ใช้พลังงานทดแทนคุ้มค่ากว่า เชื้อไฟจากโรงไฟฟ้าหินกรูด / เดือนเพ็ญ ลิ้มศรีตระกูล

By: เดือนเพ็ญ ลิ้มศรีตระกูลCall Number: INDEX Material type: ArticleArticleSubject(s): SCI-TECH | พลังงานไฟฟ้า | พลังงาน In: โลกสีเขียว ปีที่ 8 ฉบับที่ 4 (กันยายน-ตุลาคม 2542) หน้า 12 - 13Summary: ไม่ใช่เพียงโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เท่านั้น ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคมไทยแต่ที่ผ่านมายังมีโครงการพลังงานอื่นๆ อีกมากมายที่ก่อให้เกิดปัญหา ด้วยเหตุนี้ "เครือข่ายพลังงานยั่งยืน" จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง"ทางเลือกในการพัฒนาพลังงานยั่งยืน กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัด (มีต่อ)Summary: ประจวบคีรีขันธ์" เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้พลังงานทางเลือกรูปแบบอื่นกับพลังงานจากโรงไฟฟ้าหินกรูด ของบริษัทยูเนียน พาวเวอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด เพื่อนำเสนอเป้นทางเลือกในการแก้ปัญหาด้านพลังงาน เดชรัต กำเนิดสุข อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงแบบจำลองแนวคิดและชนิด (มีต่อ)Summary: พลังงานทางเลือก ที่นำมาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบครั้งนี้ว่า ต้องเป็นรูปแบบที่ให้พลังงานเพียงพอ โดยมีต้นทุนสมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพสูงมีสัดส่วนการนำเข้าต่ำ และหากเป็นไปได้น่าจะเป็นพลังงานที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการส่งออกได้ด้วย รวมถึงน่าจะมีการจ้างงานที่ดีขึ้นและเพิ่มขึ้นให้ผลประโยชน์แก่ (มีต่อ)Summary: งบประมาณภาครัฐ เสริมสร้างการพัฒนาชนบท กระจายอำนาจในการวางแผนการตัดสินใจไปสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น สุดท้ายคือ การมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้โดยผู้วางแผนพลังงานในประเทศมากเท่าที่ควร และเนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าเกินอยู่ ซึ่งเราได้คำนวณ (มีต่อ)Summary: คร่าวๆ ว่าหากไม่มีโรงไฟฟ้าของบริษัทยูเนียน พาวเวอร์ฯ ประเทศไทยจะมีปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าอย่างเร็วที่สุดในอีก 10ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นพลังงานทางเลือกที่เราจะสร้างขึ้นได้ภายในระยะเวลา 10ปี โดยเรากำหนดให้มีการพัฒนาด้านประสิทธิภาพและเทคโนโลยี (มีต่อ)Summary: ขึ้นมาด้วย อาจารย์เดชริตกล่าว ดร. พงษ์พิศิษฐ์ วิเศษกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) กล่าวว่า แนวคิดในการทำการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวคิดที่ถูกต้อง แต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ "ปัจจุบัน สพช. พยายามผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าที่เป็นพลังงานทดแทน (มีต่อ)Summary: แต่มีปัญหาในเรื่องเชื้อเพลิงในการผลิต โดยเฉพาะพลังงานชีวมวลที่ได้จากแกลบชานอ้อย จะเกิดขึ้นเป็นฤดูกาล" ดร.พงษ์พิสิษฐ์กล่าว ด้านไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ที่ปรึกษาผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการประชาพิจารณ์โรงไฟฟ้าถ่านหินประจวบฯ แสดงความคิดเห็นที่มีต่อรายงานการศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่า (มีต่อ)Summary: "ทุกวันนี้โครงการยังไม่เกิด เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากทดลองทำโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยชีวมวลมาคุยกับผมได้ แล้วไม่ต้องกลัวว่าจะมีปัญหาเรื่องเชื้อเพลิงเพราะขยะกทม. มีสม่ำเสมอแน่และเพิ่มขึ้นทุกปีด้วย" สพช.น่าจะลองดู คนไทยอาจจมีโอกาสได้ใช้พลังงานทางเลือกเร็วขึ้น
Star ratings
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ไม่ใช่เพียงโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เท่านั้น ที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคมไทยแต่ที่ผ่านมายังมีโครงการพลังงานอื่นๆ อีกมากมายที่ก่อให้เกิดปัญหา ด้วยเหตุนี้ "เครือข่ายพลังงานยั่งยืน" จึงได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง"ทางเลือกในการพัฒนาพลังงานยั่งยืน กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าถ่านหินจังหวัด (มีต่อ)

