ผ่า "ความช่วยเหลือ" จากต่างชาติ ความอารีของซาตาน / ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์

By: ภัสน์วจี ศรีสุวรรณ์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ | ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ | ความร่วมมือระหว่างประเทศ In: โลกสีเขียว ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-สิงหาคม 2543) หน้า 22 - 35Summary: โดยเนื้อแท้ ความช่วยเหลือทางการเงินในระดับชาติแบ่งออกคร่าวๆ ได้เป็น 2ประเภทคือ แบบเงินให้เปล่าและแบบให้กู้ยืมด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ-ระยะเวลาการชำระหนี้ยาว แต่ในแถลงการณ์ขององค์กรฝ่ายให้เงินมักรวบเรียกทั้งหมดเป็น 'ความช่วยเหลือ' กระทั่งความหมายที่แท้กับภาพพจน์ของกิจกรรมนี้มีช่องว่างแตกต่างและ (มีต่อ)Summary: ห่างกันไกล การเป็นตัวการก่อหนี้และสร้างภาระต่อเนื่องยังเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นโดยตรงไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์หรือการสร้างความกระทบกระทั่งแก่วิถีชีวิตหลายๆ ชีวิตและหลายๆ ทรัพยากรของประเทศที่เรียกกันว่า "ด้อยพัฒนา" หรือ"กำลังพัฒนา" ต้องเซ่นสังเวยแก่ (มีต่อ)Summary: โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ฯลฯ ทว่าก็เกิดขึ้นได้ด้วย 'ความช่วยเหลือ' จากต่างชาติการหยิบยื่นจากชาติร่ำรวยสู่ชาติยากจนหรือชาติที่ด้อยกว่านั้น ในบางกรณีอาจนับได้ว่าเป็นการให้ แต่การให้นี้ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดเลยจริงหรือ หรือว่าการให้นั้นเป็นการหว่านพืชหวังผลกันแน่ (มีต่อ)Summary: หากจะกล่าวว่าความช่วยเหลือจากประเทศมั่งคั่งสู่ประเทศโลกที่สามถือกำเนิดขึ้นเนื่องจาก เหตุผลด้านมนุษยธรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากบรรดาความช่วยเหลือระหว่างประเทศเริ่มเกิดภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งประเทศที่ย่อยยับจากสงครามและประเทศที่บอบช้ำจากภาวะสงครามต่างก็มีภาระต้องจ่ายเงินค่า (มีต่อ)Summary: บูรณะสงครามแก่ประเทศต่างๆ ลักษณะการให้ความช่วยเหลือในช่วงแรกนี้ส่วนใหญ่ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือจะตั้งองค์กรดูแลความช่วยเหลือของตนเองเข้าไปควบคุมนโยบายและการดำเนินงานร่วมประเทศผู้รับความช่วยเหลือ อีกส่วนหนึ่งคือ การให้เงินช่วยเหลือผ่านองค์กร ผ่านทวิภาคีที่ตนเองถือหุ้น แล้วผลักดันนโยบายความ (มีต่อ)Summary: ช่วยเหลือผ่านทางกลไกการบริหารขององค์กรนั้นๆ ในส่วนของประเทศไทยพัฒนาการความช่วยเหลือจากต่างประเทศดำเนินมาและเปลี่ยนแปรไปในทิศทางที่สอดคล้องกับกระแสโลก สหรัฐฯเป็นประเทศแรกที่ให้ 'ความช่วยเหลือ' แก่ประเทศไทย ทั้งนี้การให้ความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือแบบให้เปล่า และความร่วมมือ (มีต่อ)Summary: ทางวิชาการ และบางส่วนเป็นเงินกู้เพื่อการพัฒนา รับผิดชอบโดยมีองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างชาติของสหรัฐฯ หรือ USAID (United States Agency for International Development) ส่วนญี่ปุ่นเริ่มให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ.2493 โดยจัดทำข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโทรคมนาคม (มีต่อ)Summary: โดยสรุปตัวเลขความช่วยเหลือจากต่างประเทศสู่ประเทศไทยผ่านองค์กรด้านการพัฒนาในสังกัดรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในช่วง 50ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2493-2543) พบว่า ในช่วงแรกสหรัฐฯเป็นแหล่งให้ความช่วยเหลือที่สำคัญที่สุด โดยระหว่างปี 2494-2513 กินส่วนแบ่งความช่วยเหลือเกือบร้อยละ 80 แต่เมื่อสหรัฐฯเริ่มถอนตัว (มีต่อ)Summary: ออกจากสงครามเวียดนาม ปริมาณความช่วยเหลือลดลงจากร้อยละ36 ในปี2517 เหลือเพียงร้อยละ20 ในปี2518 ขณะที่ความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาแทนที่จนปัจจุบันร้อยละ35 ของความช่วยเหลือที่ไทยได้รับจากแหล่งต่างๆ ก็ยังมาจากญี่ปุ่น ส่วนรูปธรรมหนึ่งที่พอจะบอกเล่าภาพความด้อยอิสระและด้อยประโยชน์ของความ (มีต่อ)Summary: ช่วยเหลือจากต่างชาติอย่างค่อนข้างชัดเจนก็คือ จากงานวิจัยเรื่องความช่วยเหลือและการบริหารงานและผลกระทบต่อการพัฒนาที่จัดทำโดยสถาบันเอเชียศึกษา งานวิจัยนี้ทำการศึกษาโครงการขนาดใหญ่ที่ได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากญี่ปุ่นจำนวน 5โครงการ ผลสรุปคือ โครงการความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในรูปการช่วยเหลือ (มีต่อ)Summary: ฟื้นฟูความเสียหายจากสงครามในช่วงพ.ศ.2493-2502 เป็นต้นมา ได้แอบซ่อนผลประโยชน์ทางการค้า โดยกระตุ้นให้เกิดความต้องการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในประเทศต่างๆ ตามมาด้วยการเสนอให้เงินกู้เพื่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานโดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายกำหนดสเปคของอุปกรณ์และเทคโนโลยีให้ใช้ของญี่ปุ่นเท่านั้น ในงานวิจัยยังระบุ (มีต่อ)Summary: อีกว่าในโครงการความช่วยเหลือจากต่างประเทศบางประเทศยังมีข้อสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าประเทศผู้รับต้องใช้สินค้าและบริการจากประเทศผู้ให้ในอัตราร้อยละเท่าไรของมูลค่าความช่วยเหลือที่ให้มาอีกด้วย ทางด้าน ดร.วรพล พรหมมิกบุตร กล่าวว่า นับวันองค์กรการเงินระหว่างประเทศจะเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจและ (มีต่อ)Summary: วิถีชีวิตของคนไทยมากขึ้นหากรัฐบาลไทยยังคงในทิศทางเดิมต่อไปอีก 20ปี ประเทศไทยจะกลายเป็น 'ทาสในเรือนเบี้ย' ภาระด้านดอกเบี้ยของรัฐบาลจะสูงขึ้นรวมกับจำเป็นต้องชำระเงินต้นจะพบว่า 1ใน9 ของงบประมาณแผ่นดินจะถูกกักไว้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ (มีต่อ)Summary: เงินที่จะนำมาใช้บริหารประเทศก็จะลดน้อยลง ซึ่งจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่ม ซึ่งก็คือสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาอย่างธนาคารโลก และ IMF นั่นเอง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

