ย้ายปากคลองตลาดมาอยู่นิคมมักกะสัน คือการทำลายวิถีชีวิตชาวสวนของผู้กระสัน / ชาติบุตร บุณยะจิตติ

By: ชาติบุตร บุณยะจิตติCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ปัญหาสังคม In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 23 (ธันวาคม 2542) หน้า 74 - 75Summary: ในการย้ายปากคลองตลาดมาอยู่ที่นิคมมักกะสัน ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทั้งหมดในระยะยาวได้ หากแต่จะไปสร้างปัญหาให้กับอีกที่หนึ่งไม่เป็นที่สิ้นสุด ซึ่งปัญหาที่จะเกิดขึ้นมีหลายปัญหาด้วยกัน ปัญหาแรกจะทำให้วิถีชีวิตเกษตรกร และผู้ค้าส่งท้องถิ่นย่านฝั่งธนบุรีต้องเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง และบางรายอาจเลิกการทำสวนผัก ผลไม้ไปเลย ปัญหาที่สอง ปัญหาการจราจรที่จะมาพอกพูนสะสมอยู่บริเวณรอบๆ มักกะสัน (มีต่อ)Summary: ทั้งที่บริเวณดังกล่าวก้มีปัญหาการจราจรมากพออยู่แล้ว และบางจุดก็วิกฤตอยู่ตลอดเวลาแล้ว เช่น ถนนราชปรารถหน้าประตูน้ำจนถึงสามเหลี่ยมดินแดง ยังถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนศรีอยุธยาถึงถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนรัชดาภิเษกแยก อ.ส.ม.ท.ถึงแยกอโศก ถนนสามเหลี่ยมดินแดง ถึงสี่แยก อ.ส.ม.ท.และอาจรุกรามไปถึงถนนพระราม 9 ปัญหาที่สาม ความคิดในการแก้ภาพพจน์ของเมืองจะล้มเหลวเพราะมิใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ให้คลี่คลายไป แต่เป็นการแก้เพื่อสร้างปัญหาใหม่ (มีต่อ)Summary: และใหญ่ยิ่งกว่าเดิม ปัญหาที่สี่ คือ วิถีครอบครัวของพ่อค้า แม่ค้าย่านปากคลองตลาดจะเปลี่ยนไป ก่อนเคยต้องทำงานใกล้บ้าน วิถีชีวิตของครอบครัวต้องเปลี่ยนไป ลูกต้องย้ายโรงเรียนตามพ่อแม่ เพิ่มความลำบากให้พวกเขามากขึ้น ปัญหาข้อที่ 5 คือ พ่อค้า แม่ค้ารายอื่นๆ ที่เป็นธุรกิจต่อเนื่อง กับตลาด ที่พ่อค้า แม่ค้า ในตลาดต้องออกมาใช้บริการก็ต้องล่มสลายหรือต้องเปลี่ยนธุรกิจไปทำอย่างอื่นแทน เพราะลูกค้า คือพ่อค้า แม่ค้า หายหรือย้ายไปหมดแล้ว (มีต่อ)Summary: และนอกจากนี้จะยังต้องมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีก จึงขอให้กระทรวงมหาดไทยคิดทบทวนดูให้ดีๆ เมื่อจะทำอะไรควรที่จะคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ในการย้ายปากคลองตลาดมาอยู่ที่นิคมมักกะสัน ตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทย ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาทั้งหมดในระยะยาวได้ หากแต่จะไปสร้างปัญหาให้กับอีกที่หนึ่งไม่เป็นที่สิ้นสุด ซึ่งปัญหาที่จะเกิดขึ้นมีหลายปัญหาด้วยกัน ปัญหาแรกจะทำให้วิถีชีวิตเกษตรกร และผู้ค้าส่งท้องถิ่นย่านฝั่งธนบุรีต้องเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง และบางรายอาจเลิกการทำสวนผัก ผลไม้ไปเลย ปัญหาที่สอง ปัญหาการจราจรที่จะมาพอกพูนสะสมอยู่บริเวณรอบๆ มักกะสัน (มีต่อ)

ทั้งที่บริเวณดังกล่าวก้มีปัญหาการจราจรมากพออยู่แล้ว และบางจุดก็วิกฤตอยู่ตลอดเวลาแล้ว เช่น ถนนราชปรารถหน้าประตูน้ำจนถึงสามเหลี่ยมดินแดง ยังถึงอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถนนศรีอยุธยาถึงถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ถนนรัชดาภิเษกแยก อ.ส.ม.ท.ถึงแยกอโศก ถนนสามเหลี่ยมดินแดง ถึงสี่แยก อ.ส.ม.ท.และอาจรุกรามไปถึงถนนพระราม 9 ปัญหาที่สาม ความคิดในการแก้ภาพพจน์ของเมืองจะล้มเหลวเพราะมิใช่เป็นการแก้ปัญหาที่ให้คลี่คลายไป แต่เป็นการแก้เพื่อสร้างปัญหาใหม่ (มีต่อ)

และใหญ่ยิ่งกว่าเดิม ปัญหาที่สี่ คือ วิถีครอบครัวของพ่อค้า แม่ค้าย่านปากคลองตลาดจะเปลี่ยนไป ก่อนเคยต้องทำงานใกล้บ้าน วิถีชีวิตของครอบครัวต้องเปลี่ยนไป ลูกต้องย้ายโรงเรียนตามพ่อแม่ เพิ่มความลำบากให้พวกเขามากขึ้น ปัญหาข้อที่ 5 คือ พ่อค้า แม่ค้ารายอื่นๆ ที่เป็นธุรกิจต่อเนื่อง กับตลาด ที่พ่อค้า แม่ค้า ในตลาดต้องออกมาใช้บริการก็ต้องล่มสลายหรือต้องเปลี่ยนธุรกิจไปทำอย่างอื่นแทน เพราะลูกค้า คือพ่อค้า แม่ค้า หายหรือย้ายไปหมดแล้ว (มีต่อ)

และนอกจากนี้จะยังต้องมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีก จึงขอให้กระทรวงมหาดไทยคิดทบทวนดูให้ดีๆ เมื่อจะทำอะไรควรที่จะคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก