กรุงเทพมหานคร : วิสัยทัศน์ 2010 (ภาคที่1) / ศรีสุวรรณ จรรยา

By: ศรีสุวรรณ จรรยาCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | มลพิษทางสิ่งแวดล้อม In: โลกใบใหม่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 119 (สิงหาคม 2542) หน้า 42 - 47Summary: กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางแห่งทุกสรรพสิ่งและก็เป็นศูนย์กลางแห่งปัญหานานับประการด้วย ปัญหาต่างๆ นั้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านมลภาวะ ปัญหาประการแรกคือ ปัญหามลพิษทางอากาศ สาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ คือ จากการเผาไหม้ไอเสียรถยนต์ เรือหางยาว ที่มีการปล่อยควันพิษออกมา ทำให้เกิดการสะสมตัวของก๊าซพิษต่างๆ เช่น CO2, CO, NO2, CH เป็นต้น จากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปล่องควันซึ่งมีการกระจายอยู่ทุกพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (มีต่อ)Summary: โดยเฉพาะแถบทางบางขุนเทียน, ภาษีเจริญ, ราษฎร์บูรณะ, หนองแขม, จอมทอง, มีนบุรี, สมุทรปราการ ฯลฯ ซึ่งมีจำนวนกว่า 17,855โรง ในจำนวนนี้ประมาณ 15% เป็นอุตสาหกรรมปล่องควัน จากการก่อสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โดยเฉพาะการก่อสร้างระบบเครือข่ายขนส่งมวลชนที่กำลังทำอยู่ทั้งลอยฟ้า, บนดินและใต้ดิน ที่มีระบบการควบคุมที่ไม่เข้มงวดพอ ผู้ก่อสร้างเองก็ปล่อยปละละเลยต่อการระมัดระวังการแพร่กระจายของฝุ่นละออง ปัญหาจากการเมรุเผาศพ (มีต่อ)Summary: กรุงเทพมหานครมีฌาปนสถานถึง 303แห่ง ในจำนวนนี้มีฌาปนสถานที่ใช้ฟืนหรือถ่านในการเผาศพมากถึง 175แห่ง ซึ่งไม่มีระบบกำจัดเขม่าควัน และกลิ่นเหม็นจากศพ มีฌาปนสถานที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในการเผาศพจำนวน 126แห่ง และใช้ก๊าซ LP6 เพียง 2แห่ง เท่านั้น และแต่ละเดือนทั้งกรุงเทพมหานครจะมีการเผาศพประมาณ 3,169 ศพ ซึ่งเขม่าควันเหล่านี้เป็นแหล่งก่อมลพิษทางอากาศที่สำคัญ คือ ฝุ่นละออง (SPM) ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) (มีต่อ)Summary: ไฮโดรคลอริกซันเฟอร์ไดออกไซค์ (50 Z) สารอินทรีย์และไดออกซิน (Dioxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากปัญหามลพิษทางอากาศตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ปัญหามลพิษทางเสียง จากการวิจัยของมูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อมพบว่าความเสี่ยงของประชาชนต่อภาวะหูเสื่อมมีค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ที่มีชั่วโมงการทำงานอยู่บนท้องถนนในระยะเวลานาน พนักงานขับเรือยนต์ เรือหางยาว แม่ค้าหาบเร่แผงลอย (มีต่อ)Summary: ในย่านที่มีปัญหาจราจรติดขัด พบว่า 38% เริ่มมีปัญหาของการได้ยินเสียงที่ต่ำกว่า 40เดซิเบล เอ และ6% มีปัญหาหูตึง และจากการศึกษายังพบอีกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่ใช้วิทยุสื่อสารติดหรือเหน็บไว้ที่ไหล่เสมอๆ จะส่งผลต่อสมรรถนะของการได้ยินทางหูด้านนั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจท่านนั้นได้ มลพิษทางเสียงอีกชนิดหนึ่งก็คือ มลพิษทางเสียงที่มาจากเรือหางยาวหรือ เรือโดยสารในคลองหลักๆ ของ กทม. กว่า 225ลำ เช่น คลองแสนแสบ 100 คลองพระโขนง 20 คลองผดุงกรุงเกษม 5 (มีต่อ)Summary: คลองลาดพร้าว 60 คลองภาษีเจริญ 20 คลองเปรมประชากร 200 และมีเรือโดยสาร เรือข้ามฟากและเรือส่วนบุคคล ซึ่งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยากว่า 300 ลำ ซึ่งเรือเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางเสียงแตกต่างกันไป ถ้าเรือหางยาวจะเกิดเสียงดัง 100เดซิเบลขึ้นไป เรือโดยสารเกิดเสียงดังกว่า 80เดซิเบลขึ้นไป มลพิษทางเสียงที่สำคัญอีกประการ คือ เสียงดังจากสถานประกอบการ เช่น ร้านอาหาร ดิสโก้เธค โรงงานอุตสาหกรรม และมลพิษจากเครื่องบิน สนามบินก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมลพิษทางเสียง
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางแห่งทุกสรรพสิ่งและก็เป็นศูนย์กลางแห่งปัญหานานับประการด้วย ปัญหาต่างๆ นั้นส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาด้านมลภาวะ ปัญหาประการแรกคือ ปัญหามลพิษทางอากาศ สาเหตุที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ คือ จากการเผาไหม้ไอเสียรถยนต์ เรือหางยาว ที่มีการปล่อยควันพิษออกมา ทำให้เกิดการสะสมตัวของก๊าซพิษต่างๆ เช่น CO2, CO, NO2, CH เป็นต้น จากโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปล่องควันซึ่งมีการกระจายอยู่ทุกพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (มีต่อ)

โดยเฉพาะแถบทางบางขุนเทียน, ภาษีเจริญ, ราษฎร์บูรณะ, หนองแขม, จอมทอง, มีนบุรี, สมุทรปราการ ฯลฯ ซึ่งมีจำนวนกว่า 17,855โรง ในจำนวนนี้ประมาณ 15% เป็นอุตสาหกรรมปล่องควัน จากการก่อสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ โดยเฉพาะการก่อสร้างระบบเครือข่ายขนส่งมวลชนที่กำลังทำอยู่ทั้งลอยฟ้า, บนดินและใต้ดิน ที่มีระบบการควบคุมที่ไม่เข้มงวดพอ ผู้ก่อสร้างเองก็ปล่อยปละละเลยต่อการระมัดระวังการแพร่กระจายของฝุ่นละออง ปัญหาจากการเมรุเผาศพ (มีต่อ)

กรุงเทพมหานครมีฌาปนสถานถึง 303แห่ง ในจำนวนนี้มีฌาปนสถานที่ใช้ฟืนหรือถ่านในการเผาศพมากถึง 175แห่ง ซึ่งไม่มีระบบกำจัดเขม่าควัน และกลิ่นเหม็นจากศพ มีฌาปนสถานที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในการเผาศพจำนวน 126แห่ง และใช้ก๊าซ LP6 เพียง 2แห่ง เท่านั้น และแต่ละเดือนทั้งกรุงเทพมหานครจะมีการเผาศพประมาณ 3,169 ศพ ซึ่งเขม่าควันเหล่านี้เป็นแหล่งก่อมลพิษทางอากาศที่สำคัญ คือ ฝุ่นละออง (SPM) ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOX) คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) (มีต่อ)

ไฮโดรคลอริกซันเฟอร์ไดออกไซค์ (50 Z) สารอินทรีย์และไดออกซิน (Dioxin) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากปัญหามลพิษทางอากาศตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ปัญหามลพิษทางเสียง จากการวิจัยของมูลนิธิป้องกันควันพิษและพิทักษ์สิ่งแวดล้อมพบว่าความเสี่ยงของประชาชนต่อภาวะหูเสื่อมมีค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร ที่มีชั่วโมงการทำงานอยู่บนท้องถนนในระยะเวลานาน พนักงานขับเรือยนต์ เรือหางยาว แม่ค้าหาบเร่แผงลอย (มีต่อ)

ในย่านที่มีปัญหาจราจรติดขัด พบว่า 38% เริ่มมีปัญหาของการได้ยินเสียงที่ต่ำกว่า 40เดซิเบล เอ และ6% มีปัญหาหูตึง และจากการศึกษายังพบอีกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรที่ใช้วิทยุสื่อสารติดหรือเหน็บไว้ที่ไหล่เสมอๆ จะส่งผลต่อสมรรถนะของการได้ยินทางหูด้านนั้นของเจ้าหน้าที่ตำรวจท่านนั้นได้ มลพิษทางเสียงอีกชนิดหนึ่งก็คือ มลพิษทางเสียงที่มาจากเรือหางยาวหรือ เรือโดยสารในคลองหลักๆ ของ กทม. กว่า 225ลำ เช่น คลองแสนแสบ 100 คลองพระโขนง 20 คลองผดุงกรุงเกษม 5 (มีต่อ)

คลองลาดพร้าว 60 คลองภาษีเจริญ 20 คลองเปรมประชากร 200 และมีเรือโดยสาร เรือข้ามฟากและเรือส่วนบุคคล ซึ่งอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยากว่า 300 ลำ ซึ่งเรือเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางเสียงแตกต่างกันไป ถ้าเรือหางยาวจะเกิดเสียงดัง 100เดซิเบลขึ้นไป เรือโดยสารเกิดเสียงดังกว่า 80เดซิเบลขึ้นไป มลพิษทางเสียงที่สำคัญอีกประการ คือ เสียงดังจากสถานประกอบการ เช่น ร้านอาหาร ดิสโก้เธค โรงงานอุตสาหกรรม และมลพิษจากเครื่องบิน สนามบินก็เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดมลพิษทางเสียง