กรุงเทพมหานคร : วิสัยทัศน์ 2010 กับการจัดการน้ำเสีย (ตอนที่3) / ศรีสุวรรณ จรรยา

By: ศรีสุวรรณ จรรยาCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | น้ำเสีย | มลพิษทางน้ำ In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 121 (ตุลาคม 2542) หน้า46 - 53Summary: มาตราการการกำจัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร มีการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการบำบัดน้ำเสีย ลงทุนในเรื่องค่าการจัดการ ค่าเดินเครื่องบำบัด ค่าไฟฟ้า และค่ากำจัดตะกอนที่ได้จากการบำบัดน้ำเสีย เพราะโรงงานบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพฯ เป็นระบบเปิดแบบใช้ออกซิเจนช่วยในกระบวนการบำบัด สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาหลักสำหรับการบำบัดน้ำเสีย ก็คือ โรงบำบัดน้ำเสียรวมของกรุงเทพฯ (Central Sewerage System) ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 1568.737ตารางกิโลเมตร (มีต่อ)Summary: เพราะปัจจุบันมีเพียง โรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยา โครงการบำบัดน้ำเสียที่ยานนาวา ครอบคลุมพื้นที่เขตยานนาวา บางรัก สาทร บางคอแหลม โครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน ราชเทวี และบางส่วนของเขตพระนคร ดุสิต พญาไท ห้วยขวาง โครงการบำบัดน้ำเสียหนองแขม ครอบคลุมพื้นที่หนองแขม ภาษีเจริญ ราษฎร์บูรณะ และจากกองขยะหนองแขม โครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 4 ครอบคลุมพื้นที่เขตดุสิต บางซื่อ พญาไท ห้วยขวาง จตุจักร (มีต่อ)Summary: โครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 5 ครอบคลุมพื้นที่พระโขนง คลองเตย ประเวศ โครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 6 ครอบคลุมพื้นที่บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ธนบุรี คลองสาน และโครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 7 ครอบคลุมพื้นที่ประเวศ และพระโขนง และนอกจากนี้ยังมีโรงบำบัดขนาดเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปอีกเล็กน้อย แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทุกเขต ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการที่สำคัญอีกมาตรการหนึ่ง ก็คือ การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทุกครัวเรือน ให้มีความรู้สึกรักและหวงแหนแม่น้ำ ลำคลอง (มีต่อ)Summary: ช่วยกันป้องกันรักษาไม่ให้เกิดความเน่าเสียทั้งในการประชาสัมพันธ์ในสถาบันการศึกษา โรงเรียน และการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างผ่านสื่อทุกประเภท โดยอาจต้องเพิ่มการรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษา โดยการบำบัดน้ำเสียเริ่มจากบ้านเรือนของตนเองก่อน เช่น การใช้ถังดักไขมันในทุกครัวเรือน ในโรงงานอุตสาหกกรมทั้งหลายที่มีหลายหมื่นโรงงานในกรุงเทพฯ โรงงานบางประเภทมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการปล่อยน้ำเสียที่เป็นพิษ เป็นอันตรายร้ายแรง เช่น โรงงานหลอมเหล็ก หลอมตะกั่ว ฯลฯ (มีต่อ)Summary: การลงทุนในการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำจึงเป็นเรื่องยาก บางโรงงานก็เก่าแก่ ระบบป้องกันต่างๆ จึงไม่มี ดังนั้น กทม.อาจจะประสานการจัดเก็บน้ำเสียให้นำไปกำจัด ณ ศูนย์กำจัดน้ำเสียอันตรายที่แสมดำ บางขุนเทียน หรือประสานกับกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ BOI ในการหากองทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้ย้ายฐานการผลิตไปยังนิคมอุตสาหกรรม อีกมาตรการที่มีส่วนช่วยในการบำบัดน้ำเสีย คือ ช่วยกันนำน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำฝนมาใช้ในบ้านเรือนโดยไม่ต้องปล่อยให้ไหลทิ้ง (มีต่อ)Summary: โดยอาจจะกันพื้นที่บางส่วนภายในบ้านจัดทำเป็นบ่อพักน้ำไว้ หรือการใช้ภาชนะกักเก็บไว้เพื่ออุปโภค หรือใช้รดต้นไม้ สนามหญ้า แทนการใช้น้ำประปา มาตรการสุดท้ายคือ การบำบัดน้ำเสียโดยการใช้เครื่องเติมอากาศขนาดเล็กกระจายไปให้เต็มพื้นที่แหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ เช่น กังหันชัยพัฒนา ฯลฯ เป็นต้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

มาตราการการกำจัดน้ำเสียของกรุงเทพมหานคร มีการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลในการบำบัดน้ำเสีย ลงทุนในเรื่องค่าการจัดการ ค่าเดินเครื่องบำบัด ค่าไฟฟ้า และค่ากำจัดตะกอนที่ได้จากการบำบัดน้ำเสีย เพราะโรงงานบำบัดน้ำเสียของกรุงเทพฯ เป็นระบบเปิดแบบใช้ออกซิเจนช่วยในกระบวนการบำบัด สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาหลักสำหรับการบำบัดน้ำเสีย ก็คือ โรงบำบัดน้ำเสียรวมของกรุงเทพฯ (Central Sewerage System) ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 1568.737ตารางกิโลเมตร (มีต่อ)

เพราะปัจจุบันมีเพียง โรงบำบัดน้ำเสียสี่พระยา โครงการบำบัดน้ำเสียที่ยานนาวา ครอบคลุมพื้นที่เขตยานนาวา บางรัก สาทร บางคอแหลม โครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 1 ครอบคลุมพื้นที่ป้อมปราบฯ สัมพันธวงศ์ ปทุมวัน ราชเทวี และบางส่วนของเขตพระนคร ดุสิต พญาไท ห้วยขวาง โครงการบำบัดน้ำเสียหนองแขม ครอบคลุมพื้นที่หนองแขม ภาษีเจริญ ราษฎร์บูรณะ และจากกองขยะหนองแขม โครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 4 ครอบคลุมพื้นที่เขตดุสิต บางซื่อ พญาไท ห้วยขวาง จตุจักร (มีต่อ)

โครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 5 ครอบคลุมพื้นที่พระโขนง คลองเตย ประเวศ โครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 6 ครอบคลุมพื้นที่บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ธนบุรี คลองสาน และโครงการบำบัดน้ำเสียระยะที่ 7 ครอบคลุมพื้นที่ประเวศ และพระโขนง และนอกจากนี้ยังมีโรงบำบัดขนาดเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไปอีกเล็กน้อย แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ทุกเขต ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการที่สำคัญอีกมาตรการหนึ่ง ก็คือ การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทุกครัวเรือน ให้มีความรู้สึกรักและหวงแหนแม่น้ำ ลำคลอง (มีต่อ)

ช่วยกันป้องกันรักษาไม่ให้เกิดความเน่าเสียทั้งในการประชาสัมพันธ์ในสถาบันการศึกษา โรงเรียน และการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างผ่านสื่อทุกประเภท โดยอาจต้องเพิ่มการรณรงค์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษา โดยการบำบัดน้ำเสียเริ่มจากบ้านเรือนของตนเองก่อน เช่น การใช้ถังดักไขมันในทุกครัวเรือน ในโรงงานอุตสาหกกรมทั้งหลายที่มีหลายหมื่นโรงงานในกรุงเทพฯ โรงงานบางประเภทมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการปล่อยน้ำเสียที่เป็นพิษ เป็นอันตรายร้ายแรง เช่น โรงงานหลอมเหล็ก หลอมตะกั่ว ฯลฯ (มีต่อ)

การลงทุนในการก่อสร้างโรงบำบัดน้ำจึงเป็นเรื่องยาก บางโรงงานก็เก่าแก่ ระบบป้องกันต่างๆ จึงไม่มี ดังนั้น กทม.อาจจะประสานการจัดเก็บน้ำเสียให้นำไปกำจัด ณ ศูนย์กำจัดน้ำเสียอันตรายที่แสมดำ บางขุนเทียน หรือประสานกับกระทรวงอุตสาหกรรม หรือ BOI ในการหากองทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำ ให้ย้ายฐานการผลิตไปยังนิคมอุตสาหกรรม อีกมาตรการที่มีส่วนช่วยในการบำบัดน้ำเสีย คือ ช่วยกันนำน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำฝนมาใช้ในบ้านเรือนโดยไม่ต้องปล่อยให้ไหลทิ้ง (มีต่อ)

โดยอาจจะกันพื้นที่บางส่วนภายในบ้านจัดทำเป็นบ่อพักน้ำไว้ หรือการใช้ภาชนะกักเก็บไว้เพื่ออุปโภค หรือใช้รดต้นไม้ สนามหญ้า แทนการใช้น้ำประปา มาตรการสุดท้ายคือ การบำบัดน้ำเสียโดยการใช้เครื่องเติมอากาศขนาดเล็กกระจายไปให้เต็มพื้นที่แหล่งน้ำสาธารณะต่างๆ เช่น กังหันชัยพัฒนา ฯลฯ เป็นต้น