โรคหอบหืด / ปิติ เลาหบูรณะกิจ

By: ปิติ เลาหบูรณะกิจCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): ภูมิแพ้ | โรคหอบหืด | SCI-TECH In: คณะวิทยาศาสตร์ ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2542) หน้า 20 - 23Summary: โรคหอบหืดเป็นโรคที่หลอดลมมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นอาจเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมีอาการหอบครั้งแรกก่อนอายุ 40 ปี ในเด็กและวัยรุ่นพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า สาเหตุไม่ทราบแน่ ปัจจุบันคาดว่าเกิดจากหลายๆ ปัจจัยร่วมกันในผู้ป่วยเด็กพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งเกิดจากภูมิแพ้ ส่วนใหญ่แพ้ตัวไรฝุ่น (มีต่อ)Summary: ซึ่งอยู่ในหมอน ที่นอน ผ้าม่าน ส่วนในผู้ใหญ่พบว่าสาเหตุจากภูมิแพ้พบได้น้อยมาก นอกเหนือจากภูมิแพ้ได้แก่ ยาบางชนิด เช่นแอสไพริน การออกกำลังกาย, การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ การรักษาโรคหอบหืด คือการรักษาทั่วๆ ไป ต้องรู้จักโรคนี้เป็นอย่างดี หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นอาการหอบหืด และประเมินอาการของตนเองดูความถี่ของการเกิดอาหารหอบ และการรักษาโดยใช้ยามียาขยายหลอดลม (มีต่อ)Summary: เป็นได้ทั้งกลุ่มออกฤทธิ์สั้นและกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยาว และยาต้านการอักเสบ หมายถึงยาที่ใช้ยับยั้งปฏิกิริยาการอักเสบไม่ใช่ยาแก้อักเสบ ยาต้านการอักเสบมีบทบาทมากในการป้องกันการเกิดหอบหืด เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคมีการอักเสบเป็นลักษณะเด่น ยาต้านการอักเสบชนิดพ่นที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็น2กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นสเตียรอยด์ และกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (มีต่อ)Summary: การรักษาตนเองเมื่อมีอาการไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจไม่ออกให้ใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นบรรเทาอาการ หากอาการดีขึ้นให้ใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่น พ่นทุก 3-4 ชั่วโมง ต่อไปอีก 24-48 ชั่วโมง จากนั้นติดต่อแพทย์ หากอาการดีขึ้นเพียงเล็กน้อยให้ใช้ยาขยายหลอดลมพ่นทุก 3-4 ชั่วโมง และไปพบแพทย์ผู้รักษาโดยด่วน หากอาการเลวลงอย่างมากในทันทีให้ใช้ยาขยายหลอดลมพ่นทุก 15-20 นาที และไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินทันที
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โรคหอบหืดเป็นโรคที่หลอดลมมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นอาจเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิหรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน โรคหอบหืดเป็นโรคเรื้อรัง มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมีอาการหอบครั้งแรกก่อนอายุ 40 ปี ในเด็กและวัยรุ่นพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 2 เท่า สาเหตุไม่ทราบแน่ ปัจจุบันคาดว่าเกิดจากหลายๆ ปัจจัยร่วมกันในผู้ป่วยเด็กพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งเกิดจากภูมิแพ้ ส่วนใหญ่แพ้ตัวไรฝุ่น (มีต่อ)

ซึ่งอยู่ในหมอน ที่นอน ผ้าม่าน ส่วนในผู้ใหญ่พบว่าสาเหตุจากภูมิแพ้พบได้น้อยมาก นอกเหนือจากภูมิแพ้ได้แก่ ยาบางชนิด เช่นแอสไพริน การออกกำลังกาย, การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน และการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ การรักษาโรคหอบหืด คือการรักษาทั่วๆ ไป ต้องรู้จักโรคนี้เป็นอย่างดี หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นอาการหอบหืด และประเมินอาการของตนเองดูความถี่ของการเกิดอาหารหอบ และการรักษาโดยใช้ยามียาขยายหลอดลม (มีต่อ)

เป็นได้ทั้งกลุ่มออกฤทธิ์สั้นและกลุ่มที่ออกฤทธิ์ยาว และยาต้านการอักเสบ หมายถึงยาที่ใช้ยับยั้งปฏิกิริยาการอักเสบไม่ใช่ยาแก้อักเสบ ยาต้านการอักเสบมีบทบาทมากในการป้องกันการเกิดหอบหืด เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคมีการอักเสบเป็นลักษณะเด่น ยาต้านการอักเสบชนิดพ่นที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็น2กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นสเตียรอยด์ และกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (มีต่อ)

การรักษาตนเองเมื่อมีอาการไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย หายใจไม่ออกให้ใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่นบรรเทาอาการ หากอาการดีขึ้นให้ใช้ยาขยายหลอดลมชนิดพ่น พ่นทุก 3-4 ชั่วโมง ต่อไปอีก 24-48 ชั่วโมง จากนั้นติดต่อแพทย์ หากอาการดีขึ้นเพียงเล็กน้อยให้ใช้ยาขยายหลอดลมพ่นทุก 3-4 ชั่วโมง และไปพบแพทย์ผู้รักษาโดยด่วน หากอาการเลวลงอย่างมากในทันทีให้ใช้ยาขยายหลอดลมพ่นทุก 15-20 นาที และไปพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินทันที