"ฟัน" แซงหน้า"ฮั้ว" / สมเกียรติ บุญศิริ

By: สมเกียรติ บุญศิริCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | เศรษฐกิจ In: ข่าวช่าง ปีที่ 27 ฉบับที่ 327 (สิงหาคม 2542) หน้า 44-47Summary: ความเป็นคู่กันของสิ่งของบางสิ่ง แทบแยกกันไม่ออก ฮั้วจึงมาคู่กับฟัน ทั้งสองกรณีเกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระกัน ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และช่วงนี้สภาวะการฟันราคา เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา ตามความรุนแรงของสภาวะเศรษฐกิจ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้าย ทำให้ผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง โดนพิษเศรษฐกิจกระหน่ำจนล้มหายไปจำนวนหนึ่ง สำหรับผู้ที่รักษาตัวรอดมาในวันนี้ ต้องเผชิญกับปัญหางบประมาณก่อสร้างภาครัฐที่ลดน้อยลง (มีต่อ)Summary: ส่วนงานก่อสร้างภาคเอกชนไม่ต้องพูดถึงเพราะแทบไม่มีเหลือให้เห็น ดังนั้นเพื่อต่อลมหายใจของตนเองออกไปอีก ต่างจึงต้องตกอยู่ในสภาพการณ์ต่อสู้ช่วงชิงงาน จนกระทั่งนำไปสู่การฟาดฟันราคากัน จากการรวบรวมข้อมูล การประมูลงานจากหนังสือศูนย์รวมข่าว ในการประมูลงานของทางหน่วยงานราชการเป็นงานที่ต่ำกว่าราคากลางมากที่สุด คือ งานขุดลอกคลองไผ่ จากคลองทวีวัฒนาถึงคลองพระยามนตรี เกี่ยวกับเรื่องนี้ สำหรับผู้ประกอบการด้วยกันแล้วคงบังคับกันไม่ได้ (มีต่อ)Summary: แต่ในส่วนราชการเองแล้ว สามารถป้องกันปัญหาผู้รับเหมาละทิ้งงานหรือกลัวว่าจะทำงานไม่สำเร็จได้โดยอาศัยระเบียบพัสดุฯ ที่ว่าในการประกวดราคาที่ราคาต่ำกว่าปกติผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ มีหน้าที่ที่จะต้องพิจารณาตรวจสอบความเป็นไปได้ของผู้เสนอราคา สำหรับผลของการที่มีการตัดราคากันทีอาจนำไปสู่การทิ้งงานโดยเจตนาหรือเพื่อที่จะได้งานแล้วหนีหรือเอางานไปขายต่อแล้วหนี หรือเพื่อที่จะได้เงินล่วงหน้ามาก่อนเพื่อนำไปทำงานเก่าที่มีปัญหาก็ตาม (มีต่อ)Summary: ปัญหาเหล่านี้ทำให้ในการพยายามที่จะผลักดันให้มีจ่ายเงินล่วงหน้าจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้น ต้องชะลอไว้เพราะในการพิจารณาได้คำนึงถึงปัญหาดังกล่าวประกอบด้วยเช่นกัน ฉะนั้นจึงเชื่อว่าผู้รับเหมาสามารถทำได้ โดยเงินที่ได้มาอาจจะไม่ครอบคลุมเงินที่ซื้อเครื่องจักรใหม่ เพียงคุ้มค่าต้นทุนปฏิบัติการณ์เท่านั้น ซึ่งการทำเช่นนี้มีข้อจำกัดที่ว่าสามารถทำได้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ความเป็นคู่กันของสิ่งของบางสิ่ง แทบแยกกันไม่ออก ฮั้วจึงมาคู่กับฟัน ทั้งสองกรณีเกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระกัน ตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และช่วงนี้สภาวะการฟันราคา เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา ตามความรุนแรงของสภาวะเศรษฐกิจ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้าย ทำให้ผู้ประกอบอาชีพงานก่อสร้าง โดนพิษเศรษฐกิจกระหน่ำจนล้มหายไปจำนวนหนึ่ง สำหรับผู้ที่รักษาตัวรอดมาในวันนี้ ต้องเผชิญกับปัญหางบประมาณก่อสร้างภาครัฐที่ลดน้อยลง (มีต่อ)

ส่วนงานก่อสร้างภาคเอกชนไม่ต้องพูดถึงเพราะแทบไม่มีเหลือให้เห็น ดังนั้นเพื่อต่อลมหายใจของตนเองออกไปอีก ต่างจึงต้องตกอยู่ในสภาพการณ์ต่อสู้ช่วงชิงงาน จนกระทั่งนำไปสู่การฟาดฟันราคากัน จากการรวบรวมข้อมูล การประมูลงานจากหนังสือศูนย์รวมข่าว ในการประมูลงานของทางหน่วยงานราชการเป็นงานที่ต่ำกว่าราคากลางมากที่สุด คือ งานขุดลอกคลองไผ่ จากคลองทวีวัฒนาถึงคลองพระยามนตรี เกี่ยวกับเรื่องนี้ สำหรับผู้ประกอบการด้วยกันแล้วคงบังคับกันไม่ได้ (มีต่อ)

แต่ในส่วนราชการเองแล้ว สามารถป้องกันปัญหาผู้รับเหมาละทิ้งงานหรือกลัวว่าจะทำงานไม่สำเร็จได้โดยอาศัยระเบียบพัสดุฯ ที่ว่าในการประกวดราคาที่ราคาต่ำกว่าปกติผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ มีหน้าที่ที่จะต้องพิจารณาตรวจสอบความเป็นไปได้ของผู้เสนอราคา สำหรับผลของการที่มีการตัดราคากันทีอาจนำไปสู่การทิ้งงานโดยเจตนาหรือเพื่อที่จะได้งานแล้วหนีหรือเอางานไปขายต่อแล้วหนี หรือเพื่อที่จะได้เงินล่วงหน้ามาก่อนเพื่อนำไปทำงานเก่าที่มีปัญหาก็ตาม (มีต่อ)

ปัญหาเหล่านี้ทำให้ในการพยายามที่จะผลักดันให้มีจ่ายเงินล่วงหน้าจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้น ต้องชะลอไว้เพราะในการพิจารณาได้คำนึงถึงปัญหาดังกล่าวประกอบด้วยเช่นกัน ฉะนั้นจึงเชื่อว่าผู้รับเหมาสามารถทำได้ โดยเงินที่ได้มาอาจจะไม่ครอบคลุมเงินที่ซื้อเครื่องจักรใหม่ เพียงคุ้มค่าต้นทุนปฏิบัติการณ์เท่านั้น ซึ่งการทำเช่นนี้มีข้อจำกัดที่ว่าสามารถทำได้เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น