โดยเนื้อแท้ ความช่วยเหลือทางการเงินในระดับชาติแบ่งออกคร่าวๆ ได้เป็น 2ประเภทคือ แบบเงินให้เปล่าและแบบให้กู้ยืมด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำ-ระยะเวลาการชำระหนี้ยาว แต่ในแถลงการณ์ขององค์กรฝ่ายให้เงินมักรวบเรียกทั้งหมดเป็น 'ความช่วยเหลือ' กระทั่งความหมายที่แท้กับภาพพจน์ของกิจกรรมนี้มีช่องว่างแตกต่างและ (มีต่อ)

ห่างกันไกล การเป็นตัวการก่อหนี้และสร้างภาระต่อเนื่องยังเห็นได้ชัดเจน เนื่องจากเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นโดยตรงไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่เคยอุดมสมบูรณ์หรือการสร้างความกระทบกระทั่งแก่วิถีชีวิตหลายๆ ชีวิตและหลายๆ ทรัพยากรของประเทศที่เรียกกันว่า "ด้อยพัฒนา" หรือ"กำลังพัฒนา" ต้องเซ่นสังเวยแก่ (มีต่อ)

โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง ฯลฯ ทว่าก็เกิดขึ้นได้ด้วย 'ความช่วยเหลือ' จากต่างชาติการหยิบยื่นจากชาติร่ำรวยสู่ชาติยากจนหรือชาติที่ด้อยกว่านั้น ในบางกรณีอาจนับได้ว่าเป็นการให้ แต่การให้นี้ไม่หวังสิ่งตอบแทนใดเลยจริงหรือ หรือว่าการให้นั้นเป็นการหว่านพืชหวังผลกันแน่ (มีต่อ)

หากจะกล่าวว่าความช่วยเหลือจากประเทศมั่งคั่งสู่ประเทศโลกที่สามถือกำเนิดขึ้นเนื่องจาก เหตุผลด้านมนุษยธรรมที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากบรรดาความช่วยเหลือระหว่างประเทศเริ่มเกิดภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งประเทศที่ย่อยยับจากสงครามและประเทศที่บอบช้ำจากภาวะสงครามต่างก็มีภาระต้องจ่ายเงินค่า (มีต่อ)

บูรณะสงครามแก่ประเทศต่างๆ ลักษณะการให้ความช่วยเหลือในช่วงแรกนี้ส่วนใหญ่ประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือจะตั้งองค์กรดูแลความช่วยเหลือของตนเองเข้าไปควบคุมนโยบายและการดำเนินงานร่วมประเทศผู้รับความช่วยเหลือ อีกส่วนหนึ่งคือ การให้เงินช่วยเหลือผ่านองค์กร ผ่านทวิภาคีที่ตนเองถือหุ้น แล้วผลักดันนโยบายความ (มีต่อ)

ช่วยเหลือผ่านทางกลไกการบริหารขององค์กรนั้นๆ ในส่วนของประเทศไทยพัฒนาการความช่วยเหลือจากต่างประเทศดำเนินมาและเปลี่ยนแปรไปในทิศทางที่สอดคล้องกับกระแสโลก สหรัฐฯเป็นประเทศแรกที่ให้ 'ความช่วยเหลือ' แก่ประเทศไทย ทั้งนี้การให้ความช่วยเหลือของสหรัฐฯ ส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือแบบให้เปล่า และความร่วมมือ (มีต่อ)

ทางวิชาการ และบางส่วนเป็นเงินกู้เพื่อการพัฒนา รับผิดชอบโดยมีองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างชาติของสหรัฐฯ หรือ USAID (United States Agency for International Development) ส่วนญี่ปุ่นเริ่มให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยตั้งแต่ปีพ.ศ.2493 โดยจัดทำข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมโทรคมนาคม (มีต่อ)

โดยสรุปตัวเลขความช่วยเหลือจากต่างประเทศสู่ประเทศไทยผ่านองค์กรด้านการพัฒนาในสังกัดรัฐบาลของประเทศต่างๆ ในช่วง 50ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2493-2543) พบว่า ในช่วงแรกสหรัฐฯเป็นแหล่งให้ความช่วยเหลือที่สำคัญที่สุด โดยระหว่างปี 2494-2513 กินส่วนแบ่งความช่วยเหลือเกือบร้อยละ 80 แต่เมื่อสหรัฐฯเริ่มถอนตัว (มีต่อ)

ออกจากสงครามเวียดนาม ปริมาณความช่วยเหลือลดลงจากร้อยละ36 ในปี2517 เหลือเพียงร้อยละ20 ในปี2518 ขณะที่ความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาแทนที่จนปัจจุบันร้อยละ35 ของความช่วยเหลือที่ไทยได้รับจากแหล่งต่างๆ ก็ยังมาจากญี่ปุ่น ส่วนรูปธรรมหนึ่งที่พอจะบอกเล่าภาพความด้อยอิสระและด้อยประโยชน์ของความ (มีต่อ)

ช่วยเหลือจากต่างชาติอย่างค่อนข้างชัดเจนก็คือ จากงานวิจัยเรื่องความช่วยเหลือและการบริหารงานและผลกระทบต่อการพัฒนาที่จัดทำโดยสถาบันเอเชียศึกษา งานวิจัยนี้ทำการศึกษาโครงการขนาดใหญ่ที่ได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากญี่ปุ่นจำนวน 5โครงการ ผลสรุปคือ โครงการความช่วยเหลือแบบให้เปล่าในรูปการช่วยเหลือ (มีต่อ)

ฟื้นฟูความเสียหายจากสงครามในช่วงพ.ศ.2493-2502 เป็นต้นมา ได้แอบซ่อนผลประโยชน์ทางการค้า โดยกระตุ้นให้เกิดความต้องการสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานในประเทศต่างๆ ตามมาด้วยการเสนอให้เงินกู้เพื่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานโดยญี่ปุ่นเป็นฝ่ายกำหนดสเปคของอุปกรณ์และเทคโนโลยีให้ใช้ของญี่ปุ่นเท่านั้น ในงานวิจัยยังระบุ (มีต่อ)

อีกว่าในโครงการความช่วยเหลือจากต่างประเทศบางประเทศยังมีข้อสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรว่าประเทศผู้รับต้องใช้สินค้าและบริการจากประเทศผู้ให้ในอัตราร้อยละเท่าไรของมูลค่าความช่วยเหลือที่ให้มาอีกด้วย ทางด้าน ดร.วรพล พรหมมิกบุตร กล่าวว่า นับวันองค์กรการเงินระหว่างประเทศจะเข้ามามีบทบาทในระบบเศรษฐกิจและ (มีต่อ)

วิถีชีวิตของคนไทยมากขึ้นหากรัฐบาลไทยยังคงในทิศทางเดิมต่อไปอีก 20ปี ประเทศไทยจะกลายเป็น 'ทาสในเรือนเบี้ย' ภาระด้านดอกเบี้ยของรัฐบาลจะสูงขึ้นรวมกับจำเป็นต้องชำระเงินต้นจะพบว่า 1ใน9 ของงบประมาณแผ่นดินจะถูกกักไว้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ (มีต่อ)

เงินที่จะนำมาใช้บริหารประเทศก็จะลดน้อยลง ซึ่งจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่ม ซึ่งก็คือสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาอย่างธนาคารโลก และ IMF นั่นเอง