โปแตสเซียมคลอเรตระเบิด บทความล้มเหลวในการจัดการสารเคมีของไทย / เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์

By: เกื้อเมธา ฤกษ์พรพิพัฒน์Call Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | สารเคมี In: โลกสีเขียว ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 (กันยายน-ตุลาคม 2542) หน้า 16 - 17Summary: เหตุการณ์สารโปแตสเซียมคลอเรตระเบิดที่โรงงานอบลำไยของบริษัทหงไทยเกษตรพัฒนา จำกัด ใน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 19กันยายน ที่ผ่านมา นอกจากจะคร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมากแล้วยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกนับร้อย รวมทั้งเผาผลาญทรัพย์สินและบ้านเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยเป็นรัศมีวงกว้างกว่า (มีต่อ)Summary: 1กิโลเมตร นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุร้ายแรงครั้งแรกที่เกิดจากอันตรายของเคมีวัตถุ หากแต่เป็นโศกนาฏกรรมซ้ำซากบนความล้มเหลวในการจัดการสารเคมีของหน่วยงานราชการไทย สาเหตุของการระเบิดดังกล่าว เชื่อว่าเกิดจากที่คนงานในโรงงานผสมสารโปแตสเซียมคลอเรตกับกำมะถันเพื่อทำปุ๋ยจำหน่ายแก่เกษตรกรสำหรับใช้เร่งลำไย (มีต่อ)Summary: ให้ออกผลนอกฤดูกาล โดยขณะที่กำลังผสมสารในโม่อยู่นั้นสารต่างๆ เกิดการเสียดสีกันจนเกิดความร้อนและประกายไฟอันเป็นต้นเหตุของการระเบิดอย่างรุนแรง แรงสนับสนุนประการหนึ่ง ที่ทำให้เกษตรกรหันมาใช้โปแตสเซียมคลอเรตกันมากขึ้น เนื่องจากการที่กรมวิชาการเกษตร ได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรหลายจังหวัดภาคเหนือ (มีต่อ)Summary: ทราบถึงการใช้สอยประโยชน์และขั้นตอนการขออนุญาติจากกระทรวงกลาโหม ทว่าเกษตรกรส่วนใหญ่กลับไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยมีเกษตรกรเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ยื่นขอรับใบอนุญาติ ขณะที่มีการลักลอบใช้อย่างแพร่หลายในหมู่เกษตรกรทั่วไป อย่างไรก็ดี หลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นกระทรวงกลาโหมได้ออกมา (มีต่อ)Summary: ชี้แจงถึงเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นว่านายประธาน ตรีฉัตร ผู้จัดการโรงงานหงไทยเกษตรพัฒนา ซึ่งได้รับอนุญาติจากกระทรวงกลาโหมให้มีโปแตสเซียมคลอเรตไว้ในครอบครองเพื่อใช้ในการผสมปุ๋ยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพราะได้มีการขนย้ายสารจากสถานที่เดิมที่เจ้าหน้าที่กรมการอุตสาหกรรมทหารเคยตรวจสอบ ไปยังสถานที่ (มีต่อ)Summary: แห่งใหม่โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ ซึ่งถือเป็นการกระทำโดยพละการ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม กล่าววิจารณ์แผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2540-2544 ว่าขาดประสิทธิภาพในการรองรับปัญหาด้านเคมีวัตถุ แต่แผนดังกล่าวนอกจาก (มีต่อ)Summary: จะขาดความครอบคลุมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ยังคงมีการทำงานแบบแยกส่วนของแต่ละหน่วยงาน และตามไม่ทันกับปัญหาเพราะเมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้น ก็ยังคงหาหน่วยงานที่รับผิดชอบปัญหาโดยตรงไม่ได้ จะเห็นได้ว่า ความบกพร่องของหน่วยงานราชการไทย (มีต่อ)Summary: ในการจัดการสารเคมียังปรากฎให้เห็นชัด ทั้งด้านแนวทางการป้องกันแก้ไขและชดเชย หรือช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งพอจะเป็นลางบอกเหตุได้ว่า อุบัติภัยเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นอีก หากแต่ยังไม่รู้ว่าเป็นสถานที่ใด
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

