ความไม่พร้อมของไทยในการเจรจาเพื่อคุ้มครองพันธุ์พืช / เดือนเพ็ญ ลิ้มศรีตระกูล

By: เดือนเพ็ญ ลิ้มศรีตระกูลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช In: โลกสีเขียว ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2542) หน้า 36 - 43Summary: ในปี 2537 ประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาได้ถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับรูปแบบการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชในระหว่างการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงทริปส์ (ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า =Trade 3Related Aspects of Intellectual Property Rights : TRIPs) ในที่สุดก็กำหนดให้ประเทศ (มีต่อ)Summary: สมาชิกขององค์กรการค้าโลกกลับมาพิจารณาทบทวนเรื่องนี้อีกครั้งในปี 2542 โดยระหว่างนี้สมาชิกสามารถจะเลือกให้การคุ้มครองพันธุ์พืชโดยสิทธิบัตร (Patent) หรือโดยระบบกฎหมายเฉพาะ (SuiGeneris) ที่มีประสิทธิผลหรือโดยการรวมวิธีต่างๆ ดังกล่าวก็ได้ ภายหลังจากมีการตกลงทริปส์ ประเทศไทยก็ได้มีความพยายามผลักดัน (มีต่อ)Summary: ให้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งใช้รูปแบบกฎหมายเฉพาะออกมามีผลบังคับใช้โดยเร็ว แต่แม้เวลาจะผ่านมาจนครบกำหนดที่จะต้องมีการทบทวนบทบัญญัติที่ว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืช ปรากฎว่าร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่สามารถออกมาบังคับใช้ได้ มิหนำซ้ำภาค (มีต่อ)Summary: รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภายในกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะต้องเป็นตัวแทนประเทศไปร่วมการทบทวนครั้งนี้ก็ยังมิได้มีการเตรียมการใดๆ ทั้งๆ ที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ข่าวคราวการนำทรัพยากรชีวภาพของไทยไปพัฒนาและจดสิทธิบัตรเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยคนไทยไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ซึ่งหลายกรณีเกี่ยวข้อง (มีต่อ)Summary: กับเรื่องพืชโดยตรง มีปรากฏให้เห็นหลายกรณี ขณะที่กระแสจากกลุ่มประเทศพัฒนาอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปมีความชัดเจนที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในความตกลงทริปส์ โดยมุ่งหวังที่จะตัดระบบกฎหมายเฉพาะออกไป ให้คงเหลือไว้แต่การคุ้มครองพันธุ์พืชโดยระบบสิทธิบัตร ซึ่งจะให้ผล (มีต่อ)Summary: ประโยชน์ตอบแทนสูงต่อเจ้าของสิทธิบัตรเท่านั้น ส่วนเจ้าของทรัพยากรพื้นฐาน ซึ่งประเทศพัฒนาต่างๆนำไปเป็นฐานในการต่อยอด เพื่อการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆ จะไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ท่าทีที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างฝ่ายรุกกับฝ่ายรับดังกล่าว (มีต่อ)Summary: แสดงให้เห็นว่าหากราชการไทยยังไม่ลุกขึ้นเตรียมการเพื่อป้องกันทรัพยากรอันมีค่าของประเทศ ณ บัดนี้ ถึงที่สุดแล้วคนที่ต้องเจ็บก็คงหนีไม่พ้นคนไทยทุกคน
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ในปี 2537 ประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาได้ถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับรูปแบบการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชในระหว่างการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงทริปส์ (ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า =Trade 3Related Aspects of Intellectual Property Rights : TRIPs) ในที่สุดก็กำหนดให้ประเทศ (มีต่อ)

สมาชิกขององค์กรการค้าโลกกลับมาพิจารณาทบทวนเรื่องนี้อีกครั้งในปี 2542 โดยระหว่างนี้สมาชิกสามารถจะเลือกให้การคุ้มครองพันธุ์พืชโดยสิทธิบัตร (Patent) หรือโดยระบบกฎหมายเฉพาะ (SuiGeneris) ที่มีประสิทธิผลหรือโดยการรวมวิธีต่างๆ ดังกล่าวก็ได้ ภายหลังจากมีการตกลงทริปส์ ประเทศไทยก็ได้มีความพยายามผลักดัน (มีต่อ)

ให้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งใช้รูปแบบกฎหมายเฉพาะออกมามีผลบังคับใช้โดยเร็ว แต่แม้เวลาจะผ่านมาจนครบกำหนดที่จะต้องมีการทบทวนบทบัญญัติที่ว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืช ปรากฎว่าร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่สามารถออกมาบังคับใช้ได้ มิหนำซ้ำภาค (มีต่อ)

รัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานภายในกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งจะต้องเป็นตัวแทนประเทศไปร่วมการทบทวนครั้งนี้ก็ยังมิได้มีการเตรียมการใดๆ ทั้งๆ ที่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ข่าวคราวการนำทรัพยากรชีวภาพของไทยไปพัฒนาและจดสิทธิบัตรเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยคนไทยไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ซึ่งหลายกรณีเกี่ยวข้อง (มีต่อ)

กับเรื่องพืชโดยตรง มีปรากฏให้เห็นหลายกรณี ขณะที่กระแสจากกลุ่มประเทศพัฒนาอย่างสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปมีความชัดเจนที่จะผลักดันให้มีการแก้ไขบทบัญญัติในความตกลงทริปส์ โดยมุ่งหวังที่จะตัดระบบกฎหมายเฉพาะออกไป ให้คงเหลือไว้แต่การคุ้มครองพันธุ์พืชโดยระบบสิทธิบัตร ซึ่งจะให้ผล (มีต่อ)

ประโยชน์ตอบแทนสูงต่อเจ้าของสิทธิบัตรเท่านั้น ส่วนเจ้าของทรัพยากรพื้นฐาน ซึ่งประเทศพัฒนาต่างๆนำไปเป็นฐานในการต่อยอด เพื่อการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆ จะไม่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ท่าทีที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดระหว่างฝ่ายรุกกับฝ่ายรับดังกล่าว (มีต่อ)

แสดงให้เห็นว่าหากราชการไทยยังไม่ลุกขึ้นเตรียมการเพื่อป้องกันทรัพยากรอันมีค่าของประเทศ ณ บัดนี้ ถึงที่สุดแล้วคนที่ต้องเจ็บก็คงหนีไม่พ้นคนไทยทุกคน