การชักนำการกลายพันธุ์มังคุดโดยใช้โคลชิซินกับใช้ตายอดที่เพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง / สมปอง เตชะโต, ราตรี สุจารีย์

By: สมปอง เตชะโตContributor(s): ราตรี สุจารีย์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | มังคุด -- วิจัย | เนื้อเยื่อ, การเพาะเลี้ยง In: สงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน 2542) หน้า 155 - 167Summary: ทำการเลี้ยงตายอดของมังคุดบนอาหารที่มีโคลชิซินความเข้มข้น 0-10,000 มก./ล. เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ถึง 30 วัน ในสภาพปลอดเชื้อเพื่อชักนำการเพิ่มชุดโครโมโซมในอันที่จะก่อกลายพันธุ์ เมื่อเลี้ยงตายอดในอาหารเติมโคลชิซิน 1,500 มก./ล.เป็นเวลา 2 ชั่วโมงพบว่า จำนวนยอดเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ขนาดยอด จำนวนราก จำนวนใบ และพื้นที่ใบมีความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อตรวจสอบปริมาณคลอโรฟิลล์พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์ a เพิ่มขึ้น (มีต่อ)Summary: และเมื่อเพิ่มเวลาในการเลี้ยงเป็น 10 ชั่วโมง และเพิ่มความเข้มข้นเป็น 3,000-10,000 มก./ล. พบว่าเปอร์เซ็นต์การสร้างยอดลดลง แต่ปริมาณคลอโรฟิลล์ a และคลอโรฟิลล์ทั้งหมดเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเพิ่มเวลาในการเลี้ยงเป็น 30 วัน พบว่า จำนวนยอดเฉลี่ย และการรอดชีวิตของตายอดลดลง โคลชิซินเข้มข้น 500 750 และ 1,000 มก./ล. ที่เวลาข้างต้น ส่งผลให้ความยาวรากเพิ่มขึ้น และจำนวนใบลดลง ส่วนปริมาณคลอโรฟิลล์ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของโคลชิซินเป็น 3,000 6,000 และ 10,000 มก/ล.(มีต่อ)Summary: ทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตโดยเฉพาะความเข้มข้น 10,000 มก./ล. มียอดรอดชีวิตเพียง 12% ใบร่วง และชะงักการเจริญเติบโตเมื่อตรวจสอบเซลล์ปลายราก พบว่าไม่สามารถตรวจสอบความแตกต่างได้ เนื่องจากโครโมโซมมีขนาดเล็ก นับจำนวนไม่ได้ เมื่อตรวจสอบจำนวนและขนาดของเซลล์ปากใบพบว่า การเลี้ยงตายอดในอาหารเติมโคลชิซินเข้มข้น 750 และ 1,000 มก./ล. เป็นเวลา 30 วัน มีเซลล์ปากใบบางเซลล์ใหญ่กว่า และมีสีเข้มกว่าปกติ สำหรับการตรวจสอบความแตกต่างโดยใช้เอนไซม์ 4 ระบบ พบว่าเอนไซม์เปอร์ออกซิเดส และเอสเทอเรสสามารถบอกความแตกต่างได้
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ทำการเลี้ยงตายอดของมังคุดบนอาหารที่มีโคลชิซินความเข้มข้น 0-10,000 มก./ล. เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ถึง 30 วัน ในสภาพปลอดเชื้อเพื่อชักนำการเพิ่มชุดโครโมโซมในอันที่จะก่อกลายพันธุ์ เมื่อเลี้ยงตายอดในอาหารเติมโคลชิซิน 1,500 มก./ล.เป็นเวลา 2 ชั่วโมงพบว่า จำนวนยอดเฉลี่ยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ขนาดยอด จำนวนราก จำนวนใบ และพื้นที่ใบมีความแตกต่างกันทางสถิติ เมื่อตรวจสอบปริมาณคลอโรฟิลล์พบว่า ปริมาณคลอโรฟิลล์ a เพิ่มขึ้น (มีต่อ)

และเมื่อเพิ่มเวลาในการเลี้ยงเป็น 10 ชั่วโมง และเพิ่มความเข้มข้นเป็น 3,000-10,000 มก./ล. พบว่าเปอร์เซ็นต์การสร้างยอดลดลง แต่ปริมาณคลอโรฟิลล์ a และคลอโรฟิลล์ทั้งหมดเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเพิ่มเวลาในการเลี้ยงเป็น 30 วัน พบว่า จำนวนยอดเฉลี่ย และการรอดชีวิตของตายอดลดลง โคลชิซินเข้มข้น 500 750 และ 1,000 มก./ล. ที่เวลาข้างต้น ส่งผลให้ความยาวรากเพิ่มขึ้น และจำนวนใบลดลง ส่วนปริมาณคลอโรฟิลล์ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของโคลชิซินเป็น 3,000 6,000 และ 10,000 มก/ล.(มีต่อ)

ทำให้เปอร์เซ็นต์การรอดชีวิตโดยเฉพาะความเข้มข้น 10,000 มก./ล. มียอดรอดชีวิตเพียง 12% ใบร่วง และชะงักการเจริญเติบโตเมื่อตรวจสอบเซลล์ปลายราก พบว่าไม่สามารถตรวจสอบความแตกต่างได้ เนื่องจากโครโมโซมมีขนาดเล็ก นับจำนวนไม่ได้ เมื่อตรวจสอบจำนวนและขนาดของเซลล์ปากใบพบว่า การเลี้ยงตายอดในอาหารเติมโคลชิซินเข้มข้น 750 และ 1,000 มก./ล. เป็นเวลา 30 วัน มีเซลล์ปากใบบางเซลล์ใหญ่กว่า และมีสีเข้มกว่าปกติ สำหรับการตรวจสอบความแตกต่างโดยใช้เอนไซม์ 4 ระบบ พบว่าเอนไซม์เปอร์ออกซิเดส และเอสเทอเรสสามารถบอกความแตกต่างได้