เหตุการณ์สารโปแตสเซียมคลอเรตระเบิดที่โรงงานอบลำไยของบริษัทหงไทยเกษตรพัฒนา จำกัด ใน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 19กันยายน ที่ผ่านมา นอกจากจะคร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมากแล้วยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกนับร้อย รวมทั้งเผาผลาญทรัพย์สินและบ้านเรือนของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยเป็นรัศมีวงกว้างกว่า (มีต่อ)

1กิโลเมตร นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุร้ายแรงครั้งแรกที่เกิดจากอันตรายของเคมีวัตถุ หากแต่เป็นโศกนาฏกรรมซ้ำซากบนความล้มเหลวในการจัดการสารเคมีของหน่วยงานราชการไทย สาเหตุของการระเบิดดังกล่าว เชื่อว่าเกิดจากที่คนงานในโรงงานผสมสารโปแตสเซียมคลอเรตกับกำมะถันเพื่อทำปุ๋ยจำหน่ายแก่เกษตรกรสำหรับใช้เร่งลำไย (มีต่อ)

ให้ออกผลนอกฤดูกาล โดยขณะที่กำลังผสมสารในโม่อยู่นั้นสารต่างๆ เกิดการเสียดสีกันจนเกิดความร้อนและประกายไฟอันเป็นต้นเหตุของการระเบิดอย่างรุนแรง แรงสนับสนุนประการหนึ่ง ที่ทำให้เกษตรกรหันมาใช้โปแตสเซียมคลอเรตกันมากขึ้น เนื่องจากการที่กรมวิชาการเกษตร ได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรหลายจังหวัดภาคเหนือ (มีต่อ)

ทราบถึงการใช้สอยประโยชน์และขั้นตอนการขออนุญาติจากกระทรวงกลาโหม ทว่าเกษตรกรส่วนใหญ่กลับไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยมีเกษตรกรเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่ยื่นขอรับใบอนุญาติ ขณะที่มีการลักลอบใช้อย่างแพร่หลายในหมู่เกษตรกรทั่วไป อย่างไรก็ดี หลังจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดขึ้นกระทรวงกลาโหมได้ออกมา (มีต่อ)

ชี้แจงถึงเหตุระเบิดที่เกิดขึ้นว่านายประธาน ตรีฉัตร ผู้จัดการโรงงานหงไทยเกษตรพัฒนา ซึ่งได้รับอนุญาติจากกระทรวงกลาโหมให้มีโปแตสเซียมคลอเรตไว้ในครอบครองเพื่อใช้ในการผสมปุ๋ยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเพราะได้มีการขนย้ายสารจากสถานที่เดิมที่เจ้าหน้าที่กรมการอุตสาหกรรมทหารเคยตรวจสอบ ไปยังสถานที่ (มีต่อ)

แห่งใหม่โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ ซึ่งถือเป็นการกระทำโดยพละการ เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาและรณรงค์มลภาวะอุตสาหกรรม กล่าววิจารณ์แผนแม่บทพัฒนาความปลอดภัยด้านเคมีวัตถุแห่งชาติ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2540-2544 ว่าขาดประสิทธิภาพในการรองรับปัญหาด้านเคมีวัตถุ แต่แผนดังกล่าวนอกจาก (มีต่อ)

จะขาดความครอบคลุมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว ยังคงมีการทำงานแบบแยกส่วนของแต่ละหน่วยงาน และตามไม่ทันกับปัญหาเพราะเมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้น ก็ยังคงหาหน่วยงานที่รับผิดชอบปัญหาโดยตรงไม่ได้ จะเห็นได้ว่า ความบกพร่องของหน่วยงานราชการไทย (มีต่อ)

ในการจัดการสารเคมียังปรากฎให้เห็นชัด ทั้งด้านแนวทางการป้องกันแก้ไขและชดเชย หรือช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ซึ่งพอจะเป็นลางบอกเหตุได้ว่า อุบัติภัยเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นอีก หากแต่ยังไม่รู้ว่าเป็นสถานที่ใด