ความดันโลหิตสูง / ปิติ เลาหบูรณะกิจ

By: ปิติ เลาหบูรณะกิจCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ความดันเลือดสูง | ความดันเลือดสูง -- การป้องกัน | SCI-TECH In: คณะวิทยาศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2540) หน้า 19 - 22Summary: ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบบ่อยและก่อให้เกิดโรคแทรกที่เป็นอันตรายหลายโรค เช่น โรคหัวใจขาดเลือด, หลอดเลือดในสมองแตก และไตวายเรื้อรัง ความดันโลหิตเป็นผลจากการหยุ่นตัวตามของหลอดเลือดจากแรงดันเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจ หากนำค่าความดันโลหิตของกลุ่มประชากรกลุ่มหนึ่งมาทำเป็นแผนภูมิแท่งโดยแกนราบเป็นระดับความดันโลหิตและแกนตั้งเป็นจำนวนของประชากร จะได้รูปแผนภูมิที่มีการกระจายแบบระฆังคว่ำ ทำให้ยากต่อการหาจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างความดันโลหิตปกติ และความดันโลหิตที่สูงเกินปกติได้ เกณฑ์ของระดับความดันโลหิตปกติเป็นที่ยอมรับมากที่สุดคือ ความดันซิสโตลิกไม่เกิน 139 มม.ปรอท และความดันไดแอสโตลิกไม่เกิน 89 มม.ปรอท ผู้ป่วยความดันโลหิตที่มีระดับความดันโลหิตสูงมากๆ และไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงใกล้เคียงกันแต่ได้รับการรักษามีอัตรารอดชีวิตร้อยละ85 ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นภัยเงียบ ไม่แสดงอาการเมื่อเป็นแต่ก่อให้เกิดโรคแทรกที่เป็นอันตราย ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน การดูแลรักษาร่างกายให้มีสุขภาพดีและการตรวจร่างกายเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคและสามารถตรวจพบโรคได้แต่เนิ่นๆ ในปัจจุบันแม้ว่าจะมียาลดความดันโลหิตสูงที่มีประสิทธิภาพดีเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังผู้ป่วยหลายคนรับไม่ได้กับการรับประทานยาชั่วชีวิต การดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูงจึงจำเป็นต้องอาศัยทั้งแพทย์และตัวผู้ป่วยเอง จึงจะทำให้เกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบบ่อยและก่อให้เกิดโรคแทรกที่เป็นอันตรายหลายโรค เช่น โรคหัวใจขาดเลือด, หลอดเลือดในสมองแตก และไตวายเรื้อรัง ความดันโลหิตเป็นผลจากการหยุ่นตัวตามของหลอดเลือดจากแรงดันเลือดที่สูบฉีดออกจากหัวใจ หากนำค่าความดันโลหิตของกลุ่มประชากรกลุ่มหนึ่งมาทำเป็นแผนภูมิแท่งโดยแกนราบเป็นระดับความดันโลหิตและแกนตั้งเป็นจำนวนของประชากร จะได้รูปแผนภูมิที่มีการกระจายแบบระฆังคว่ำ ทำให้ยากต่อการหาจุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างความดันโลหิตปกติ และความดันโลหิตที่สูงเกินปกติได้ เกณฑ์ของระดับความดันโลหิตปกติเป็นที่ยอมรับมากที่สุดคือ ความดันซิสโตลิกไม่เกิน 139 มม.ปรอท และความดันไดแอสโตลิกไม่เกิน 89 มม.ปรอท ผู้ป่วยความดันโลหิตที่มีระดับความดันโลหิตสูงมากๆ และไม่ได้รับการรักษาจะเสียชีวิตถึงร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงใกล้เคียงกันแต่ได้รับการรักษามีอัตรารอดชีวิตร้อยละ85 ความดันโลหิตสูงเป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นภัยเงียบ ไม่แสดงอาการเมื่อเป็นแต่ก่อให้เกิดโรคแทรกที่เป็นอันตราย ก่อให้เกิดความทุกข์ทรมาน การดูแลรักษาร่างกายให้มีสุขภาพดีและการตรวจร่างกายเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคและสามารถตรวจพบโรคได้แต่เนิ่นๆ ในปัจจุบันแม้ว่าจะมียาลดความดันโลหิตสูงที่มีประสิทธิภาพดีเป็นจำนวนมาก แต่เนื่องจากความดันโลหิตสูงเป็นโรคเรื้อรังผู้ป่วยหลายคนรับไม่ได้กับการรับประทานยาชั่วชีวิต การดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูงจึงจำเป็นต้องอาศัยทั้งแพทย์และตัวผู้ป่วยเอง จึงจะทำให้เกิดผลการรักษาที่ดีที่สุด