ประจวบคีรีขันธ์" เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการใช้พลังงานทางเลือกรูปแบบอื่นกับพลังงานจากโรงไฟฟ้าหินกรูด ของบริษัทยูเนียน พาวเวอร์ ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด เพื่อนำเสนอเป้นทางเลือกในการแก้ปัญหาด้านพลังงาน เดชรัต กำเนิดสุข อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวถึงแบบจำลองแนวคิดและชนิด (มีต่อ)

พลังงานทางเลือก ที่นำมาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบครั้งนี้ว่า ต้องเป็นรูปแบบที่ให้พลังงานเพียงพอ โดยมีต้นทุนสมเหตุสมผล มีประสิทธิภาพสูงมีสัดส่วนการนำเข้าต่ำ และหากเป็นไปได้น่าจะเป็นพลังงานที่สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการส่งออกได้ด้วย รวมถึงน่าจะมีการจ้างงานที่ดีขึ้นและเพิ่มขึ้นให้ผลประโยชน์แก่ (มีต่อ)

งบประมาณภาครัฐ เสริมสร้างการพัฒนาชนบท กระจายอำนาจในการวางแผนการตัดสินใจไปสู่ท้องถิ่นให้มากขึ้น สุดท้ายคือ การมีสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเงื่อนไขต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาใช้โดยผู้วางแผนพลังงานในประเทศมากเท่าที่ควร และเนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้าเกินอยู่ ซึ่งเราได้คำนวณ (มีต่อ)

คร่าวๆ ว่าหากไม่มีโรงไฟฟ้าของบริษัทยูเนียน พาวเวอร์ฯ ประเทศไทยจะมีปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าอย่างเร็วที่สุดในอีก 10ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นพลังงานทางเลือกที่เราจะสร้างขึ้นได้ภายในระยะเวลา 10ปี โดยเรากำหนดให้มีการพัฒนาด้านประสิทธิภาพและเทคโนโลยี (มีต่อ)

ขึ้นมาด้วย อาจารย์เดชริตกล่าว ดร. พงษ์พิศิษฐ์ วิเศษกุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน สำนักงานนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) กล่าวว่า แนวคิดในการทำการศึกษาครั้งนี้เป็นแนวคิดที่ถูกต้อง แต่ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ "ปัจจุบัน สพช. พยายามผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าที่เป็นพลังงานทดแทน (มีต่อ)

แต่มีปัญหาในเรื่องเชื้อเพลิงในการผลิต โดยเฉพาะพลังงานชีวมวลที่ได้จากแกลบชานอ้อย จะเกิดขึ้นเป็นฤดูกาล" ดร.พงษ์พิสิษฐ์กล่าว ด้านไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ที่ปรึกษาผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการประชาพิจารณ์โรงไฟฟ้าถ่านหินประจวบฯ แสดงความคิดเห็นที่มีต่อรายงานการศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่า (มีต่อ)

"ทุกวันนี้โครงการยังไม่เกิด เพราะฉะนั้นถ้าใครอยากทดลองทำโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยชีวมวลมาคุยกับผมได้ แล้วไม่ต้องกลัวว่าจะมีปัญหาเรื่องเชื้อเพลิงเพราะขยะกทม. มีสม่ำเสมอแน่และเพิ่มขึ้นทุกปีด้วย" สพช.น่าจะลองดู คนไทยอาจจมีโอกาสได้ใช้พลังงานทางเลือกเร็วขึ้น