฒนาเพื่อยกระดับเทคโนโลยีและระบบควบคุมคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ทันสมัย ประการสุดท้าย พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ให้มีขีดความสามารถที่ได้มาตรฐานสากล ต่อไปจะไม่มีคำว่าคุณภาพรถส่งออก เพราะจะเกิดคำถามว่า แล้วรถที่ขายในประเทศคุณภาพดีด้วยหรือไม่? แต่จะมีคำว่า Single Quality เพื่อย้ำว่ารถทุกทุกคันที่ผลิตในไทยทั้งเพื่อส่งออกและขายในประเทศเป็นรถที่มีคุณภาพเดียวกัน (มีต่อ)Summary: นอกจากความต้องการของตลาดปัจจัยด้านฐานการผลิตในเรื่องความสามารถในการป้อนชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีคุณภาพของไทยให้ตรงตามความต้องการของผู้ผลิต ได้เป็นส่วนสำคัญให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเติบโต รวมทั้งการอำนวยความสะดวกทางด้านกฎหมาย โครงสร้างพื้นฐานและความสงบในประเทศที่เป็นปัจจัยชี้วัดเพิ่มเติมว่า ไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ในเอเชียหรือ Detroit of Asia ยาวนานเท่าใด เพราะเมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยเติบโตอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่น รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศจะปรับตัวดีขึ้น และเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นอุตสาหกรรมหลักของไทย แต่เนื่องด้วยวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลกระทบให้กับอุตสาหกรรมชะลอการเติบโตตั้งแต่ปี 2540 ถึงกลางปี 2542 ในขณะที่ปลายปี 2542 ทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มปรับตัวดีขึ้น ในช่วงนี้เองได้เกิดสถาบันยานยนต์ตามแผนแม่บทขึ้น สถาบันยานยนต์ (Thailand Automotive Institute : TAI) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2541 โดยความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ตามมาตรการสำคัญที่กำหนดใช้ในแผนแม่บทอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2540-2544) เพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (มีต่อ)

เนื่องจากเห็นว่าอุตสาหกรรมสนับสนุนจำนวนมาก หากพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ครบวงจรแล้ว จะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอื่นและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ภารกิจหลักห้าประการกับแนวทางดำเนินงาน ประการแรก ศึกษาวิจัยเพื่อสนับสนุนให้เกิดนโยบายที่เหมาะสมของรัฐ ประการที่สอง กำหนดการจัดทำมาตรฐาน รวมทั้งให้บริการตรวจสอบ ทดสอบและมีการรับรองผลิตภัณฑ์ ประการที่สาม ให้บริการด้านข้อมูลข่าวสาร ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์ (มีต่อ)

ประการที่สี่ ประยุกต์งานวิจัยพัฒนาเพื่อยกระดับเทคโนโลยีและระบบควบคุมคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ทันสมัย ประการสุดท้าย พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ ให้มีขีดความสามารถที่ได้มาตรฐานสากล ต่อไปจะไม่มีคำว่าคุณภาพรถส่งออก เพราะจะเกิดคำถามว่า แล้วรถที่ขายในประเทศคุณภาพดีด้วยหรือไม่? แต่จะมีคำว่า Single Quality เพื่อย้ำว่ารถทุกทุกคันที่ผลิตในไทยทั้งเพื่อส่งออกและขายในประเทศเป็นรถที่มีคุณภาพเดียวกัน (มีต่อ)

นอกจากความต้องการของตลาดปัจจัยด้านฐานการผลิตในเรื่องความสามารถในการป้อนชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีคุณภาพของไทยให้ตรงตามความต้องการของผู้ผลิต ได้เป็นส่วนสำคัญให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเติบโต รวมทั้งการอำนวยความสะดวกทางด้านกฎหมาย โครงสร้างพื้นฐานและความสงบในประเทศที่เป็นปัจจัยชี้วัดเพิ่มเติมว่า ไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ในเอเชียหรือ Detroit of Asia ยาวนานเท่าใด เพราะเมื่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในไทยเติบโตอุตสาหกรรมสนับสนุนอื่น รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศจะปรับตัวดีขึ้น และเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน