ปัจจัยที่มีผลต่อการแยกและเพาะเลี้ยงโปรโตพลาสต์ของส้มแขก / ลัดดาวัลย์ มุสิกะปาละ, สมปอง เตชะโต

By: ลัดดาวัลย์ มูสิกะปาละContributor(s): สมปอง เตชะโตCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | ส้มแขก -- วิจัย In: สงขลานครินทร์ วทท ปีที่ 22 ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม 2543) หน้า 411 - 420Summary: ทำการแยกโปรโตพลาสต์จากใบอ่อนส้มแขกที่ได้จากการเพาะเลี้ยงลำต้นบนอาหารสองชั้นเป็นระยะเวลาต่างๆ ตัดใบตามแนวขวางเป็นเส้นขนาดเล็กจุ่มแช่ในสารละลายเอนไซม์ที่ประกอบด้วย cellulase Onozuka R-10 และ macerozyme R-10 ความเข้มข้นต่างๆ ทำการอินคิวเบทในสารละลายเอนไซม์ปริมาตร 10 มล. บนเครื่องเขย่าด้วย (มีต่อ)Summary: ความเร็ว 40รอบ/นาที ในที่มืด หลังจากอินคิวเบทเป็นเวลา 12ชั่วโมง นำมาแยกโปรโตพลาสต์ นับจำนวนเปรียบเทียบกันปรับความหนาแน่นและเลี้ยงในอาหารเติมสารควบคุมการเจริญเติบโตชนิดและความเข้มข้นต่างๆ พบว่า การใช้ใบที่มีอายุ 3เดือน หลังเติมอาหารเหลว อินคิวเบทในสารละลายเอนไซม์ cellulese Onozuka R-10 2% และ (มีต่อ)Summary: macerozyme R-10 1% ให้จำนวนโปรโตพลาสต์สูง 1.25x10 /กรัมน้ำหนักสด และความมีชีวิตสูงสุด 91.19% การเลี้ยงแบบฝังในอาหารสูตร MS เติม Phytagel 0.2% น้ำตาลซูโครส 3% แมนนิทอล 0.7โมลาร์ dicamba 0.5มก./ล และBA 1มก./ล ส่งเสริมการแบ่งเซลล์ได้ดีที่สุด (มีต่อ)Summary: อายุของใบและความหนาแน่นในการเลี้ยงเริ่มต้นมีผลกระทบต่อพัฒนาการของโปรโตพลาสต์คือ เลี้ยงโปรโตพลาสต์จากใบที่มีอายุ 1เดือน ด้วยความหนาแน่น 1.5x10ยกกำลัง5 /มล. ในอาหารดังกล่าวส่งเสริมการสร้างโคโลนีขนาดเล็กได้หลังจากการเลี้ยงเป็นเวลา 4สัปดาห์
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ทำการแยกโปรโตพลาสต์จากใบอ่อนส้มแขกที่ได้จากการเพาะเลี้ยงลำต้นบนอาหารสองชั้นเป็นระยะเวลาต่างๆ ตัดใบตามแนวขวางเป็นเส้นขนาดเล็กจุ่มแช่ในสารละลายเอนไซม์ที่ประกอบด้วย cellulase Onozuka R-10 และ macerozyme R-10 ความเข้มข้นต่างๆ ทำการอินคิวเบทในสารละลายเอนไซม์ปริมาตร 10 มล. บนเครื่องเขย่าด้วย (มีต่อ)

ความเร็ว 40รอบ/นาที ในที่มืด หลังจากอินคิวเบทเป็นเวลา 12ชั่วโมง นำมาแยกโปรโตพลาสต์ นับจำนวนเปรียบเทียบกันปรับความหนาแน่นและเลี้ยงในอาหารเติมสารควบคุมการเจริญเติบโตชนิดและความเข้มข้นต่างๆ พบว่า การใช้ใบที่มีอายุ 3เดือน หลังเติมอาหารเหลว อินคิวเบทในสารละลายเอนไซม์ cellulese Onozuka R-10 2% และ (มีต่อ)

macerozyme R-10 1% ให้จำนวนโปรโตพลาสต์สูง 1.25x10 /กรัมน้ำหนักสด และความมีชีวิตสูงสุด 91.19% การเลี้ยงแบบฝังในอาหารสูตร MS เติม Phytagel 0.2% น้ำตาลซูโครส 3% แมนนิทอล 0.7โมลาร์ dicamba 0.5มก./ล และBA 1มก./ล ส่งเสริมการแบ่งเซลล์ได้ดีที่สุด (มีต่อ)

อายุของใบและความหนาแน่นในการเลี้ยงเริ่มต้นมีผลกระทบต่อพัฒนาการของโปรโตพลาสต์คือ เลี้ยงโปรโตพลาสต์จากใบที่มีอายุ 1เดือน ด้วยความหนาแน่น 1.5x10ยกกำลัง5 /มล. ในอาหารดังกล่าวส่งเสริมการสร้างโคโลนีขนาดเล็กได้หลังจากการเลี้ยงเป็นเวลา 4สัปดาห์