การพัฒนาในกระบวนทรรศ์ใหม่ของสังคมไทย / ศรีสุวรรณ จรรยา

By: ศรีสุวรรณ จรรยาCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | วนเกษตร In: โลกใบใหม่ ปีที่ 11 ฉบับที่ 125 (กุมภาพันธ์ 2543) หน้า 38 - 45Summary: นับแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่1 ประเทศไทยเลือกที่จะพัฒนาเศรษฐกิจโดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม คำว่า"สังคม" ถูกเพิ่มเข้าไปในชื่อของแผนและของคณะกรรมการตั้งแต่ฉบับที่3 และเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่อง "วัฒนธรรม" ในแผนที่7 ซึ่งรายละเอียดว่าด้วยการส่งเสริม "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" และแผนที่8 ที่ว่าด้วย"การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" รัฐบาลไทยเชื่อว่า การเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม (มีต่อ)Summary: แม้จะเป็นการให้โอกาสคนกลุ่มหนึ่งมากกว่าคนกลุ่มอื่นร่ำรวยมากยิ่งขึ้น แต่คนรวยเหล่านี้ก็จะเผื่อแผ่ความร่ำรวยไปสู่คนจน ค่อยๆ ดันพวกเขาขึ้นมาจากสภาพยากจนได้ทีละเล็กละน้อย จนถึงวันนี้แนวคิดดังกล่าวยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริง เพราะประชาชนส่วนใหญ่ที่เคยยากจนก็ยากจนต่อไปหรือยากจนลงไปมากกว่าเดิม กรุงเทพฯ คือสัญลักษณ์ของความล้มเหลวของการพัฒนาในทิศทางที่เป็นอยู่ ไม่ว่าปัญหาการจราจร ปัญหามลพิษ (มีต่อ)Summary: และการดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดไปวันๆ ของคนส่วนใหญ่ หนึ่งในห้าของคนเหล่านี้อาศัยอยู่ในสลัม คนอื่นๆ ซึ่งมีที่อยู่อาศัยดีกว่าก็ใช่ว่าจะมีความสุขหรือความพอใจกับชีวิตในกรุงเทพฯ ต่างพยายามหาทางออกไปจากเมืองใหญ่นี้หากมีทางเลือกที่ดีกว่า ผู้ใหญ่วิบูลย์ ซึ่งอยู่บ้านห้วยหิน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรที่เคยทำงานเป็นคนกลางซื้อขายผลผลิต เคยปลูกมันสำปะหลัง ปลูกฝ้ายและพืชเศรษฐกิจหลายอย่าง แต่ล้มเหลวและเป็นหนี้สิน (มีต่อ)Summary: จนต้องขายที่ดินสองไร่เศษที่มีอยู่เพื่อใช้หนี้ เหลือไว้เก้าไร่เศษเพื่อเริ่มสิ่งที่เขาเรียกมันว่า วนเกษตร เพื่อการมีกินตลอดชีวิต ผลิตเพื่อการยังชีพใช้ชีวิตที่เรียบง่าย วนเกษตรเป็นกระบวนการทางสังคม เป็นการอยู่รวมกันเป็นอำนาจต่อรองหรืออำนาจทางการเมือง ซึ่งชาวบ้านสามารถตัดสินใจได้เอง เป็นฐานเศรษฐกิจและเป็นหลักประกันการมีอยู่มีกินสำหรับปัจเจกบุคคลสำหรับชุมชนหมู่บ้านชนบทตลอดจนประเทศชาติ
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

นับแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่1 ประเทศไทยเลือกที่จะพัฒนาเศรษฐกิจโดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม คำว่า"สังคม" ถูกเพิ่มเข้าไปในชื่อของแผนและของคณะกรรมการตั้งแต่ฉบับที่3 และเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่อง "วัฒนธรรม" ในแผนที่7 ซึ่งรายละเอียดว่าด้วยการส่งเสริม "ภูมิปัญญาท้องถิ่น" และแผนที่8 ที่ว่าด้วย"การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์" รัฐบาลไทยเชื่อว่า การเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม (มีต่อ)

แม้จะเป็นการให้โอกาสคนกลุ่มหนึ่งมากกว่าคนกลุ่มอื่นร่ำรวยมากยิ่งขึ้น แต่คนรวยเหล่านี้ก็จะเผื่อแผ่ความร่ำรวยไปสู่คนจน ค่อยๆ ดันพวกเขาขึ้นมาจากสภาพยากจนได้ทีละเล็กละน้อย จนถึงวันนี้แนวคิดดังกล่าวยังไม่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นจริง เพราะประชาชนส่วนใหญ่ที่เคยยากจนก็ยากจนต่อไปหรือยากจนลงไปมากกว่าเดิม กรุงเทพฯ คือสัญลักษณ์ของความล้มเหลวของการพัฒนาในทิศทางที่เป็นอยู่ ไม่ว่าปัญหาการจราจร ปัญหามลพิษ (มีต่อ)

และการดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอดไปวันๆ ของคนส่วนใหญ่ หนึ่งในห้าของคนเหล่านี้อาศัยอยู่ในสลัม คนอื่นๆ ซึ่งมีที่อยู่อาศัยดีกว่าก็ใช่ว่าจะมีความสุขหรือความพอใจกับชีวิตในกรุงเทพฯ ต่างพยายามหาทางออกไปจากเมืองใหญ่นี้หากมีทางเลือกที่ดีกว่า ผู้ใหญ่วิบูลย์ ซึ่งอยู่บ้านห้วยหิน อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา เป็นเกษตรกรที่เคยทำงานเป็นคนกลางซื้อขายผลผลิต เคยปลูกมันสำปะหลัง ปลูกฝ้ายและพืชเศรษฐกิจหลายอย่าง แต่ล้มเหลวและเป็นหนี้สิน (มีต่อ)

จนต้องขายที่ดินสองไร่เศษที่มีอยู่เพื่อใช้หนี้ เหลือไว้เก้าไร่เศษเพื่อเริ่มสิ่งที่เขาเรียกมันว่า วนเกษตร เพื่อการมีกินตลอดชีวิต ผลิตเพื่อการยังชีพใช้ชีวิตที่เรียบง่าย วนเกษตรเป็นกระบวนการทางสังคม เป็นการอยู่รวมกันเป็นอำนาจต่อรองหรืออำนาจทางการเมือง ซึ่งชาวบ้านสามารถตัดสินใจได้เอง เป็นฐานเศรษฐกิจและเป็นหลักประกันการมีอยู่มีกินสำหรับปัจเจกบุคคลสำหรับชุมชนหมู่บ้านชนบทตลอดจนประเทศชาติ